โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุของ พระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Model for Improving the Quality of Life According to the Buddhist Integration of the Elderly persons of the Monks in Phichit Province
  • ผู้วิจัยพระครูศรีเมธาภรณ์ ฐิตธมฺโม (สายแก้วดี)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2283
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 135
  • จำนวนผู้เข้าชม 229

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร

             ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ และเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่มเฉพาะ 11 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอนโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร จุดแข็ง การดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด มีความเป็นกันเอง ดูแลแบบครอบครัวและ ร่วมกันเฝ้าระวังดูแลผู้สูงอายุ จุดอ่อน ขาดการวางแผนและกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ขาดการเรียนรู้ความชำนาญการ ทำให้มีการทำงานที่ซับซ้อนจนเกินไป โอกาส ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพัฒนาต่อยอดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและผู้สูงอายุได้มีความสุข มีสุขภาพที่ดี ทั้งกายและใจ อุปสรรค ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ และงบประมาณไม่พอเพียงต่อการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ หรือการรองรับไม่เพียงพอต่อความต้องการ

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย การดูแลสุขภาวะองค์รวม ร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องต่อ การศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนา  ตามแนวทางของ แนดเลอร์ โดยนำหลักพุทธธรรมภาวนา 4  มาสนับสนุน เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ

     3. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร  เป็นการบูรณาการกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ  ตามหลักสุขภาวะองค์รวม ผ่านวิธีการให้ การศึกษา อบรม พัฒนา  โดยการหลอมรวมวิธีการของภาวนา 4  ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพสำหรับผู้สูงอายุมีคุณภาพในแต่ละด้านดังนี้ ด้านร่างกาย การทำสมาธิในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือการเดินจงกรม สามารถทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงสำหรับผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุ มีสุขภาพดีทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสติปัญญา ด้านจิตใจ ต้องให้ความสำคัญจิตใจของผู้สูงอายุเป็นหลักสำคัญ เอาใจใส่ผู้สูงอายุ ดูแล พูดคุยอย่างสม่ำเสมอ ทำให้จิตใจของผู้สูงอายุไม่ฟุ้งซ่าน ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้สูงอายุมีการเข้าร่วมสังคม เข้าร่วมกิจกรรม กับผู้อื่นได้ หรือการเข้าวัดฟังธรรม การแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้คนในสังคม ทำให้ท่านมีความสุข และท่านจะไม่คิดว่าเป็นภาระแต่เป็นการส่งเสริมการเข้าสังคมให้กับผู้สูงอายุ ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เอื้อต่อชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตประจำวันอย่างสะดวกและปลอดภัย  เช่น อาคารที่พักผ่อน สถานที่ประกอบกิจกรรม สถานที่ทานอาหาร ห้องน้ำสะอาด สะดวก มีคนดูแลใกล้ชิดทั่วถึง มีสิ่งของให้ใช้ตามความเหมาะสม   

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1. To study the condition of quality of life improvement for the elderly of monks in Phichit Province. 2.To study the factors affecting the development of quality of life according to Buddhist Integration for the Elderly of the monks in Phichit Province 3. To study the model for improving the quality of life according to the Buddhist Integration of the Elderly of the monks in Phichit Province.

             Research methodology uses integrated research. during quantitative research and qualitative research The quantitative research collected data from the sample group. Data were analyzed with statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation. qualitative research Collected data from key informants,  18 photos/person, selected specifically from experts. and collecting data from experts in a specific group discussion, 11 figures/person. Data from both steps were analyzed by descriptive content analysis.  

              The results of the research were as follows:

1. Conditions for improving the quality of life for the elderly of monks in Phichit Province Strengths Closely caring for the elderly friendly family care and Joint surveillance and care for the elderly, weaknesses, lack of planning and clear direction of operations. lack of learning skills The work is too complex, the opportunity for the elderly to receive care for improving the quality of life. can be further developed to have a better quality of life and happiness for the elderly Good health both physically and mentally. Obstacles. Lack of support from government agencies. and insufficient budget for organizing activities for the elderly or insufficient support to meet the needs

2. Factors affecting the quality of life development according to Buddhist Integration for the Elderly of the monks in Phichit Province consisted of holistic health care, physical, mental, social relationships. and environment in order to be consistent with education, training and development according to Nadler's guidelines by supporting the 4 Buddhist principles as a basis for improving the quality of life for the elderly.

3. A model for improving the quality of life according to Buddhist integrated principles for the elderly of the monks in Phichit Province It is an integration of the quality of life improvement process for the elderly. according to the principles of holistic health Through the methods of education, training, and development by merging the four meditation methods together, so that quality development for the elderly has qualities in each aspect as follows: Physically, meditation in postures, standing, walking, sitting, lying or walking meditation. can make the body strong for the elderly, resulting in the elderly To be healthy in both physical health, mental health and intellect, mental health must give importance to the mental health of the elderly Take care of the elderly, take care, talk regularly The mind of the elderly is not distracted. social relations the elderly have social participation. join the event with others or attending the Dharma exchanging ideas with people in society make you happy and you will not think of it as a burden, but rather to promote socialization for the elderly. environmental in order to facilitate the daily life of the elderly to use their daily life comfortably and safely, such as a resting building venue Places to eat, clean bathrooms, convenient, with close caretakers. There are things to use as appropriate.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101104006 6101104006 8.99 MiB 135 8 ต.ค. 2564 เวลา 11:17 น. ดาวน์โหลด