โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษMonastery Development for Agricultural Tourism in Angthong Province
  • ผู้วิจัยพระครูสังฆรักษ์สมพงษ์ จตฺตมโล (เลามะ)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ผศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/07/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2239
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 230
  • จำนวนผู้เข้าชม 312

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง 2. เพื่อศึกษากระบวนการในการพัฒนาวัดเพื่อเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง

                   ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.849 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในสังกัดคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง จำนวน 314 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพทั่วไปในการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง พบว่า (1) ด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์ วัดส่วนใหญ่มีพื้นที่กว้าง ตั้งอยู่ในแหล่งของชุมชนการเกษตร ขาดงบประมาณ (2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในระดับที่ ใช้งานได้แต่อยู่ยังไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เหมาะสม (3) ด้านการจัดการข้อมูล องค์ความรู้ วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บข้อมูล และองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ (4) ด้านการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐาน สามารถที่จะพัฒนาจุดดึงดูดอื่น ของวัด ไม่มีการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างจริงจัง พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (  x bar = 4.30, S.D.= 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. องค์ประกอบในการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง 1) ด้านบุคลากร กระบวนการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในด้านบุคลากร จะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการเกษตรที่จะได้ให้ข้อมูลข่าวสารและสิ่งสำคัญได้ถูกต้อง วางคนให้ตรงกับงาน มีความทันต่อเหตุการณ์โลก มีนโยบายและพันธกิจในการทำงานที่ชัดเจน 2) ด้านงบประมาณ จะต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณให้เพียงพอ มีการวางแผนใช้งบประมาณ ที่คุ้มค่าและตรวจสอบได้ มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายงบประมาณ มีการหาแหล่งงบประมาณจากแหล่งอื่น 3) ด้านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ มีวัสดุอุปกรณ์ที่ครบพร้อมเพรียงที่จะใช้งาน และใช้งานได้คุ้มค่าและใช้งานได้อย่างถูกวิธี มีความแข็งแรงทนทานและคุ้มค่าต่อการใช้งาน 4) ด้านการจัดการ ด้านการจัดการ มีการวางระบบการจัดการ การวางแผนงาน มีการรายงานผลการทำงานและประเมินผล จัดทำงบวัดและประเมินผลการคุ้มค่า จัดสรรสิ่งต่างๆให้เหมาะสมกับการทำงาน มีความยืดหยุ่นของแผนงาน คำนึงถึงบุคลากรและแผนงานต่างๆ

                 3. แนวทางการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ 1) ด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์ วัดควรจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัยเป็นระเบียบเรียบร้อย ควรมีการแบ่งโซนที่ชัดเจน 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก วัดควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นพื้นฐาน ให้พร้อมเพรียงและครบครัน ให้ได้มาตรฐานมีคุณภาพ และจะต้องมีอย่างพอเพียงเข้าถึงง่าย3) ด้านการจัดการข้อมูล องค์ความรู้ ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน มีความถูกต้อง โดยใช้ระบบโซเชียลมีเดีย มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเผยแพร่ข้อมูล มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานดำเนินอื่น ๆ 4) ด้านการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐาน ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนา ให้วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีการประยุกต์ใช้วิถีชุมชนมีการร่วมกิจกรรมกับเกษตรกรให้มามีส่วนร่วมในการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 5) ด้านบุคลากร วัดควรมีการจัดอบรมฝึกอบรม บุคลากรภายในวัดให้มีความรู้ความเข้าใจเกษตร มีการเรียนรู้ตลอดเวลา 6) ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดทำแผนงบประมาณอย่างชัดเจน มีการสนับสนุนงบประมาณในการประชาสัมพันธ์ส่งเสริม มีการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบบริหารจัดการ 7) ด้านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ วัดควรจะมีวัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ทันสมัยเหมาะกับงานในปัจจุบัน ควรมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการใช้ในการทำการเกษตรให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของวัสดุอุปกรณ์ 8) ด้านการจัดการ วัดควรมีการสร้างเครือข่ายชุมชนดำเนินการพัฒนาวัด ควรมีการจัดการโดยรับผิดชอบที่จะช่วยการลดผลกระทบจากการทำการเกษตรหรือการท่องเที่ยว เน้นชุมชน ให้ชุมชนสามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชนได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study general condition of monastery development for agricultural tourism in Angthong Province, 2. To study the components of development process for agricultural tourism in Angthong Province and 3. To propose the method of the monastery development for agricultural tourism in Angthong  Province.

Methodology was the mixed methods:  The quantitative research by survey method, data were collected with questionnaires that had reliability value at 0.849 from 314 samples who were the monks at Angthong Provincial Sangha Administration. Data were analyzed with social science research ready-made program. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test with one way analysis of variance.  The qualitative research, data were collected from 8 key informants by in-depth interviewing and analyzed data by content descriptive interpretation.  

The results showed that:

              1. The general condition of monastery development for agricultural tourism in Angthong Province was that (1) in terms of landscape improvement Most of the temples have a wide area. Located in the source of the agricultural community, lack of budget (2) facilities There are basic amenities at that level. can be used, but has not yet been placed in the appropriate group; There is still a lack of personnel with knowledge and understanding of data storage. and systematic knowledge; (4) upgrading agricultural tourist attractions to meet standards; able to develop another attraction of the temple There is no serious agritourism.  The monks' opinions on the temple development for agro-tourism in Ang Thong Province overall were at a high level         (  x bar= 4.30, S.D.= 0.51) When considering each aspect, it was found that it was at a high level in all aspects. 

            2. The components of  monastery development for agricultural tourism was as follows: 1) Personnel aspect; there must be well trained personnel in agriculture to give correct information, assigning right personnel to the right job, keeping up with the world events and clear policy and mission, 2) Budget aspect; there must be sufficient budget allocation with clear spending plan for audit with expenses accounts and there should be budget allocation from other sources, 3) Equipment and materials aspect; there should be sufficient equipment and materials that are bearable, ready to correctly use with value for money, 4) Management aspect; there was management system with plan, result report and evaluation. There was monastery account and value for money evaluation, allocation working material suitable for the job with flexibility and personnel competency and work plans. 

           3.  The methods for monastery development for agricultural tourism in Angthong Province were as follows: 1) Landscape improvement; monasteries should develop the areas for safe and orderly tourist attraction with clear zoning, 2) Facilities; monasteries should provide basic facilities that are with good standard, sufficient and easy to access, 3) Data, information and knowledge; there should have correct data and information collecting process with social media and information communication technology to dispatch and exchange  data and  information with other operating units, 4) Standardization of agricultural tourism; there should be monasteries improvement for learning centers with community way of life, opening opportunity for community and agriculturalists to participate in monastery development for agricultural tourism, 5) Personnel; monasteries should train personnel in monasteries to have knowledge of agriculture with continuous learning, 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301204211 6301204211 71.52 MiB 230 10 ก.ย. 2564 เวลา 03:06 น. ดาวน์โหลด