-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์พุทธญาณวิทยาในสติปัฏฐาน 4
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Analysis of Buddhist Epistemology in the Four Satipatthāna Dhammas
- ผู้วิจัยพระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ (ประมวน พานิช)
- ที่ปรึกษา 1พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:วิทยาเขตขอนแก่น
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/260
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,058
- จำนวนผู้เข้าชม 450
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธญาณวิทยา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดสติปัฏฐาน 4 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธญาณวิทยาในสติปัฏฐาน 4 เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก และเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1) พุทธญาณวิทยา เป็นทฤษฎีความรู้ในพระพุทธศาสนาที่จำแนกความรู้เป็น 3 ประเภท 1) จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดแต่การคิดไตร่ตรองหาเหตุผล (โยนิโสมนสิการ) 2) สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้จากภายนอก หรือจากกัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะ) และ 3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากกระบวนการของปัญญาทั้งสองแล้วลงมือปฏิบัติพัฒนาเพิ่มพูนให้มากขึ้น และนอกจากนี้พุทธญาณวิทยายังได้จำแนกความรู้เป็น 2 ลักษณะคือ 1) ความรู้ในรูปแบบของสมมติสัจจะคือความจริงที่ชาวโลกสมมติขึ้นมาใช้ในกลุ่ม 2) ความรู้แบบปรมัตถสัจจะคือความรู้ที่รู้ตามความเป็นจริงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นและดับไป
2) สติปัฎฐาน 4 เป็นฐานที่ตั้งของสติหรือการมีสติเป็นตัวรู้เข้าไปกำหนดพิจารณาสภาวะที่ปรากฏขึ้นทางกาย เวทนา จิต และธรรม เป็นสภาวธรรมที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยมีสติเป็นตัวกำหนดรู้เป็นเครื่องพิจารณาเพื่อให้รู้เท่าทันต่อการเกิดขึ้นและความเป็นไปของสรรพสิ่ง
3) พุทธญาณวิทยาในสติปัฏฐาน เป็นความรู้ที่เกิดจากกระบวนการสัมพันธ์ระหว่างอายตนะภายใน และภายนอกที่กระทบกันจึงเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากสุตมยปัญญา จินตามยปัญญญา และภาวนามยปัญญา ซึ่งปัญญาทั้ง 3 นี้มีความสืบเนื่องสัมพันธ์กัน และองค์ความรู้ทั้ง 3 นี้จึงเป็นองค์ความรู้ในการกำหนดรู้สติปัฏฐาน 4 คือ 1) การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นทางกาย 2) การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นทางเวทนา 3) การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นทางจิต และ 4) การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1) to study the concepts of Buddhist epistemology; 2) to study the concepts of the Four Satipatthāna Dhammas (Mindfulness); 3) to analyze the Buddhist epistemology in the Four Satipatthāna Dhammas. This study was carried out by means of the documentary research through investigating the Tipitaka and related documents. The obtained data were analyzed by means of the descriptive analysis based on the inductive reasoning method.
The research results were as follows:
1) The Buddhist epistemology is the theories in Buddhism divided in 3 kinds of knowledge: 1) Cintāmaya paññā: wisdom resulting from reasoning reflection (Yonisomanasikāra, analytical reflection); 2) Sutamaya paññā: wisdom resulting from learning from the others or good friends (kalyānamitta); Bhāvanāmaya paññā: wisdom resulting from the intellectual process further developed. In addition, the Buddhist epistemology is divided into 2 kinds of knowledge: 1) knowledge of assumed truth by human in their group; 2) the ultimate knowledge which is the natural knowledge.
2) The Four Satipatthāna Dhammas is the base of the mind or consciousness to determine the phenomena in terms of body, feeling, mind and dhamma conditions in accordance with the natural law which happens with the consciousness as the perceiver to keep with the phenomena and status of things.
3) The Buddhist epistemology in the Four Satipatthāna Dhammas is the knowledge occurred in connection between internal and external sense fields reflected as the body of knowledge arisen from Sutamaya paññā, Cintāmaya paññā and Bhāvanāmaya paññā. These are interrelated and determine the knowledge in the Four Satipatthāna Dhammas: 1) realization in body, 2) feelings, 3) mind and 4) dhammas.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.05 MiB | 1,058 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 03:16 น. | ดาวน์โหลด |