โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์ประติมากรรมภายในวัดอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement for the Conservation of Sculptures within Temples in Bang Pa-in District, Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยพระครูสุกิจพัฒนวิธาน (เอนก นิมฺมโท)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา07/07/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2232
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 142
  • จำนวนผู้เข้าชม 209

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์ปะติมากรรมของวัดในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ประติมากรรมของวัดในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
3. เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ประติมากรรม ของวัดในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.903 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 194 รูป  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. พระสงฆ์ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์ประติมากรรมภายในวัดอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.80, S.D. = 0.807)

2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ปะติมากรรม ของวัดในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ มีพรรษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ปะติมากรรม ของวัดในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และมีระดับการศึกษานักธรรมต่างกัน
มีความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ปะติมากรรม ของวัดในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

3. ปัญหา อุปสรรค การบริหารการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ปะติมากรรม ของวัดในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1) ด้านการดูแลรักษา คือ ไม่มีกองทุนเฉพาะสำหรับใช้ในการดูแลปะติมากรรม ที่มีอยู่ในพื้นที่วัด ขาดความรู้ที่ถูกต้องในการปะติมากรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ไม่ค่อยมีการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นตามปะติมากรรม 2) ด้านการปกป้องคุ้มครอง คือ ขาดอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานขาดประสบการณ์และความเข้าใจในการทำงานรวมถึงขาดผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการการปกป้องคุ้มครองปะติมากรรม 3) ด้านการเสริมความมั่นคง คือ นโยบายการปรับปรุงส่งเสริมวัฒนธรรมไทยถึงแม้ผลงานทางด้านการอนุรักษ์ ปะติมากรรมยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมไม่มีแผนแม่บท 4) ด้านการใช้ประโยชน์ คือ ให้คุณค่ากับปะติมากรรมน้อยเกินไป

ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการดูแลปะติมากรรม ภาครัฐควรเข้ามามีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนให้ความรู้ในการทะนุบำรุงดูแลรักษาปะติมากรรม ควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแลรักษาปะติมากรรมภายในพื้นที่อำเภอบางปะอิน มีการรวมกลุ่มเพื่อหยิบยืมเครืองมือและอุปกรณ์ในการทำงาน ควรเร่งรัดให้มีการกำหนดแนวทางไว้เป็นหลักปฏิบัติพระสงฆ์ในพื้นที่ควรมีแก่แนะนำบอกต่อเพื่อให้คนรุ่นหลังเห็นความสำคัญของประติมากรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1.  To study the level of monks’ opinions on the conservation management of sculptures in the temples at Bang Pa-in district, Ayuthaya Province, 2. To study comparison of monks opinions on the conservation management of sculptures in temples at Bang Pa-in district. Ayutthaya Province, classified by personal factors and 3. To study problems, obstacles and suggestions for conservation management of sculptures in the temples at Bang Pa-in District, Ayutthaya Province.

Methodology was the mixed methods: The quantitative research by survey method, data were collected with questionnaires with a total confidence value of 0. 903 from 194 samples who were monks at Bang Pa-in District, Ayutthaya Province and analyzed with social science ready-made programs The statistics used were frequency, percentage, average, standard deviation, t-test, F-test with one way analysis of variances. The qualitative research, data were collected from 8 key informants by in-depth interviews and analyzed b content descriptive interpretation.

Findings were as follows:

1.          The monks’ opinions on the conservation management of the sculptures in monasteries at Bang Pa-in District, Ayutthaya Province, by overall, at high level (= 3.80, S.D. = 0.807).

2.          The results of the research hypothesis testing were found that monks with different ages had different opinions of the conservation management of the sculptures in monasteries at Bang Pa-in District, Ayutthaya Province, accepting the set hypothesis.  The monks with different Buddhist Lent did not have different opinions of the conservation management of the sculptures in monasteries at Bang Pa-in District, Ayutthaya Province, rejecting the set hypothesis. The monks with different Dhamma education levels had different opinions of the conservation management of the sculptures in monasteries at Bang Pa-in District, Ayutthaya Province, accepting the set hypothesis.     

3.          Problems, obstacles of conservation management of the sculptures in monasteries at in Bang Pa-in District Ayutthaya Province were found that:  1) Maintaining aspect; there was not specific fund for maintaining the sculptures in the monasteries. Lack of correct knowledge to maintain the sculptures in the monasteries and there was not clearing weeds that grew on the sculptures. 2) Conservation aspect; lack of tools and equipment to maintain and lack of appropriate knowledge, experiences and experts for the conservation of the sculptures, 3) Stability promotion; there was not concrete Thai culture conservation policy with master plan. 4) Benefit use; there was too low value appreciation for the sculptures in monasteries.

Recommendations: There should be fund allocation for the sculptures conversation. Government should seriously support, share knowledge for the sculptures conservation. There should be sharing the knowledge and know-how to conserve the sculptures in monasteries at Bang Pa-in district. There should be a network of working groups to share tools and equipment. The guideline for the sculptures conservation should be accelerated. The monks in the area should transfer information and inform the young generation to see and appreciate the importance of the sculptures.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301204203 6301204203 4.94 MiB 142 9 ก.ย. 2564 เวลา 23:39 น. ดาวน์โหลด