โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารจัดการศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษReligious Education Management Mode of the Monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดชาลิน กตปุญฺโญ (ทองนอก)
  • ที่ปรึกษา 1พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.นิกร ศรีราช
  • วันสำเร็จการศึกษา20/07/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2234
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 197

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.945 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุในอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา  จำนวน 223 รูป  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการศาสนศึกษา ของคณะสงฆ์อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  x bar =3.33, S.D.=0.441)

2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุต่างกัน พรรษาต่างกัน การศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา  โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย

3. ผลการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราพบว่า 1. ขาดการวางกฎ ระเบียบ และข้อปฏิบัติไม่อย่างชัดเจน ขาดความชัดเจนในการวางแผนและเป้าหมาย ขาดการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 2. ขาดความชัดเจนในตำแหน่ง และหน้าที่ความรับผิดชอบ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ขาดการดูแล ซ่อมแซม ดังนั้นจึงควรมีการวางกฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติและควรมีแผนการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการฝึกอบรมในการสอนให้มีความชำนาญให้มีประสิทธิภาพ ควรหมั่นศึกษาหลักธรรมให้แตกฉานมีทักษะในการสอนธรรม 2) ควรปรับเกณฑ์การวัดและประเมินผลโดยใช้วิธีดำเนินสายกลาง จัดระบบให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยเน้นการวัดความเข้าใจและการประยุกต์ใช้มากกว่า วัดความจำ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1. To study the monks’ opinions on the religious education management model of monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province, 2. To compare the monks’ opinions on the religious education management model of monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province, classified by personal factors and 3. To study problems, obstacles and recommendations for the religious education management model of monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province.

Methodology was the mixed methods: The quantitative research by survey method, data were collected with questionnaires with the confidence value at 0.731 from 352 samples who were monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province and analyzed by the social science program. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation. T-test and F-test and a one-way analysis of variance. The data for the qualitative research were collected from 8 key informants with in-depth interviewing and analyzed by content descriptive interpretation technique.

 Findings were as follows:

             1. The monks’ opinions on the religious education management model of monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province, by overall, picture were at  high level. ( = 4. 19, SD = 0.393).

             2. The results of the research hypothesis test showed that the monks with different general education, by overall, did not have different opinions on the religious education management model of monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province,rejecting the set hypothesis. The monks with different ages, rain retreats, Pali  educational levels, Dhamma educational levels and the length of abbots position had the different opinions on the religious education management model of monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province at the statistically significant level of 0.05, accepting the set hypothesis.

3. Problems, obstacles and suggestions for the religious education management model of monks at Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province were that:  1. Lack of planning, unclear rules and regulations. Lack of clarity in planning and goals, lack of continuous monitoring of operations. 2. Lack of clarity in position and responsibilities, appliances were lack of maintenance and repair. There should be a clearly defined action plan. Define the responsible person in the line with  budget and sufficient equipment to follow up. Check the operation carefully.

Recommendations: 1) There should be training in teaching to be proficient and effective. should study the Dharma principles to become proficient in teaching the Dharma; 2) The measurement and evaluation should be adjusted to the middle way with the same standard. The measurement and evaluation should be on comprehension and application rather than measuring memory.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