โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาคุณค่าการบูชาที่ปรากฏในประเพณีการทำบุญญาแม่ศรีเมือง ของประชาชนนครหลวงเวียงจันทน์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Value of a Worship as Appeared in the Tradition of Maesrimueng’s Merit making of People
  • ผู้วิจัยPhra Dao Houang Khampaseuth
  • ที่ปรึกษา 1พระราชรัตนาลงกรณ์, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูจิรธรรมธัช, ผศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา20/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/258
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 316
  • จำนวนผู้เข้าชม 305

บทคัดย่อภาษาไทย

          การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศึกษาคุณค่าการบูชาที่ปรากฏในประเพณีการทำบุญญาแม่ศรีเมือง ของประชาชนนครหลวงเวียงจันทน์” นั้น มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการบูชาในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท 2)เพื่อศึกษาพิธีการบูชาการทำบุญญาแม่ศรีเมืองของประชาชนนครหลวงเวียงจันทน์  3) วิเคราะห์คุณค่าการบูชาที่ปรากฏในประเพณีการทำบุญญาแม่ศรีเมือง ของประชาชนนครหลวงเวียงจันทน์ การเก็บข้อมูลได้จากเอกสารต่างๆ  การเข้ามีส่วนร่วมในพิธีกรรมบวงสรวงเจ้าแม่สองนาง  และจากการสัมภาษณ์    
          ผลการศึกษาพบว่า
          ลักษณะความเชื่อญาแม่ศรีเมืองจะมีลักษณะของการบูชา อ้อนวอน การบน การขอพร เพื่อหวังในสิ่งที่ตนเองปรารถนาประสบความสำเร็จ เช่น การงาน  การเงิน  การเสียงโชค  เป็นต้น  แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพิธีกรรมการบูชาญาแม่ศรีเมืองใช้แนวความคิดทางมานุษยวิทยา ,สังคมวิทยา ,จิตวิทยา  รวมทั้งวิญญาณนิยมและลัทธิเจตนิยม  เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม  เก็บข้อมูล และการวิเคราะห์เนื้อหา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความเชื่อพิธีกรรมการบูชาญาแม่ศรีเมืองที่ช่วยส่งเสริมพุทธจริยธรรมทางสังคม ในทัศนะทางพระพุทธศาสนา ความเชื่อพิธีกรรมการบูชาญาแม่ศรีเมือง จัดอยู่ในกลุ่มอุปาทาน 4 ชนิด อัตตวาทุปาทานและสีลัพพตุปาทานและเป็นเดรัจฉานวิชา แต่มีหลักธรรมหลายหมวดที่น่าจะส่งผลต่อแนวคิดเรื่องพราหมณ์ต่อสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า (วิญญาณนิยม) คือ เรื่องโอปปาติกะ(ในโยนิ4)  ,เรื่องเทพ/เทวดา(ในเทพ3,ภูมิ4,คติ5) ,เรื่องสัตวโลก (ในโลก3) , เรื่องสังขารและวิญญาณ(ในขันธ์5)  และเรื่องกรรมกับการเกิดใหม่(สังสารวัฏ) ที่ยืนยันถึงการมีอยู่จริงของ ปรโลก และสวรรค์  อันเป็นสาระหลักของความเชื่อเรื่องเทพเจ้า พิธีกรรมเจ้าแม่สองนางและพิธีทรงเจ้าเข้าผี   ส่วนหลักธรรมที่ส่งผลต่อการประกอบพิธีกรรมนั้นประกอบด้วย  หลักศรัทธา เป็นความเชื่อในระบบความคิดอย่างหนึ่งโดยไม่มีการพิสูจน์ ไม่ต้องการเหตุผล  ภาพความเชื่อของญาแม่ศรีเมืองจะปรากฏอยู่ในพิธีกรรมการบูชาญาแม่ศรีเมืองได้กำหนดขึ้น  หลักกรรม  ในบริบทกรรมตามนัยทางพระพุทธศาสนา  แต่มิใช่ทฤษฎีกรรมที่ถูกต้องในทางพุทธศาสนา  เช่นการทำสิ่งดี  เพื่อที่จะได้สิ่งตอบแทนที่เป็นความดีงาม ทั้งในส่วนของวัตถุ  และความพึงใจที่เป็นนามธรรม การบำเพ็ญบารมี  ทำให้เกิดระบบของการเสียสละ ในรูปแบบต่างๆ 
            ญาแม่ศรีเมืองกับพระรัตนตรัย  มีความสัมพันธ์กันในภาวะแบบความเชื่อถือ  น้อมรับมา  และปรับใช้ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของตนเอง และสังคม  พระสงฆ์  พราหมณ์เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระรัตนตรัย  และเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย  ได้รับประสบการณ์ตรง  มีการแนะนำคนอื่น ให้ศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย  ซึ่งถูกยกไว้เป็นที่เคารพในระดับสูง ญาแม่ศรีเมืองมีบทบาทสูงในด้านการให้กำลังใจ  ส่วนอิทธิพลของญาแม่ศรีเมืองที่มีต่อสังคมลาว ทางด้านวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  การเมืองการปกครอง และประเพณี  พบว่าอยู่ในระดับมาก  
             จากการสัมภาษณ์ พระสงฆ์  พราหมณ์ ปราชญ์หรือผู้รู้  ประชาชนหลายระดับทั้งตำแห่งบริหารรวมลงมาจนถึงพ่อค้าประชาชนทั่วไป พบว่า  ส่วนใหญ่ต้องการที่พึ่งทางจิตใจและการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน   ที่สุด  ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของญาแม่ศรีเมืองส่วนใหญ่คือ ความเชื่อเรื่องบุญ-บาป  ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติธรรม ความเชื่อในพระรัตนตรัย ความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์  และความเชื่อเรื่องนิพพานตามลำดับ ความเชื่อเหล่านี้นำไปสู่พิธีกรรมตามบริบทของความเชื่อนั้นๆ  พิธีกรรมการบูชาทางพระพุทธศาสนาของญาแม่ศรีเมืองที่ประกอบส่วนใหญ่คือ การสวดมนต์  ไหว้พระ รองลงมาคือ การรักษาศีล  การปฏิบัติธรรม  การทำบุญทอดกฐิน-ผ้าป่า สร้างพระพุทธรูป การเลี้ยงพระ ถวายสังฆทาน ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางพระพุทธศาสนากับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของญาแม่ศรีเมือง เป็นการส่งเสริมพุทธจริยธรรมทางสังคมอย่างเห็นได้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน  

