โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษใน จังหวัดสงขลา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment Model of Tourism Management at Special Economic Zone in Songhla Province
  • ผู้วิจัยนางสาวทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2303
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 162
  • จำนวนผู้เข้าชม 329

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา 2. ศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา 3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา จำนวน 490 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  x bar = 3.66, S.D. = 0.623) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย
1) การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 4) การสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวและ 5) การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยว พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา พบว่า 1) การจัดการการท่องเที่ยว ประกอบด้วย สิ่งดึงดูดใจ กิจกรรม การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยรวมร้อยละ 51 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามผล การรับผลประโยชน์ ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยรวมร้อยละ 37 และ 3) หลักอปริหานิยธรรม 7 ประกอบด้วย หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม การไม่ตั้งกฎระเบียบตามที่ขัดต่อระเบียบเดิม ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ เคารพสิทธิมนุษยชน การให้ความเคารพสถานที่ ให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือน ส่งผลต่อส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยรวมได้ร้อยละ 78

        3. รูปแบบการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลาพบว่า การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 4) การสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว 5) การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยว มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ การจัดการการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือหลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อให้เกิดการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวที่ถูกต้องตามหลักการและหลักธรรม ดังนี้ 1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประกอบด้วย ปรึกษาหารือถึงพัฒนาอยู่เป็นนิตย์ แก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและการสร้างความเข้าในใจกระบวนการอย่างชัดเจนไม่คุมเครือ 2) พร้อมเพรียงกันประชุม ประกอบด้วย ประกาศวันเวลานัดประชุมชัดเจนทั่วถึง เนื้อหาสาระตรงประเด็นและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ 3) การไม่ตั้งกฎระเบียบตามที่ขัดต่อระเบียบเดิม ประกอบด้วย การกำหนดระเบียบไว้อย่างยุติธรรมโดยไม่เอื้อต่อนายทุนใหญ่ การออกกฎระเบียบในการทำธุรกิจ ค้าขาย 4) ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ ประกอบด้วย เคารพและเชื่อฟังจากคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาและเปิดโอกาสรับฟังปัญหาและนำมาพัฒนาปรับปรุง 5) เคารพสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย จัดทำนโยบาย สร้างองค์ความรู้และปลูกจิตสํานึก 6) การให้ความเคารพสถานที่ ประกอบด้วย ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ให้ความเคราพต่อวัฒนธรรมในพื้นที่และสามารถแนะนำปฏิบัติให้ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยว 7) ให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือน ประกอบด้วย สร้างความประทับใจและค่านิยม ให้ความช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยวในเรื่องการจ้างหรือการบริการที่แพงเกินกว่าเหตุหรือถูกเอารัดเอาเปรียบและมีนโยบายเชิญชวนให้นักเที่ยวได้กลับมาเที่ยวอีกครั้ง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         Objectives of this research were: 1. To analytically study of the development of tourism management condition at Special Economic Zone in Songkhla Province, 2. To study causal relationship model for the development of tourism management on Special Economic Zone in Songkhla Province and 3. To propose a model of tourism management development at Special Economic Zone in Songkhla Province conducted by the mixed methods: The quantitative research, data were collected with questionnaires that had overall reliability value at 0.987 from 490 samples, derived from the populations living in the Special Economic Zone in Songkhla Province. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Structured Equation Model (SEM) by Confirmatory Factor Analysis (CFA) The qualitative research, data were collected from 17 key informants by face-to-face in-depth-interviewing and analyzed by content descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants in focus group discussion to confirm the model after the data analysis

              Findings were as follows:

              1. Tourism management development at special economic zone in Songkhla Province, by overall was at high level (   x bar = 3.66, S.D. = 0.623) Each aspect consisted: 1) tourist attraction development, 2) infrastructure and facilities development, 3) tourism personnel development, 4) tourist confidence enhancement and 5) tourism management integration, all were found at high level.

2. Causal relationship model of tourism management development at special economic zone in Songkhla Province was found that: 1) tourism management consisted of  attraction, activities, accessibility, facilities, accommodation affected the tourism management development at 51 percent, 2) people’s participation consisted of planning, operation, follow-up, benefit sharing affected the tourism management development at 37 percent, 3) Apparihaniyadhamma 7 consisted of regular meeting, meeting in harmony, not to issue new rules that are against the old rules, respect and listen to elders’ opinions, respect human rights, respect places, care and protecting visitors affected the tourism management development at 78 percent.

3. Development model of the tourism management at special economic zone in Songkhla Province was found that development of tourism management in 5 areas consisted of:  1) tourism attraction quality development, 2) infrastructure and facility development, 3) tourism personnel development, 4) tourists confidence enhancement, 5) integration of tourism management with 2 basic factors. They were tourism management and people’s participation. Besides, there was Buddhadhamma integration that was Apparihaniyadhamma 7 to conduce the right tourism development according to Buddhadhamma that was Apparihanoyadhamma, consisted of: 1) regular and frequent  meeting consisted of regular and frequent discussion of development, problems solving, exchanging ideas to create clear understanding development process, 2) meeting together in harmony consisted of clear and fully coverage announcement of date and time of meeting, content of the meeting was directly concise. Members could express their ideas freely, 3) not to issue new rules that are against the old rules, consisted of  introducing fair and just rules and regulations for business ad trades,  not in the favor of big capitalists, 4) respecting and listening to elders’ opinions, consisted of respecting and obeying their advices and guidelines for problems solving and listening to problems in order to solve and improve, 5) respecting human rights, consisted of policy making, knowledge creation and consciences instilling, 6) respecting places, consisted of abiding by rules, regulations and order, respecting local cultures and giving the right advices to tourists, 7) care and protecting visitors, consisted of impression and value creation, helping tourists in the case of unfair service charge such as overcharge or taking advantages of and inviting tourists to come back for revisit.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201104218 6201104218 10.43 MiB 162 16 ก.ย. 2564 เวลา 12:58 น. ดาวน์โหลด