-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEthical Promotion Model for Insurance Agents and Brokers under the Supervision of the Office of Insurance Commission
- ผู้วิจัยนางสาวสิริปภา ภาคอัตถ์
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2333
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 46
- จำนวนผู้เข้าชม 84
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 3. นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 547,692 คน ซึ่งเป็นตัวแทนและนายหน้าประกันภัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.892 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x bar= 4.20, S.D. = 0.61) การส่งเสริมจริยธรรมตามหลักธรรมเป็นโลกบาล 2 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
x bar = 4.08, S.D. = 0.71) และการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (
x bar = 4.21, S.D. = 0.73)
2. ปัจจัยการส่งเสริมจริยธรรม ประกอบด้วย ด้านความรู้จริยธรรม ด้านความรู้สึก ด้านพฤติกรรมการแสดงออก มีอิทธิพลร่วมกันต่อการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรผัน ได้ถึงร้อยละ 36.80 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยธรรมเป็นโลกบาล 2 ประกอบด้วย ด้านหิริ ความละอายแก่ใจ ด้านโอตตัปปะ ความเกรงกลัว มีอิทธิพลร่วมกันต่อการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรผัน ได้ถึงร้อยละ 41.20 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยการส่งเสริมจริยธรรม และปัจจัยธรรมเป็นโลกบาล มีอิทธิพลร่วมกันต่อการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรผัน ได้ถึงร้อยละ 39.20 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 3
3. รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันภัยภายใต้กำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มีองค์ประกอบ 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อองค์กร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงตรง ยึดมั่นในหลักจริยธรรม 2) ด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ใส่ใจในการปฏิบัติงาน คอยระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาด มีกระบวนการปฏิบัติงานที่รัดกุม 3) ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ มีการพัฒนาความรู้ความสามารถอยู่เสมอ มีการส่งเสริมให้แสวงหาประสบการณ์ ใช้ความสามารถปฏิบัติงานโดยชอบธรรม 4) ด้านการปฏิบัติต่อข้อมูลลับ ข้อมูลลับไม่ถูกเปิดเผย ไม่มีการนำข้อมูลลับไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด มีการรักษาข้อมูลลับไว้ไม่ให้รั่วไหล 5) ด้านการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ความขัดแย้งลดลง ได้รับประโยชน์โดยชอบธรรมทุกฝ่าย เข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ที่จะพึงได้ 6) ด้านการใช้อำนาจหน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย มีการใช้อำนาจและหน้าที่ตามความชอบธรรม เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ ไม่มีการปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขต ไม่ใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์ 7) ด้านความเป็นอิสระ ความโปร่งใส ความเป็นธรรม ไม่ให้ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน 8) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล มีการบันทึกข้อตกลงร่วมกัน มีการแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบให้จัดเจน มีกลไกสร้างความร่วมมือ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the effectiveness of ethics promotion of insurance agents and brokers under the supervision of the office of Insurance Commission, 2. To study factors affecting the ethical promotion of insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission and 3. To propose the ethical promotion model for insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission.
Methodology was the mixed methods: The quantitative research, data were collected from 400 samples by stratified random sampling from 547,692 people who were the insurance agents and brokers The tool used for data collection was 5 rating scales questionnaires with the reliability value at 0.892. The statistics used Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, SD and Multiple Regression Stepwise. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing with 18 key informants and 10 participants in focus group discussion, The data were analyzed by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. The ethical promotion of insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission by overall was at high level (x bar = 4.20, S.D. = 0.61). The ethical promotion according to 2 Lokapāla-dhamma by overall was at high level (x bar = 4.08, S.D. = 0.71) and ethical promotion of insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission by overall was at the highest level (x bar = 4.21, S.D. = 0.73).
2. The factors affecting the ethic promotion consisted of ethical knowledge aspect, feeling aspect and behavioral expression aspect that affected the ethical promotion model for insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission at the statistically significant level of 0.01 and could explain the variations up to 36.80% accepted the first hypothesis. The factor of 2 Lokapāla-dhamma include Hiri and Ottappa affected the ethical promotion model for insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission at the statistically significant level of 0.01 and could explain the variations up to 41.20%, accepted the second hypothesis. The factors of ethic promotion and Lokapāla-dhamma together had influence that affected the ethical promotion model for insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 39.20% accepted third hypothesis
3. The ethical promotion model for insurance agents and brokers under the supervision of the Office of Insurance Commission consisted of 8 components: 1) integrity and fairness aspect was; being honest with the organization, performing duties by integrity and firmly abiding by ethical principles, 2) performing duties with caution aspect was; paying attention to work, being careful not to make mistakes and there was a concise work process, 3) knowledge and ability to perform duties aspect was; there was continuous development of knowledge and abilities, there was encouraged to seek experiences and used ability to act fairly, 4) treatment of secret information aspect was; the secret was not disclosed, there was no misuse of confidential information and confidential information was kept, 5) conflict of benefit management was conflict decrease, all parties got fair benefits and understood that benefits would be received fairly, 6) the aspect of using of power and duties under the law; authority was exercised righteously, all participants understood the roles and duties, not to abuse the authority for one own benefits, 7) the aspect of independence, transparency and fairness by not interfering with others’ business and 8) cooperation between regulators aspect was; there was a memorandum of understanding. There was clear division of duties and responsibilities and there was a mechanism for cooperation creation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201104125 | 6201104125 | 15.17 MiB | 46 | 14 ก.ย. 2564 เวลา 14:34 น. | ดาวน์โหลด |