โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจของทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Integration for Conscripts’ Morale Enhancement of 11th Military Circle
  • ผู้วิจัยนายวีระ อินทรโสภา
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2305
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 78
  • จำนวนผู้เข้าชม 120

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปขวัญกำลังใจของทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจของทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 และ 3. เพื่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการสร้างขวัญกำลังใจของทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 รูปหรือคน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 386 คน สุ่มจากทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 จาก 5 จังหวัด จำนวน 11,032 คน จากสูตรของ (Taro Yamane)  ซึ่งใช้ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) ส่วนข้อมูลจากสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง

               ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพทั่วไปของขวัญกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 พบว่า ทหารเกณฑ์เป็นหน้าที่ของชายไทยที่ต้องรับใช้ประเทศชาติ ได้รับเกียรติและการยกย่องว่าเป็น รั้วของชาติ ลักษณะความสัมพันธ์ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อใต้ผู้บังคับบัญชา คือ ความรักเคารพนับถือให้เกียรติซึ่งกันและกัน และมีความคาดหวังต่ออนาคตเพื่อเข้าต่อนักเรียนนายสิบ ได้รับเงินเดือน มีสวัสดิการ สิทธิในการรับราชการด้านทหาร

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจของทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x bar =3.40) โดยปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพกับขวัญและกำลังใจของทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 พบว่า การพัฒนาศักยภาพ (X1) มีผลต่อขวัญกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11  (Y) ซึ่งการพัฒนาศักยภาพ (X1) สามารถอธิบายความผันแปรของขวัญกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 (Y) ได้ร้อยละ 69.1 โดยมีสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (1) เท่ากับ 0.691 หลักสังคหวัตถุ 4  (X2) ส่งผลต่อขวัญกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11  (Y) สามารถอธิบายความผันแปรของขวัญกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 (Y) ได้ร้อยละ 55.8 โดยมีสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (1) เท่ากับ 0.558 ทั้งปัจจัยการพัฒนาศักยภาพและหลักสังคหวัตถุ 4 ส่งผลร่วมต่อขวัญกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001

           3. การบูรณาการหลักสังคหวัตถุในการสร้างขวัญกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x bar =4.74) เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบดังนี้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ข้อที่ว่า ด้านสมานัตตา (การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย) กองทัพฝึกให้รักชาติ มีความเข้มแข็ง รู้จักอดทน มีวินัยในตนเอง และเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา (x bar =4.79) รองลงมาได้แก่ ข้อที่ว่า ด้านอัตถจริยา (การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ทั้งตนเอง และผู้อื่น) ฝึกให้มีน้ำใจและช่วยเหลือกัน (x bar =4.79)” “ด้านทาน (การให้ความรู้และโอกาส) ให้ความรู้การป้องกันตัวและวิชาชีพ (x bar =4.69) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ว่า ด้านปิยวาจา (การพูดที่เป็นประโยชน์) อบรม ด้วยคำพูดที่ดีมีประโยชน์ วาจาที่เป็นมิตร จริงใจ และให้อภัย (x bar =4.69) ตามลำดับ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study the general condition of conscripts’ morale at 11th Military Circle, 2. To study factors that affect the conscripts’  morale at 11th Military Circle and 3. To integrate Buddhadhamma for the conscripts’ morale enhancement at 11th Military Circle.   

Methodology was the mixed methods: The qualitative research, data were collected from 27 key informants with structured in-depth-interview transcript by in-depth interviewing and analyzed by descriptive interpretation. The quantitative research, data were collected from 386 samples, derived from 11,032 conscripts from 5 provinces using Taro Yamane’s formular with the statistical significance level set at 0.05 and data were analyzed by frequency, percentage, mean, (SD.), Simple Linear Regression Analysis and Stepwise Regression Analysis. 

Findings were as follows:

1.    The general condition of the conscripts’ morale at 11th Military Circle were found that the conscription is Thai men’s duty to serve country with honor and admiration as “the Fence of Nation”. The commander’s relationship characteristics with subordinates are love, respect and giving honor to each others and the hope to continue education at Sergeant School, salaries, welfares and right.

2.    Factors that affected the conscripts’ morale at 11th Military Circle were found that competency development factor, by overall, was at the highest level. (x bar=3.40). Competency development factor and conscripts’ morale at 11th Military Circle was found that competency development (X1) had effect on the conscripts’ morale at 11th Military Circle (Y). Competency development (X1) can explain the variance of the conscripts’ morale at 11th Military Circle(Y) at 69.1% with coefficient standard regression (1) equal to 0.691. Sangahavattu 4 (X2) affected the conscripts’ morale at 11th Military Circle (Y) can explain the variance of the conscripts’ morale at 11th Military Circle (Y) at 55.8% with coefficient standard regression (1) equal to 0.558. Both competency development factor and Sangahavattu 4 affected the conscripts’ morale at 11th Military Circle at the statistical significance level at 0.001, accepted the set hypothesis..

3.       Application of Sangahavattu 4 to enhance theconscripts’ morale at 11th

Military Circle, by overall, was at highest level (x bar =4.74) Each aspect from high to low level was found that the aspect with the highest level was Samanattata (appropriate behavior) being trained to love country, strong, patient, self disciplined and obeying commander’s order, was at  x bar =4.79. Secondly the Atthacariya, useful conduct to oneself and others), being trained to be hearted, helping each others, was at  x bar =4.79. Dana, giving, (knowledge and chance) sharing knowledge of self defense and occupation was at  x bar =4.69. The aspect with the lowest mean score was Piyavaca, sweet and useful speech, being trained with useful speech, friendly speech, sincere and forgiveness was at  x bar =4.69 respectively

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201104213 6201104213 10.78 MiB 78 15 ก.ย. 2564 เวลา 07:59 น. ดาวน์โหลด