โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การสังเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง จังหวัดอุทัยธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Synthesis for Public Administration of TheAdministrative Officers in Uthai thani Province
  • ผู้วิจัยนายกิตวิชัย ไชยพรศิริ
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา13/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2396
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 48
  • จำนวนผู้เข้าชม 98

บทคัดย่อภาษาไทย

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง  2. เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง และ 3. เพื่อนำเสนอการสังเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัว จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 19 รูปหรือคน และจากผู้มีส่วนร่วมในการการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 8 รูปหรือคนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ  และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา  

            ผลการวิจัยพบว่า

          1. สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการบริหารราชการแผ่นดิน ของข้าราชการฝ่ายปกครอง จังหวัดอุทัยธานี มีลักษณะงานของการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครองเกี่ยวกับคน เกี่ยวกับความรับผิดชอบทั้งงานตามอำนาจหน้าที่และงานในระดับพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน มีลักษณะงานที่ครอบคลุมในทุกมิติ สำหรับอุปสรรคที่พบคือ ความพึงพอใจของประชาชน อำนาจและผลประโยชน์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีการสับเปลี่ยน โยกย้ายตำแหน่งอยู่ครั้ง ทำให้ขาดความเนื่องในการปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมทั้งกรณีการขับเคลื่อนภารกิจที่กำหนดโดยส่วนกลาง มีระยะเวลาในการดำเนินการสั้นหรือกระชั้นชิด ทำให้หลายๆภารกิจขาดความถูกต้องและไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ และมีการทำงานภายใต้ข้อจำกัดเรื่องของงบประมาณ กำลังคน และเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ที่มีอยู่อย่างจำจัด แต่ในภารกิจความรับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบในการดูแล บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของพี่น้องประชาชนทุกเรื่องในพื้นที่ ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้าในการให้บริการประชาชน

          2. การบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง ในภาพรวมทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) การประเมินประสิทธิผล พบว่า การประเมินประสิทธิผลเป็นการใช้หลักระเบียบ หรือเกณฑ์มาใช้ในการประเมินการปฏิบัติงาน ไม่ได้ใช้หลักพุทธธรรมแต่สามารถนำหลักธรรมเข้ามาใช้ควบคุมคนในการประเมินได้ 2) การประเมินคุณภาพ พบว่า การประเมินคุณภาพในการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับระเบียบที่กำหนด แต่สามารถนำหลักธรรมเข้ามาใช้ควบคุมคนในการประเมินได้ จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาอุปสรรค 3) การประเมินประสิทธิภาพ คือการประเมินความพอใจของคุณภาพ ดังนั้นการนำหลักธรรมเข้ามาบูรณาการในการบริการจึงมีความจำเป็นและสำคัญในการประเมินประสิทธิภาพ และ 4) การพัฒนาสมรรถนะองค์การ พบว่า บุคคลที่กำหนดนโยบายหรือบุคคลที่ออกความคิดคือผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหาร สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เป็นผู้ประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับล่าง มีหน้าที่ทำตามคำสั่งอย่างเดียว กลายเป็นระบบการทำงานแบบปิด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำหลักธรรมเข้ามาบูรณาการในการบริหารจัดการในการพัฒนาสมรรถนะองค์การ ซึ่งจากการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครองในภาพรวมทั้ง 4 ตัวชี้วัด ภาพรวม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x bar = 3.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อเช่นกัน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้แก่ การประเมินประสิทธิผล ( x bar= 3.98) รองลงมาคือ การประเมินประสิทธิภาพ ( x bar= 3.93) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะองค์การ ( x bar = 3.79)

