โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาหลักธรรมและคติความเชื่อประเพณี ซังกราน ของชาวรามัญ ในเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Dhamma Principle and Beliefs in Sangkran Festival of Mon Community, in Kohkret, Nonthaburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดทิน สุนฺทโร
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ดร. เวทย์ บรรณกรกุล, ป.ธ.9
  • ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธวรกิจจานุการ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา13/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/236
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 565
  • จำนวนผู้เข้าชม 648

บทคัดย่อภาษาไทย

              วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณี“ซังกราน” 2) เพื่อศึกษาหลักธรรม และคติความเชื่อในประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ “ซังกราน”3) เพื่อศึกษาคติแนวคิดในการจัดประเพณี“ซังกราน”ตามความเชื่อของชาวมอญในเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยการศึกษาทบทวนคัมภีร์หนังสือตาราที่เกี่ยวข้อง เสนออาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า
             การศึกษาประเพณี ซังกราน ของชาวรามัญในเกาะเกร็ด จะพบว่า ประเพณี ซังกรานได้มีการรักษาสืบทอดมาอย่างยาวนานนับร้อยปี มีคติความเชื่อสอดแทรกอยู่ คาว่า ซังกรานคือสงกรานต์ของไทยเรานั่นเอง คนไทยรับเอาวัฒนธรรมของชาวมอญมาเป็นบางอย่างด้วยเหตุที่ว่ามีความใกล้ชิดกันมาแต่โบราณ ซังกราน หรือสงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศในแถบอุษาคเนย์ซึ่งได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มอญ ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีนรวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลี ในอินเดียใต้นั่นเอง
              การปฏิบัติตนในช่วงประเพณีซังกรานของชาวรามัญหรือมอญในทุก ๆ ที่ จะมีลักษณะคล้าย ๆ กันคือให้ความสาคัญในการทาบุญ เป็นอย่างมากในเกาะเกร็ดก็เช่นเดียวกัน จะมีการทำบุญส่งข้าวแช่ หรือเปิงซังกราน สรงน้าพระสงฆ์ รดน้าผู้ใหญ่ ปล่อยนกปล่อยปลา ถวายธงตะขาบ การทาบุญบังสุกุลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การเข้าวัดถือศีลฟังธรรม ก็ล้วนแล้วอยู่ในหลักใหญ่ก็คือ ทาน ศีล และภาวนา อันเป็นหัวใจหลักในพระพุทธศาสนา
              ในเทศกาลซังกราน ในความคิดของคนมอญ คุณค่า และความสาคัญของเทศกาลซังกราน ก็คือการได้ทำบุญใหญ่ประจาปี จะสังเกตได้ว่า ชาวมอญจะเป็นห่วงเรื่องการเตรียมของทำบุญมากกว่าการที่จะไปเที่ยวเตร็ดเตร่ที่อื่น แม้แต่ความเชื่อก็ยังคงอยู่ในกรอบของพระพุทธศาสนาการละเล่นรื่นเริงจะมีไม่มาก แต่ก็พอมีบ้าง และความเชื่อเรื่องผีก็ยังคงอยู่ควบคู่ไปกับพระพุทธศาสนาปัจจุบันในประเพณี ซังกราน ในวันสุดท้ายจะมีการทาบุญกลางบ้าน หลังจากทาบุญแล้วจะมีการทรงเจ้าพ่อ เพื่อถามเรื่องที่เกี่ยวกับการทามาหากิน น้าท่า ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาลใหม่ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่า ซังกราน เป็นประเพณีที่ทาให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้า ได้มีโอกาสทาบุญร่วมกันได้แสดงความกตัญญูเคารพต่อบรรพบุรุษ ได้รักษาวัฒนธรรมด้านอาหาร เป็นต้น และซังกรานนี้ก็จะเป็นแม่เหล็กที่จะดึงดูดให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาเที่ยวในชุมชน ซึ่งก็จะเป็นแหล่งที่ทาให้เกิดรายได้ขึ้นในชุมชนต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              There were three purposes of this thesis to 1) study the history of the "Sankarn", 2) study the principles and beliefs of Sangkran tradition, and 3) study the concept of the traditional " Sangkran " according to the belief of the Mon people in Koh Kret, Nonthaburi with reviewing the scriptures, books, related texts, and remodify as suggestion of advisor with descriptive lecture. The studies were found that.
              According to the study, it has been found that after studying of the Sangkran of the Raman people in Koh Kret, this tradition of Sangkran has been preserved for a hundred years. There is a belief in the word Sangkran is the Sangkran n of Thailand. Thai people have adopted the culture of the Mon people as something that is close to the ancient. Sangkran or Songkran is a tradition in Southeast Asia countries, including Thailand, Laos, Cambodia, Myanmar, Mon, Tai people as the ethnic in Vietnam and the Yunnan of China including Sri Lanka and the countries of eastern India. It was assumed that Sangkran festival has been cultured from Holy Festival in the South India.
             The practice during the Sangkarn tradition of Raman or Mon people in everywhere is the same, it is emphasized on the importance of merit. Similar to Mon people at Koh Kret, they make the merit of sending Kao Chae or Peungsenggran and water the adults, released the birds and fish, offer the centipede flag, make the sacrifice to the deceased, and observing precepts in temple. All which are the main principle is to giving alms, percepts and meditation as the heart of Buddhism.
              The Sankarn festival in the opinion of the Mon people is the value and importance of the festival which is a great giving alms. It was noticed that Mon people are concerned about the preparation of merit, rather than to travel. Even faith is still within the framework of Buddhism. There will not be much fun but still be enough. Ghost beliefs are still be with the past. For San Karn on the last day, Mon people made the merit of the house, after making the merit, the medium called the god to ask about the income, water, rain, and if rain will have to follow the new season. Therefore, it is seen that the Sangkran is a tradition that keeps the family living together. They have a chance to make a merit together, show gratitude to their ancestors. The food culture and so on, it is attraction to attract people who are interested in the community. This festival will produce income in the community in the future.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6 MiB 565 25 พ.ค. 2564 เวลา 23:37 น. ดาวน์โหลด