โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลในจังหวัดสระแก้ว
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Governance for Working Efficiency Development of Municipal Personnel in Sakaeo Province
  • ผู้วิจัยพระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา08/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2226
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 101
  • จำนวนผู้เข้าชม 206

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 2. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 3. นำเสนอรูปแบบพุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x bar= 4.05, S.D.= 0.518) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) การยึดมั่นในความถูกต้อง 3) ความเข้าใจในระบบองค์กรและระบบงาน 4) การบริการที่เป็นเลิศ และ 5) การทำงานเป็นทีม พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว พบว่า 1) การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษา การพัฒนา ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยรวมร้อยละ 10 2) ปัจจัยการปฏิบัติงานตามหลัก 7S ประกอบด้วย กลยุทธ์ โครงสร้าง รูปแบบ ระบบ บุคคล ทักษะ ค่านิยม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยรวมร้อยละ 36 และ 3) การปฏิบัติงานตามหลักพละ 4 ประกอบด้วย ปัญญาพละ (กำลังความรู้) วิริยพละ (นำสู่การปฏิบัติ) อนวัชชพละ (ซื่อสัตย์สุจริต) สังคหพละ (มีจิตอาสา) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยรวมได้อย่างดียิ่งร้อยละ 100

         3. รูปแบบพุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว พบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม 3) ความเข้าใจในระบบองค์กรและระบบงาน 4) การบริการเป็นเลิศ 5) การทำงานเป็นทีม มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ ปัจจัยการปฏิบัติงานตามหลัก 7S และปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักพุทธธรรมาภิบาลคือหลักพละ 4 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักการและหลักธรรม ดังนี้
1) ปัญญาพละ (กำลังความรู้) ประกอบด้วย พัฒนาความรู้ มุ่งสู่นวัตกรรม นำเทคโนโลยีมาใช้ เป้าหมายชัดเจน เน้นประโยชน์ส่วนรวม ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ บริหารงานตามแนวโน้ม 2) วิริยพละ (นำสู่การปฏิบัติ) ประกอบด้วย พัฒนาศักยภาพความรู้ มุ่งสู่การปฏิบัติ เป้าหมายเด่นชัด                มีตัวชี้วัดความสำเร็จ จิตใจตั้งมั่น ขยันต่อสู้ รู้รับผิดชอบ 3) อนวัชชพละ (ซื่อสัตย์สุจริต) ประกอบด้วย มีระเบียบวินัย ไม่คอร์รัปชั่น ยึดมั่นจริยธรรม เลิศล้ำธรรมาภิบาล ทำงานโปร่งใส ไม่ทิ้งคุณธรรม น้อมนำกฎกติกา และ 4) สังคหพละ (มีจิตอาสา) ประกอบด้วย มนุษยสัมพันธ์ดี มีจิตอาสา บริการก้าวหน้า พัฒนาความร่วมมือ ยึดถือความอารี มีธรรมทาน ช่วยเหลืองานส่วนรวม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the working efficiency of personnel, 2. To study the causal relationship the working efficiency of personnel and 3. To propose a model of Buddhist governance for working efficiency development of municipal personnel in Sakaeo Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research used questionnaire with reliability value at 0.968. The data were collected from 450 samples who were municipal personnel in Sakaeo Province and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, structural equation model and confirmatory factor analysis. The qualitative research, data were collected from 17 key informants by face-to-face in depth-interview, Data were analyzed by descriptive interpretation and from 10 participants in focus group discussion to confirm the model after the data analysis.

The research findings were as follow:

1.Working performance efficiency of Sakaeo Province Municipality personnel, by overall was at high level ( x bar = 4.05, S.D. = 0.518) Each aspect, consisted of 1) success oriented, 2) righteousness adherence, 3) organizational system and process understanding, 4) excellent services and 5) team works. All aspects were found at high levels.

2. The causal relationship the working efficiency of municipal personnel in Sakaeo Province were found that 1) the factors of competency development including training education development affected the working efficiency of personnel in overall 10 percent, 2) the factors of performance according to the 7S including strategy, structure model, system, personnel, skill and values affected the working efficiency of personnel in overall 36 percent, 3) the factors of performance according to the 4 Bala including Paññā-bala (power of wisdom) Viriya-bala (power of diligence) Anavajja-bala (power of honesty) and Sagaha-bala (power of sympathy) superbly affected the working efficiency of personnel by overall 100 percent.

3. The model of Buddhist governance to develop working efficiency of municipal personnel in Sakaeo Province were found that five aspects of working efficiency including 1) achievement 2) adherence to the righteousness 3) understanding the organization and work system 4) excellent service and 5) team work with 2 fundamental factor included the factor of performance according to the 7S and the factor of working efficiency of personnel, moreover, it could integrate the Buddhist governance which was 4 Bala to build the working efficiency according to the principle and Buddhist as follows: 1) Paññā-bala (power of wisdom) including knowledge development, aiming for innovation, technology usages , with clear target, focusing on the public interests, participation in situation analysis, and management by trend 2) Viriya-bala (power of diligence) include knowledge potential development, aiming for practice with clear target, success indicator, concentration, diligence and responsibility 3) Anavajja-bala (power of honesty) include discipline, no corruption, adherence to the ethics, excellent governance, transparency, abiding by Dhamma and obeying the rules and 4) Sagaha-bala (power of sympathy) including good human relations, volunteering mind, progressive service, cooperation development, adherence to generosity, having the Dhamma-dāna and helping public works.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
ุ6201104204 ุ6201104204 7.24 MiB 101 17 ก.ย. 2564 เวลา 23:51 น. ดาวน์โหลด