-
ชื่อเรื่องภาษาไทยบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษMonks’ Roles in Mon’s Traditions Promotion at Pakkret District, Nontaburi Province.
- ผู้วิจัยพระครูวินัยธรกิตติศักดิ์ กิตฺติสกฺโก (ปทุมานนท์)
- ที่ปรึกษา 1พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา10/07/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2238
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 286
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.963 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 399 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง
1. ประชาชนที่มีต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( x bar = 3.75 ,S.D.= 0.74)
2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรค แนะเกี่ยวกับต่อบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีชาวมอญ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พบว่า 1) ด้านการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย คือ พระสงฆ์ที่มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมมอญอย่างลึกซึ้งหาได้ยากและจะเลือนหาย 2) ด้านการส่งเสริมให้ชนทุกหมู่เหล่าเห็นคุณค่า คือ คนในปัจจุบันไม่ค่อยเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น 3) ด้านการขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม คือ พระสงฆ์ไม่ค่อยมีส่วนในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ในเชิงรุกมากนัก 4) ด้านการส่งเสริมแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม คือ ไม่ค่อยมีการจัดเวทีสาธารณะเพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 5) ด้านการสร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจ คือ ขาดความร่วมมือในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 6) ด้านการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรม คือ ยังไม่มีหน่วยงานใดที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ของการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ของชุมชนชาวมอญ
ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการถ่ายทอด ฝึกอบรม ให้ความรู้แก่พระสงฆ์ใน ปัจจุบัน ให้มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมมอญ ให้มากขึ้น ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่าง เป็นรูปธรรมและเข้มแข็งมากกว่านี้ พระสงฆ์ควรมีการเผยแพร่ และชักชวนประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ในเชิงรุกให้มากขึ้น ควรมีการจัดเวทีสาธารณะ และระดมความคิดของทุก ภาคส่วน ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ควรมีความร่วมมือกันมากกว่านี้ ทั้งวัด ภาครัฐและเอกชนต่างๆ ควรจะมีหน่วยงาน ที่เป็น หน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศหรือข้อมูลต่างๆ ของการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the level of people’s opinion on the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province, 2. To Compare the people’s opinions on the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province, classified by personal factors and 3. To study problems, obstacles and recommendations for the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province.
Methodology was the mixed methods: The quantitative research by survey method, data were collected with questionnaires with with reliability value at 0.963 from 399 samples who were the people, 18 years old and older at Pakkret District, Nontaburi Province. Data were analyzed with social science research ready-made program. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test with one way analysis of variance. The qualitative research, data were collected from 8 key informants by in-depth interviewing and analyzed data by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. The people had opinions on the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province, by overall, at the middle level ( = 3.75, S.D. = 0.74)
2. Research hypothesis test results were found that the people with different genders did not have different opinions on the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province, rejecting the set hypothesis, the people with different ages had different opinions on the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province, accepting the set hypothesis, the people with different educational levels, occupations and monthly incomes did not have different opinions on the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province rejecting the set hypothesis.
3. Problems and obstacles of the monks’ roles in Mon’s traditions promotion at Pakkret District, Nontaburi Province were found that 1) Education and research; the monks with profound knowledge of Mon’s traditions were scared and diminishing, 2) Community promotion to see the value of old tradition; people at present time did not see the value of community culture and traditions, 3) Cultural participation expansion; monks did not have proactive public relations of local culture and traditions, 4) Cultural promotion and exchange; there was seldom organizing public forum to discuss and exchange ideas on local cultural protection and conservation, 5)Attitude, knowledge and conception creation; lack of cooperation in local culture and tradition protection, 6) Cultural networking system creation; there is not any office to be responsible for information and data of Mon’s local culture conservation.
Recommendations: There should be dissemination, training, sharing knowledge with monks to have more profound knowledge of Mon’s local culture. There should be earnest and proactive support and promotion of local culture. There should be public forum for discussion and brainstorming all parties concerned for local culture conservation. Monasteries, public and private agencies should be more cooperative. There should be core unit to be responsible for data and information of local culture conservation
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|