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purpoThe purposes of the research entitled  were; 1) to study the principle of worship in Theravada Buddhism 2) to study the worshipful method related to Maesrimueng merit making of people in Vientien City and 3) to analyze the value of worship as appeared in the tradition of Maesrimueng merit making of people in Vientien City. The collection of data was received from various documents, to participate in the sacrifice offering of Chaomaesrimueng and interviewing
            The results of the study were found that the features of Chaomaesrimueng will have the features just like the worship, prayer, vow, and to request the blessing in order to require the things as they want to have such as work, money and fortunes etc. . The concept and theory related to the worshiping rituals of Chaomaesrimueng by using the concept of humanity, sociology, psychology including animism and spiritualism as the way to create the questionnaires, collection of the data and the content analysis.
            The Buddhist teachings concerning the belief of worshiping rituals of Chaomaesrimueng enhance the social morality in the attitude of Buddhism. The belief of the worshiping rituals of Chaowmaesrimueng is provided in the group of 4 Attachments, that is, means clinging to the ego-belief and
means clinging to mere rules and rituals and pseudo-sciences, but there are various principle of Dhamma effecting the concept of Brahma towards the natural power (Animism) , that is, in Yoni 4, the mater of 3 Divinities, 4 (planes of consciousness) Gati 5, the creatures (in Loka 3) the items of the compounded things and the consciousness (in the Five Aggregates) and Kamma and rebirth by certifying the fact of the hereafter and the heaven that are the core essence of the divine belief and the rituals of possessed spirits. While the principle of reflection towards the ritual performance consisting of the principle of the faith that is the belief in the conceptual systems without improvement. The picture of belief in Chaomaesrimueng will appear in the worshiping rituals of Chawmaesrimueng as created. The law of Kamma in the context of Kamma in accordance with the gist of Buddhism is not true such to do good for the sake of benefits both materials and satisfactory things. To practice the perfections results in the systems of charities in various forms.
            Chaomaesrimueng and the Triple Gems are associated with the condition of belief, recognition and to apply for the life style of oneself and society. The Buddhist monks and Brahmana propagate the Triple Gems and believe in the Triple Gems and receive the relevant experience, and advice the others to have the faith in the Triple Gems that are raised up as the high respect. Chaomaesrimueng has the high role in giving the respiration for people while in the aspect of influence, Chaomaesrimueng has towards the Laos society. While the aspect of culture, economy, politics and administration and tradition are found in the high level.
            From interviewing the Buddhist monks, Brahmana, scholars and people in various levels including the merchants it was found that the majority of people who want to have the spiritual refuges as one part of the community, The belief in Buddhism of Chaomaesrimueng is to believe in Merit – Sin, to believe in Dhamma practice, to believe in Triple Gems, to believe in Hell and Heaven and to believe in Nippana accordingly. These beliefs lead to the rituals in accordance with those contexts. The worshiping ritual in Buddhism of Chaomaesrimueng consists of chanting, paying respect to Buddha descending to preservation of precepts, Dhamma practice, to do merit of Katina and forest robe ceremony , creation of Buddha’s image,
 feeding the Buddhist monks, and offering to Orders. All these associate with between the Buddhist beliefs and Buddhist rituals of Chaomaesrimueng that enhance the social morality as material object.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.22 MiB 316 26 พ.ค. 2564 เวลา 02:30 น. ดาวน์โหลด