โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Model of Public Welfare Management of Sangha, Bang Pa-In District, Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยนายกฤษฎา อุลุชาฎะ
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีธรรมาจารย์, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา03/07/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2233
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 789
  • จำนวนผู้เข้าชม 396

บทคัดย่อภาษาไทย

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
             2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

           3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

             ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.903 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 194 รูป  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัย

เชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. พระสงฆ์ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  x bar= 3.79, S.D. = 0.791)

2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบการวิจัย พบว่า พระสงฆ์มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย มีพรรษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และมีระดับการศึกษานักธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

3. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1. ด้านการดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล พบว่า วัดขาดจิตอาสาที่จะช่วยขนของไปบริจาคตามที่ต่างๆ ช่วงเวลาที่จัดโรงทานไม่สะดวกกับคนที่เลิกงานเย็น การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง จึงทำให้ไม่ได้รับข่าวสาร 2. ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นเพื่อสาธารณประโยชน์ พบว่า ขาดความร่วมมือจากคนในชุมชม  3. ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลสถานที่อันเป็นสาธารณสมบัติ พบว่า วัดยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงเวลามีกิจกรรมระดมทุน 4. ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั่วไป พบว่า หากเกิดเหตุการณ์ อาคาร  สำหรับตั้งหน่วยสงเคราะห์ หรือที่พักพิง ไม่น่าจะเพียงพอ

ข้อเสนอแนะคือ ทางคณะสงฆ์ควรมีการวางแผนที่ดี มีการบริหารจัดการ มีการกระจายงาน และมีการประชาสัมพันธ์ ที่ทั่วถึงแก่ประชาชนในเรื่องกิจกรรม ควรมีการจัดการฝึกอบรมบุคลากร และรับสมัคร บุคลากรที่เป็นจิตอาสาก่อนจะช่วยงานและควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานในอนาคต คณะสงฆ์ควรเป็นศูนย์ประสานงานในเรื่องการทำงานบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนในที่ต่างๆ กันอย่างจริงๆ และมีเจ้าหน้าที่ติดตามประเมินผลกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วย คณะสงฆ์ ควรมีการทำความเข้าใจกับประชาชน โดยการให้พระสงฆ์ช่วยกันอบรมประชาชนผ่านกิจกรรมการแสดงธรรม ประจำวันอาทิตย์และการเทศน์ต่างๆ ในงานวัด งานด้านสาธารณสงเคราะห์นี้ ควรกระจายไปตามวัดต่างๆ ที่มีกำลังทุนทรัพย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสาธารณชนมากกว่านี้ ในด้านนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงเวลามีกิจกรรมที่จะต้องระดมทุนสร้าง ควรตระเตรียมศาลาอาคารให้สะอาด เพื่อเตรียมพร้อมหากต้องตั้งหน่วยสงเคราะห์ หรือใช้เป็นที่พักพิง และหากว่าในอนาคต มีความจำเป็นมากขึ้นทางวัดอาจจะมีปัจจัยสนับสนุนไม่เพียงพอควรหาทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเพื่อสร้างอาคารสำหรับรองรับ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 welfare management of Sangha, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province 2.To compare the monks’ opinions on the model of public welfare management of Sangha, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province classified by personal factors and
3. To study problems, obstacles and recommendation for
the model of public welfare management of Sangha, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province.

                 Methodology was the mixed methods: The quantitative research by survey method, data were collected with questionnaires with total confidence value
of 0.903 from 194 samples who were monks at Bang Pa-in District, Ayutthaya Province and analyzed data with social science ready-made programs The statistics used were frequency, percentage, average, standard deviation, and frequency values analysis
of variance and the data for the qualitative research were collected with in-depth interviewing from 8 key informants by in-depth interviewing and analyzed by content descriptive interpretation.

                     The results showed that:

                1. The monks' opinions on public welfare management of Sangha, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province were at the high level ( = 3.79 , S.D. = 0.791)

                2. The results of the research hypothesis test showed that monks of different ages, by overall, did not have different opinions on the model of public welfare management of Sangha, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province. Therefore, rejecting the set research hypothesis. The monks with different Buddhist lent and Dhamma educational level had different opinions on the model of public welfare management of Sangha, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province, accepting the set hypothesis.

                 3. Problems and obstacles regarding the model of public welfare management of Sangha, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province were that:  1. Helping operation was found that the monasteries lacked volunteers to help transport items to donate. The dining rooms  were inconvenient for people who were off work in the evening. The publicity was not covered thoroughly, so people were not informed.2. The support of other people's business for the public goods was found lacking cooperation from people in the community.  3. Helping to support public domain sites was found that the monasteries lacked wide publicity in the time of the fundraising event.  4. The general public helping was found that if the incidents occurred, buildings or facilities for setting up relief center or shelters will not be sufficient and enough.

                The suggestions were that Sangha should have good planning, management,  distribution of work and public relations to the public regarding the activities. Personnel training and recruitment should be organized. Volunteer personnel should be trained before performing duties for the quality and efficiency of work for the future events. The Sangha Council should be  the  coordinating center for public service in different places, and there should be an appraisal officer to evaluate the public benefits.The Sangha should understand the public by allowing monks to help train people through Sunday Dhamma activities and sermons at monasteries events. For this public welfares, there should be publicity that is needed to raise funds to build, to prepare the pavilion, the building, to be prepared for the relief centers.  If there is need in the future, monasteries might not have enough supporting fund. Additional funding should be raised from the pious people for building relief facilities

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301204207 6301204207 5.17 MiB 789 15 ธ.ค. 2564 เวลา 06:27 น. ดาวน์โหลด