-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามหลักพุทธจริยศาสตร์ในตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Care of Bed-bound patients According to Buddhist Ethics in Ban Fang Subdistrict, Kaset Wisai District, Roi Et Province
- ผู้วิจัยพระยงค์ยุทธ เทวธมฺโม (จันทะอ่อน)
- ที่ปรึกษา 1พระครูภาวนาโพธิคุณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.จรัส ลีกา
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:วิทยาเขตขอนแก่น
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/261
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,677
- จำนวนผู้เข้าชม 957
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของผู้ป่วยติดเตียงในตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์เพื่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามหลักพุทธจริยศาสตร์ในตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาที่พบในผู้ป่วยติดเตียงมาจากสาเหตุหลัก 2 อย่าง 1) หลอดเลือดในสมองตีบอุดตัน 2) หลอดเลือดในสมองแตก จะพบในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 1-3 โรค ทำให้มีภาวะที่ต้องได้รับการรักษาที่ซับซ้อน และอาการป่วยจะแตกต่างจากวัยอื่น ๆ และการป่วยติดเตียงจะเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ต้องอาศัยการดูแลจากบุคคลอื่น และปัญหาที่พบในผู้ป่วยติดเตียงคือ การขาดผู้ดูแลซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในทุกมิติ
2. หลักพุทธจริยศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง พบว่า มีการนำพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกข) ภาวนา 4 (กาย ศีล จิต ปัญญา) และโพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมวิจย วิริย ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ)
3. การดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามหลักพุทธจริยศาสตร์ในตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การนำหลักพุทธจริยศาสตร์ที่กล่าวมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกมิติ ด้วยวิธีการดูแลด้วยความเอาใจใส่ด้วยความตั้งใจให้หายจากโรค และผู้ดูแลต้องคอยดูแลผู้ป่วยไม่ให้กลับไปเจ็บป่วยอีก และช่วยพัฒนาผู้ป่วยให้เข้าใจถึงภาวะความเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกมิติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research paper were: 1) to study the current problematic conditions of the bedridden patient care; 2) to study Buddhist ethics used in the bedridden patient care; 3) to analyze the bedridden patient care according to Buddhist ethics. This research was carried out by means of the documentary research through studying information from Tipiṭaka, documents and related research. The obtained data were interpreted by using descriptive analysis based on the inductive reasoning principles.
The research results were as follows:
1) The current problematic conditions found in the bedridden patients were that the bedridden patients mostly are the elderly with 1-3 underlying diseases causing complicated treatment and their illnesses were different from those in other ages because they had chronic illness at bed without physical movement affecting the working system of the muscles and complications such as infections in the respiratory system, urinary system, frozen joints, depression and pressure ulcers etc. This made it impossible for them to help themselves and required care from other people. Also, the problems found in the bedridden patients were lack of caregivers, which affected their quality of life in all dimensions.
2) The Buddhist ethics used in the bedridden patient care included Brahmavihāra Dhamma (Sublime States of Mind): Mettā (loving kindness), Karuṇā (compassion), Muditā (sympathetic joy) and Upekkhā (equanimity) that the caregivers had to have in mind and expressed with their pure heart.
3) The bedridden patient care according to Buddhist ethics can be made by applying Brahmavihāra Dhamma principles in the bedridden patient care to improve their quality of life in every dimension in a way to take care of patients with pure love, intention of caring for their recovery from existing diseases, pleasure when the patient recovered from the illness and neutrality in keeping an eye on patients to not return to illness again and help develop patients to have a better quality of life in every dimension.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.33 MiB | 1,677 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 03:23 น. | ดาวน์โหลด |