โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยเพื่อการแข่งขันใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSkilled Labor Development of Thai Engineers for Competition In The Asean Economic community
  • ผู้วิจัยนายไพรัฐ พานิชย์สกุลชัย
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2337
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 62
  • จำนวนผู้เข้าชม 119

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทย 2. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทย 3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.901 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ วิศวกรอุตสาหการในกรุงเทพมหานคร จำนวน 490 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  x bar= 4.96, S.D. = 0.216) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย ความสามารถในการปฏิบัติงานในสายงานวิศวกรอุตสาหการ ความสามารถในการพัฒนาปรับปรุงงาน ความสามารถในการแก้ไขปัญหางาน ความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

2. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า 1) สมรรถนะการแข่งขัน ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐาน ความรู้ด้าน IE ความรู้ภาษาอังกฤษ กฎหมายและกฎระเบียบ การสื่อสาร การตัดสินใจ การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยร้อยละ 100 2) พฤติกรรมในการทำงาน ประกอบด้วย ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความรักองค์กร และการทำงานเป็นทีม ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยอิทธิพลทางลบ 1.20 และ 3) หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ (ความพอใจในงาน) วิริยะ (ความอดทน สู้งาน) จิตตะ (ความตั้งใจ) วิมังสา (ความมีเหตุมีผล) ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยโดยรวมร้อยละ 14

            3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า การพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทย ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ความสามารถในการปฏิบัติงานในสายงานวิศวกรอุตสาหการ 2. ความสามารถในการพัฒนาปรับปรุงงาน 3. ความสามารถในการแก้ไขปัญหางาน 4. ความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี มีปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ สมรรถนะการแข่งขันและพฤติกรรมในการทำงาน นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักพุทธธรรมคือหลักอิทธิบาท 4 เพื่อให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะแรงงานฝีมือของวิศวกรไทยที่ถูกต้องตามหลักการและหลักธรรม ดังนี้ 1) ฉันทะ (ความพอใจในงาน) ประกอบด้วย มีความพอใจที่จะทำงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าประสงค์โดยเต็มใจทำและมีความกระตือรือร้นในการทำงานคือความสำเร็จของงาน 2) วิริยะ (ความอดทนสู้งาน) ประกอบด้วย มีความอดทนในการทำงานด้านวิศวกรรมศาสตร์จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร มีความอดทนต้องประกอบด้วยปัญญาจึงจะทำให้สามารถทำงานให้ผ่านอุปสรรคไปได้และมุ่งมั่นทำงานให้เสร็จ 3) จิตตะ (ความตั้งใจ) ประกอบด้วย มีการติดตามความคืบหน้าในการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดเป็นแนวทางในการสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและการมีมาตรการในการเฝ้า 4) วิมังสา (ความมีเหตุมีผล) ประกอบด้วย ผู้บริหารที่มีความสามารถนอกจากจะมีประสบการณ์ในการทำงานแล้วต้องมีสติปัญญาจึงจะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of dissertation were: 1. To study the competence of Thai engineers skilled labor 2. To study causal relationship of Thai engineers skilled labor development and 3. To prepose a model for Thai engineers skilled labor development for competition in the ASEAN Economic Community. Methodology was the mixed methods: The quantitative research, data were collected with questionnaires with total confidence value at 0.901.from a sample group of 490 industrial engineers in Bangkok. Data were analyzed by frequency, percentage. Mean, Standard Deviation, S.D. and Structural Equation Model, SEM by Confirmatory Factors  Analysis CFA. The qualitative research, data were collected from 17 key informants  with structured in-depth interview script by face to face interviewing, analyzed by content descriptive interpretation  Data were also collected from  9 participants in focus group discussion to confirm the model after data synthesis.

Findings were as follows:

1. Development of skilled labor of Thai engineers for competition in the ASEAN Economic Community, by overall, was at the highest level. ( x bar= 4.96, S.D. = 0.216) When considering each aspect that consisted of the ability to work in the line of industrial engineers. the ability to improve work, the ability to solve work problems, the ability to adapt to keep up with technology was found that all these aspects were at the highest level,

2. The causal relationship of the development of skilled labor of Thai engineers for competition in the ASEAN Economic Community was found that 1) Competitive competency consisted of basic knowledge, IE knowledge, English language knowledge. laws and regulations, communication, decision-making, personal development, and learning affected the development of skilled labor of Thai engineers at 100 percent. 2) Work behavior consisted of punctuality, honesty, corporate love and teamwork affected the development of skilled labor of Thai engineers with negative influence at 1.20, and

3. Itthipada 4 consisted of Chanta, job satisfaction, Viriya, patience, Citta, intention, Vimangsa, rationality affected the development of skilled labor of Thai engineers at 14.3 percent each. A model for developing skilled labor of Thai engineers for competition in the ASEAN Economic Community was found that the development of skilled labor of Thai engineers in all 4 areas consisting of 1) the ability to work in the line of industrial engineers, 2) the ability to develop and improve work, 3) the ability to solve work problems, 4) the ability to adapt to keep up with technology with two fundamental factors: competitive performance and work behavior.

 

In addition, Itthipadadhamma was also integrated in order to develop the competency of skilled labor of Thai engineers according to Itthipadadhamma as follows: 1) Chantha, Job satisfaction, consisting of satisfaction in working to achieve the goals, willing to do with enthusiasm to succeed the job, 2) Viriya, patience and work tolerance, consisting of patience in engineering work would result the benefits both for the individual and organizational levels. Patience required wisdom to be able to work through obstacles and strive to complete the task. 3) Citta, intention, consisting of monitoring the work progress closely as a guideline to encourage personnel to develop their potentials constantly. Problems were solved and surveillance measures were set-up. 4) Vimamsa, rationality consisted of competent executives. They, not only need work experiences but also intelligence in order to lead the organization to success.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101104216 6101104216 8.32 MiB 62 14 ก.ย. 2564 เวลา 14:44 น. ดาวน์โหลด