โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAmodel of Personnel’s Organizational Commitment Creation of Sangha University in Thailand
  • ผู้วิจัยนางสาวณัชชา อมราภรณ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2335
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 77
  • จำนวนผู้เข้าชม 66

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไท 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย โดยระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมทางสถิติ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล    

                   ผลการวิจัยพบว่า

    1. ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.647 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ พยายามปฏิบัติงานมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 รองลงมาคือมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 เลื่อมใสศรัทธาในเป้าหมายขององค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และความรู้สึกผูกพันอย่างสูงต่อองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ตามลำดับ

         2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย พบผลการศึกษาดังนี้ 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพัน ประกอบด้วย ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน โครงสร้างองค์กร ลักษณะของบทบาท ประสบการณ์ในการทำงาน มีอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) หลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคิตา สีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา มีอิทธิพลทางตรงส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   3. รูปแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กร มีความรู้สึกผูกพันอย่างสูงต่อองค์กร เลื่อมใสศรัทธาในเป้าหมายขององค์กร พยายามปฏิบัติงานมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพัน มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน โครงสร้างองค์กร  ลักษณะของบทบาท ประสบการณ์ในการทำงาน นอกจากนั้นยังมีหลักธรรมสาราณียธรรม 6 เป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมความผูกพันโดยมีองค์ประกอบคือ ปฏิบัติต่อกันและกันอย่างถูกต้องตามบทบาทและหน้าที่ (เมตตากายกรรม) พูดจาดี สุภาพ แสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง (เมตตาวจีกรรม) ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน (เมตตามโนกรรม) ได้สิ่งของมาก็แบ่งปัน ช่วยเหลือยามเดือดร้อน (สาธารณโภคิตา) ประพฤติสุจริตต้องมาก่อน สร้างความดีงามถูกต้องตามระเบียบ (สีลสามัญญตา) เพียบพร้อมในการรับคำแนะนำและปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น (ทิฏฐิสามัญญตา) นอกจากนั้นยังมี ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเป็นฐานให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรด้วย มีองค์ประกอบ รายได้หรือค่าตอบแทน ความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ความต้องการแสดงความจงรักภักดี และความต้องการในศักดิ์ศรีของตัวเอง 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           Objectives of this dissertation were 1. To study the organizational commitment of Buddhist University personnel in Thailand, 2. To study the causal factors influencing the organizational commitment of Buddhist university personnel in Thailand 3. To propose a model for creating organizational bonds of Buddhist university personnel in Thailand. Methodology was the mixed methods divided into two steps. Step 1 was the quantitative research. Data were collected from 450 samples and analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, S.D. and Correlation Coefficient analysis by Structured Equation Model with statistical program package. Step 2 was the qualitative research. Data were collected from 17 key informants by in-depth-interviewing and from 9 participants in focus group discussion to confirm the model after data synthesis. 

             Findings were as follows:   

             1. Organizational commitment of Sangha University personnel in Thailand, by overall, was at high level with the mean value at 4.08, the standard deviation was 0.647. Each aspect sorted by mean value was found that every aspect was at high level; effort to work better had the mean value at 4.16, participation in organizational activities had mean value at 4.09, faith in the target of the organization had the mean value at 4.07 and highly obligated attitude to the organization had the mean value at 4.00 respectively. 

             2. Factors affecting the organizational commitment of Sangha University personnel in Thailand, the results of the study was found that: 1) Factors affecting the commitment consisted of individual characteristics of workers. organizational structure, characteristics of the roles and  work experience had indirect influence and collective influence that affected the organizational commitment of Sangha University personnel in Thailand with the statistically significant level at 0.01, 2) Saraniyadhamma 6 consisted of Mettakayakamma, to be amiable in deed, openly and in private, Mettavacikamma, to be amiable in words, Mettamanokamma, to be amiable in thoughts, Satharanpogi, to share any lawful gains with righteous fellows, Silasamamanyata, equal precepts along with one’s fellows, Titthisamanyata, to be endowed with the right view along with one’s fellows, openly and in private, had direct influence affecting the organizational commitment of Sangha Unicersity personnel in Thailand with the statistically significant value at 0.01   

          3.       A model for creating organizational commitment of Sangha University personnel in Thailand consisted of the following important elements: Participation in organizational activities, strong sense of attachment to the organization, faith in the target of the organization, Believe in the goals of the organization. Effort to perform more work better. The factors affecting the commitment consisted of the following important elements: personal characteristics of the worker organizational structure, characteristics of the roles work experience. In addition 6 principles of Saraniyadhamma, the principle that promotes the organizational commitment with the following elements: Treat each other properly in accordance with their roles and duties. (Mettagayakamma), Speak well, polite words, show respect for each other both openly and in private (Mettavacikamma). Set the mind for wishfull thinking, thinking of doing things that were beneficial to each other. (Mettamanokamma). Share lawful gains with fellows in times of trouble (Satharanabhogi). Behave in good faith and manner must come first to set good examples and good order (Silasamanyata). Be ready to receive advice to improve work better. (Titthisamanyata). There were also "Factors affecting performance" that were the bases of the organizational commitment consisting of income or compensation elements, security and safety in work, physical environment, need to show loyalty and the need for their own dignities.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101104214 6101104214 7.44 MiB 77 14 ก.ย. 2564 เวลา 13:16 น. ดาวน์โหลด