          3 นำเสนอการสังเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการฝ่ายปกครอง พบว่า 1) ทาน (ทานํ) ผู้ปกครองต้องรู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปัน สงเคราะห์ช่วยเหลือคน 2) ศีล (ศีลํ) ผู้ปกครองจะต้องประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม และอยู่ในระเบียบ กฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของบ้านเมือง 3) บริจาค (ปริจาคํ) ผู้ปกครองต้องเป็นคนเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม 4) ความซื่อตรง (อาชชวํ) ผู้ปกครองต้องมีความซื่อตรง ความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม 5) ความอ่อนโยน (มัททวํ) ผู้ปกครองต้องสุภาพอ่อนโยนต่อทุกคนและในทุกโอกาสด้วยความจริงใจต่อกันและกันตามควรแก่ฐานะ 6) การข่มกิเลส (ตปํ) ผู้ปกครองต้องมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการปฏิบัติหน้าที่หรือความเพียรมีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน 7) ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) ผู้ปกครองต้องไม่ปฏิบัติต่อคนในปกครองของตนด้วยความเกี้ยวกราด 8) ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) ผู้ปกครองต้องไม่ก่อความทุกข์ยากให้แก่บุคคลอื่น 9) ความอดทน (ขันติ) ผู้ปกครองจะต้องอดทนต่อปัญหาและอารมณ์อันไม่พึงประสงค์ของคนเป็นจำนวนมาก 10) ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ผู้ปกครองต้องมีความเที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวลาภสักการะใดๆ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         Objectives of this dissertation were: 1. To study general conditions, problems and obstacles of public administration of the administrative officers, 2. To study the appropriate Buddhadhamma to apply to the public administration of the administrative officers and 3. To propose Buddhadhamma synthesis for public administration development of the administrative officers.

             Methodology was the mixed methods: The qualitative Research, data were collected from 19 key informants by in-depth-interviewing and from 8 participants in focus group discussion and data were analyzed by content descriptive interpretation

The quantitative research, data were collected by questionnaires from 400 samples and analyzed by descriptive statistics.  

              Findings were as follows:

             1. General conditions, problems, and obstacles of public administration of the administrative officers in Uthai Thani Province dealt with human beings, responsibility at individuals and areas levels in line with the administrative regulations that covered all dimensions and many people involved. Obstacles were found that people satisfaction, social trends, politics, power, and interest including frequent personnel transferring causing operation discontinuity in the areas. The operational plans were fixed from central authority at the short time causing many tasks were not carried out as set by objectives and without success. The task operation was under limitation of budget, manpower, equipment and materials, but the responsibility of problems solving and happiness creating for people was not limited but covered all dimensions in the areas. This situation caused delay in service rendering for people.    

             2) Th public administration of the administrative officers, by overall, with 4 indicators: 1) effectiveness evaluation was found that the evaluation was measured by rules or regulations or criteria, not by Buddhadhamma but Buddhadhamma could be used to control the evaluators, 2) quality assurance was found that the quality of operation depended on rules and regulations, not on the subjectivities and quantities of work. Buddhadhamma can be applied to control the evaluators to conform to rules and regulations to avoid problems. 3) efficiency evaluation was the evaluation of quality satisfaction. Efficiency depended on the evaluation procedure. Buddhadhamma was necessary for quality evaluation. 4) organizational competence development was found that organization is designed for the officers to be worker ants, not the thinkers. The one who thinks or policy maker is the higher officer or administrator. The middle level officers implement the policy and the lower level officers are the workers  to do as ordered.  It is the closed working system that needs Buddhadhamma to be applied to the organizational competence development.

             The 4 indicators of public administration of the administrative officers, by overall, were found at the high level ( x bar= 3.90). Each indicators were also at high level, arranging from high to low levels as: effectiveness evaluation was at  x bar = 3.98, efficiency evaluation was at  x bar = 3.93. The indicator that was at the lowest level was organizational competence development at   x bar = 3.79

             3) The proposed Buddhadhamma synthesis for public administration of the administrative officers was found that: 1) Dana,giving, administrators must share and help others, 2) Sila, precepts,  administrators must behave and adhere to morality and virtues, rules , regulations, country laws, fine traditions and cultures, 3) Pariccaga, self-sacrifice, administrators must self-sacrifice of self-happiness for public happiness. 4) Ajjava, honesty, administrators must abide by honesty and justice, 5) Mattava, kindness and gentleness, administrators must be gentle and polite to other people at every occasion with sincerity and proper positions, 6) Tapa, austerity, self-control, administrators must dare perform duties with effort and exertion, 7) Akkodha, non-anger, administrators must not treat subordinates with anger and fury, , 8) Avihimsa, non-violence, administrators must not cause troubles for other people, 9) Khanti, tolerance, administrators must tolerate hardship in duty performance, tolerate people’s undesirable emotions, 10) Avirodhana, non-deviation from the righteousness, administrators must adhere to straightforwardness, not to have bias by words, emotions or by any gains and honors

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.28 MiB 48 15 ก.ย. 2564 เวลา 18:24 น. ดาวน์โหลด