-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลใน จังหวัดสมุทรปราการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Leadership Characteristics according to Sappurisa-Dhamma of Municipality Administrators in
- ผู้วิจัยนายสุวรรณ์ แก้วนะ
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา04/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2227
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 145
- จำนวนผู้เข้าชม 127
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล 2.ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล 3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 550 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x bar= 4.16, S.D.= 0.588) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1) ความรับผิดชอบ 2) ความเฉลียวฉลาด 3) ความริเริ่มมุ่งมั่น อยู่ในระดับมากที่สุด และ4) ความเชื่อมั่นในตัวเอง 5) ความพร้อม 6) ความเข้าใจในงาน 7) ความสามารถควบคุม อยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล พบว่า 1) การพัฒนาภาวะผู้นำ ประกอบด้วย ทำความรู้จักตนเอง สร้างวินัยในตนเอง ศึกษาที่มีการพัฒนา แสวงหาประสบการณ์ และให้คำปรึกษาโดยรวมได้ดีร้อยละ 112 2) บทบาทของผู้บริหารเทศบาล ประกอบด้วย วางแผน จัดการองค์กร สั่งการ ประสานงาน ควบคุมงาน ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล โดยรวมร้อยละ 23 และ 3) การบริหารเทศบาลตามหลัก สัปปุริสธรรม ประกอบด้วย รู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) รู้จักผล (อัตถัญญุตา) รู้จักตน (อัตตัญญุตา) รู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา) รู้จักกาล (กาลัญญุตา) รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา) และรู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา) ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล โดยรวมร้อยละ 21
3. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาล พบว่า ประสิทธิภาพการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความรับผิดชอบ 2) ความเฉลียวฉลาด 3) ความริเริ่มมุ่งมั่น 4) ความเชื่อมั่นในตัวเอง 5) ความพร้อม 6) ความเข้าใจในงาน 7) ความสามารถควบคุม มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ การพัฒนาภาวะผู้นำ และ บทบาทของผู้บริหารเทศบาลนอกจากนั้นยังบูรณาการหลักพุทธธรรมคือหลักสัปปุริสธรรม เพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลที่ถูกต้องตามหลักการและหลักธรรม 1) รู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) ตั้งมั่นในการปฏิบัติอยู่ในหลักแห่งกฎหมาย 2) รู้จักผล (อัตถัญญุตา) ยอมรับและชี้แจงการทำงานตามที่ต้องการและทราบถึงผลเสียการบริหาร 3) รู้จักตน (อัตตัญญุตา) สามารถบริการให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ และการปรับตัว 4) รู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา) ใช้ทรัพยากรและงบประมาณให้เกิดประโยชน์ 5) รู้จักกาล (กาลัญญุตา) แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงทีในสถานการณ์ฉุกเฉิน 6) รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา) ให้ความช่วยเหลือเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน และ7) รู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา) จัดกิจกรรมให้บุคคลในพื้นที่เข้าร่วมและให้ความอนุเคราะห์ดูแล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the characteristics of leaders of municipality administrators. 2. To study the factors affecting the development of the leadership characteristics of municipality administrators. 3. To propose a model for development of leadership characteristics according to the Sappurisa-Dhamma principle of municipality administrators in Samut Prakan Province. Methodology was the mixed methods: The quantitative method, data were collected with questionnaires that had reliability value at 0.987 from 550 samples who were municipal personnel in Samut Prakan Province. and analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, structural equation model (SEM) and confirmatory factor analysis (CFA). The qualitative research, data were collected from 17 key informants by face-to-face in-depth interviewing and the data were analyzed by content descriptive interpretation. The model obtained from findings was confirmed by 9 participants in focus group discussion.
Findings were as follows:
1. Leadership characteristics of municipality administrators in Samut Prakan Province, by overall, was at a high-level with mean value at 4.16, S.D.=0.588. Each aspect consisting of 1) responsibility 2) intelligence 3) initiative and commitment were at the highest level and 4) self-confidence 5) readiness 6) understanding of work and 7) controlling ability were at high level.
2. Factors affecting the study of the leadership characteristics of municipality administrators were found that: 1) leadership development consisted of self-knowledge, self-discipline, education for development, seeking experience and overall giving advice well were at 112 percent. 2) The role of municipality administrators consisted of planning, organizing, directing, coordinating, and controlling affected 23 percent of the development of the municipality administrators' leadership characteristics and 3) Municipality administration according to the principle of Sappurisa-Dhamma, consisting of knowing the cause (Dhammaññutā),Knowing effects (Atthaññutā), Knowing oneself (Attaññutā), Knowing moderation (Mattaññutā), Knowing times, (Kālaññutā),Knowing the community (Parisaññutā),and Knowing the individuals, (Puggalaññutā), affected the overall development of the municipality administrators' leadership characteristics affected 21 percent of the development of the municipality administrators' leadership characteristics
3. The development model of leadership characteristics according to the Sappurisa-Dhamma principle of municipality administrators was found that the development of leadership characteristics in all 7 areas consisted of: 1) responsibility 2) ingenuity 3) imitativeness, commitment 4) self-confidence 5) readiness 6) understanding of work 7) control ability. There were two basic factors: development of leadership and the role of municipality administrators that were integrated with Sappursadhamma consisting of 1) knowing the cause (Dhammaññutā), operation in the frame of laws, 2) Knowing effects (Atthaññutā), accepted and explained the work process and results expected and know the bad effect of administration, 3) Knowing oneself (Attaññutā), being able to render overall areas services and self-adjustment. 4) Knowing moderation (Mattaññutā), using resources and budgets for the most benefits. 5) Knowing times, (Kālaññutā), solving situations in time of crisis. 6) Knowing the community (Parisaññutā), heling when people are in trouble and 7) Knowing individuals, (Puggalaññutā), organizing activities for people in the area to participate in and taking care of them.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201104217 | 6201104217 | 5.38 MiB | 145 | 19 ก.ย. 2564 เวลา 22:50 น. | ดาวน์โหลด |