-
ชื่อเรื่องภาษาไทยโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Causal Relationships Model for Well-Being Development in the Elderly of Local Administrative Municipality in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
- ผู้วิจัยนางสาวทัศมาวดี ฉากภาพ
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
- วันสำเร็จการศึกษา08/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2225
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 74
- จำนวนผู้เข้าชม 102
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร
2. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร 3.นำเสนอรูปแบบการประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.973 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 470 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x bar = 3.96, S.D. = 0.501) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย ความเต็มใจและทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์กร ความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพขององค์กร ความจงรักภักดีต่อองค์กรและความเสียสละเพื่อองค์กร พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) การสร้างความผูกพันต่อองค์กร ประกอบด้วย การมอบหมายงานที่ท้าทายให้ทำ การยอมรับว่าเป็นสมาชิกขององค์กร การเห็นคุณค่าความสำคัญของบุคลากร ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโดยรวมร้อยละ 2 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน การได้การยอมรับนับถือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เงินเดือนและสวัสดิการ ทำให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา โดยรวมร้อยละ 40 และ 3) การสร้างความผูกพันตามหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย เมตตากายกรรม (การกระทำดีต่อกัน) เมตตาวจีกรรม (สื่อสารเข้าใจกัน) เมตตามโนกรรม (เคารพในความคิดผู้อื่น) สาธารณโภคี (การแบ่งปันกัน) สีลสามัญญตา (รักษาระเบียบวินัย) ทิฏฐิสามัญญตา (เชื่อมั่นในหลักการร่วมกัน) ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร โดยรวมได้ร้อยละ 68
3. รูปแบบการประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความเต็มใจและทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์กร 2) ความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร 3) ความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพขององค์กร 4) ความจงรักภักดีต่อองค์กร 5) ความเสียสละเพื่อองค์กร มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการสร้างความผูกพันต่อองค์กร นอกจากนั้นยังประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6 มาใช้เพื่อเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมากยิ่งขึ้น ดังนี้ 1) เมตตากายกรรม (การกระทำดีต่อกัน) ประกอบด้วย สุภาพเรียบร้อย ให้การช่วยเหลือ มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน เคารพในสิทธิเสรีภาพ 3) เมตตาวจีกรรม (การสื่อสารเข้าใจกัน) ประกอบด้วย วาจาสุภาพ บอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ เจรจาใช้เหตุผล เป็นกระบอกสื่อเชื่อมโยงความเข้าใจ 3) เมตตามโนกรรม (เคารพในความคิดผู้อื่น) ประกอบด้วย ตั้งจิตปรารถนาดี นึกคิดแต่ในสิ่งที่จะก่อประโยชน์ แสดงความรักและไมตรี ยอมรับความคิดเห็น 4) สาธารณโภคี (การแบ่งปันกัน) ประกอบด้วย แบ่งปันในสิ่งของที่ได้มาโดยชอบธรรม กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ขจัดความเลื่อมล้ำ 5) สีลสามัญญตา (การรักษาระเบียบวินัย) ประกอบด้วย รักษาระเบียบข้อบังคับ ประพฤติตามกฎระเบียบ ผดุงความยุติธรรม 6) ทิฏฐิสามัญญตา (เชื่อมั่นในหลักการร่วมกัน) ประกอบด้วย มีความเห็นชอบร่วมกัน ปรับความเข้าใจด้วยเหตุผลและหลักการ ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation were: 1.To study the general health status of the elderly of local administrative organization in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, 2. To study a causal Relationships for elderly well-beings of local administrative organizations in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, and 3. To propose a causal relationship model for the elderly well-beings development of local administrative organization in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province.Methodology was the mixed methods: The quantitative research used questionnaires with reliability value at 0.992. The data were collected from 430 samples who were elderly persons in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province and analyzed by using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Structural Equation Model and Confirmatory Factor Analysis. As for the qualitative method, data were collected from 18 key informants by face-to-face in-depth interviews. The qualitative data were analyzed by descriptive interpretation and from 9 participants in focus group discussion to use data to validate the model after the data analysis.
Findings were as follow;
1. The well-being of the elderly in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, by overall was at highest level. Each aspect consisted of 1) social health 2) intellectual health 3) mental health and 4) physical health respectively.
2. A causal Relationships for elderly well-beings of local administrative organizations in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province were found that management factor consisted of Plan, Do, Budget and Staff and health promotion factor consisted of disease prevention and control; the promotion of health activities; the development of environment, the promotion of public health system have a relationships to the elderly well-being of local administrative organizations in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, And the development of well-beings according to principle of Bhavana 4 consisted of Physical Development, Behavioral Development, Mental Developmentand Intellectual Development of local administrative organizations in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province enhanced the balanced state of elderly well-being in every aspect.
3. A causal relationships model for the elderly well-being development of local administrative organizations in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province was found that 4 aspects of the elderly well-being with 2 operational factors that were administrative factor and health promotion factor integrated with Buddhadhamma, Bhavana 4 to achieve the perfect holistic elderly well-beings as follows: 1) Gaya Bhavana, physical development included the establishment of a rehabilitation center, the knowledge enhancement, to focus on the activities to be implemented 2) Sila Bhavana, behavioral development which included the values of people, behaviors according to the precepts and volunteer which leaded to change, 3) Chitta bhavana, mental development which included mental trainings, organizing activities, introducing new knowledge and, 4)Panna Bhavana, intellectual development which included enhancing intelligence, improving knowledge, and aiming for innovation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204210 | 6201204210 | 12.77 MiB | 74 | 18 ก.ย. 2564 เวลา 11:52 น. | ดาวน์โหลด |