โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรของพระสงฆ์ในลุ่มแม่น้ำโขง (ไทย-ลาว)
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Dhutaṅga of Monks of Mekong River (Thai-Laos)
  • ผู้วิจัยพระมหานพดล นวตลปญฺโญ (ยมสีดำ)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสุธีคัมภีรญาณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา30/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:วิทยาเขตขอนแก่น
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/240
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,175
  • จำนวนผู้เข้าชม 547

บทคัดย่อภาษาไทย


         งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาธุดงควัตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรของพระสงฆ์ในลุ่มแม่น้ำโขง (ไทย-ลาว) 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรของพระสงฆ์ในลุ่มแม่น้ำโขง (ไทย-ลาว) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ 
         ผลการวิจัยพบว่า  ธุดงควัตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นองค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เป็นการสมาทานด้วยศรัทธา มีทั้งหมด 13 ข้อ  อันเป็นเส้นทางไปสู่ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา  
         การปฏิบัติธุดงควัตรของพระสงฆ์ในลุ่มแม่น้ำโขง (ไทย-ลาว) มี 2 อย่างคือ 1) พระสงฆ์ไทยนิยมสมาทานธุดงค์แบบจาริก โดยการกำหนดระยะทาง ระยะเวลาในการเดิน จากสถานที่หนึ่ง-ไปยังอีกสถานที่หนึ่ง 2) พระสงฆ์ สปป.ลาว ถือสมาทานปฏิบัติอยู่ในสำนักโดยไม่ได้ออกเดินจาริก จะถือปฏิบัติในช่วงเข้าพรรษา หรือในช่วงระยะที่กำหนด  
         รูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรของพระสงฆ์ในลุ่มแม่น้ำโขง (ไทย-ลาว)พระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์ สปป.ลาว จะถือปฏิบัติ เพียง 8 ข้อ คือ 1) การนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร 2) การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการฉันเฉพาะที่ได้จากการบิณฑบาต 3) การเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร 4) การนั่งฉันครั้งเดียวเป็นวัตร ฉันวันละครั้งเดียว 5) การฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ฉันอาหารในบาตรเท่านั้น 6) การไม่รับภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร เมื่อลงมือฉันแล้ว 7) การอยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจะจัดให้เป็นวัตร 8) การนั่งเป็นวัตร มีการอยู่ด้วยอิริยาบถ 3 คือ การยืน การเดิน การนั่ง เว้นการนอน 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


          The objectives of this research were: 1) to study the concepts of Dhutaṅga (Austere Practices) in the Buddhist scriptures; 2) to study the model of Dhutaṅga of monks of Mekong River (Thai-Laos); 3) to analyze the model of Dhutaṅga of monks of Mekong River (Thai-Laos). This study was conducted by means of the qualitative research methodology.
         The research results were as follows:
         Dhutaṅga in the Buddhist scriptures is the tool to eliminate the defilement. It is not the regulations but is the practice that practitioners are willing to perform based on their faith. There are 13 items of practice to attain the paths, fruitions and Nirvana, the ultimate goal of Buddhism.
        The model of Dhutaṅga of monks of Mekong River (Thai-Laos) consisted 2 types: 1) Thai monks vowed to perform Cārika-Dhutaṅga (Travelling Austere Practices) by setting the distance and walking length from one place - to another; 2) Laos monks vowed to stay at the monastery during the Buddhist Lent with or during the set duration.
        The model of Dhutaṅga of monks of Mekong River (Thai-Laos), Thai and Laos monks take Dhutaṅga with 8 practices: 1) triple-robe-wearer’s practice; 2) alms-food-eater’s practice; 3) alms-food-wanderer’s practice; 4) one-sessioner’s practice; 5) bowl-food-eater’s practice; 6) non-food receiver after beginning having food; 7) any-place-user’s practice; 8) sitting practice with 3 actions standing, walking, sitting without laying down. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.1 MiB 1,175 25 พ.ค. 2564 เวลา 23:44 น. ดาวน์โหลด