-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวพุทธจริยศาสตร์ในตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Human Behavior Development According to Buddhist Ethics in Tha Song Khon Subdistrict, Mueang District, Mahasarakham Province
- ผู้วิจัยพระมหาอรรถพงษ์ สิริโสภโณ
- ที่ปรึกษา 1พระครูภาวนาโพธิคุณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.จรัส ลีกา
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:วิทยาเขตขอนแก่น
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/262
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 651
- จำนวนผู้เข้าชม 456
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวพุทธจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวพุทธจริยศาสตร์ในตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ของประชาชนตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 41 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. พุทธจริยศาสตร์เป็นข้อปฏิบัติเพื่อควบคุมและพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าความดีงามของมนุษย์ และเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานทางจริยธรรม จำแนกออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ พุทธจริยศาสตร์ระดับต้น คือ ศีล พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง คือ กุศลกรรมบถ 10 และพุทธจริยศาสตร์ระดับสูง คือ มรรค 8 ทำให้พฤติกรรมดีและพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมไปพร้อมกับการพัฒนาพฤติกรรม
2. สภาพทางพุทธจริยศาสตร์ของประชาชนตำบลท่าสองคอน พบว่า มีพฤติกรรมละเมิดพุทธจริยศาสตร์ 3 กลุ่ม คือ พฤติกรรมละเมิดกฎเกณฑ์ศีลธรรม ละเมิดเพราะความไม่รู้ และจงใจละเมิด ส่วนการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวพุทธจริยศาสตร์ในตำบลท่าสองคอน ได้พัฒนาตามหลักศีล 5 โดยการพัฒนาพฤติกรรมเบญจศีลและเบญจธรรม พัฒนาพฤติกรรมให้กับกลุ่มที่มีปัญหา การจัดการปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรม การใช้มาตรการชุมชนมาควบคุมพฤติกรรม และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาวะไปด้วย
3. แนวทางพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวพุทธจริยศาสตร์ โดยใช้พุทธจริยศาสตร์เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและสร้างบรรทัดฐานเพื่อให้เป็นระบบกลไกจริยธรรมชุมชน ประยุกต์พุทธจริยศาสตร์ให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน การพัฒนามนุษยธรรมและทักษะการใช้พุทธจริยศาสตร์ พัฒนาพฤติกรรมตามสภาพปัญหา และใช้เป็นหลักประกันทางสังคม รวมทั้งพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมไปพร้อมกับจัดการปัจจัยเอื้อต่อพุทธจริยศาสตร์ ส่งผลให้พฤติกรรมดีงาม การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล และพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณค่า
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1) to study human behavior according to Buddhist ethics; 2) to study the human behavior according to Buddhist ethics in Tha Song Khon Sub-district, Muang District, Mahasarakham Province; 3) to study the ways to develop the human behavior according to Buddhist ethics in Tha Song Khon Sub-district, Muang District, Mahasarakham Province. This study was a qualitative research carried out by studying information from the Tripitaka, documents and related research. There were 41 key informants. The obtained data were analyzed by the descriptive approach based on the inductive method.
The research results were as follows:
1) Buddhist ethics is a practice to control and develop human behavior. It is a criterion for judging the goodness of human beings and a measure of ethical standards, classified into 3 levels: the elementary level of Buddhist ethics referred to the precepts, the middle level referred to the Ten Wholesome Actions, the high level referred to the Eightfold Paths. This makes good behavior and develop ethical reasoning along with behavioral development.
2) In Buddhist ethics conditions of Tha Song Khon Sub-District people, it was found that there were three groups of Buddhist ethics violating behaviors: behavior violating moral rules because of ignorance and willfulness. The development of human behavior according to the Buddhist ethics in Tha Song Khon Subdistrict was developed according to the Five Precepts by the development of the Five Precepts and Five Ennobling Virtues, Behavior development for groups with problems, factor management contributes to behavioral development, using community measures to control behavior and well-being behavior development.
3) Human behavior development guidelines according to Buddhist ethics can be made by using Buddhist ethics as the determining way of life and creating norms for the system of community ethics mechanism, applying Buddhist ethics suitable o the community context, humanitarian development and skills in using Buddhist ethics to develop behavior according to the problem state and use it as a social security, developing ethical reasons while managing factors contributing to Buddhist ethics resulting in good behavior supportive coexistence and developing the potential of valuable human resources.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.08 MiB | 651 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 03:33 น. | ดาวน์โหลด |