โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เพื่อการครองเรือนกับกฎหมายการฟ้องหย่า
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Buddhist Ethics of Householding and Divorce Law
  • ผู้วิจัยนายสุทิน ไชยวัฒน์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุวิน ทองปั้น
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
  • วันสำเร็จการศึกษา15/02/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:วิทยาเขตขอนแก่น
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/264
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 510
  • จำนวนผู้เข้าชม 508

บทคัดย่อภาษาไทย


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์สำหรับการครองเรือน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายการฟ้องหย่า 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เพื่อการครองเรือนกับกฎหมายการฟ้องหย่า เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการด้านกฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ตามหลักอุปนัยวิธี


         ผลการวิจัยพบว่า 
         1. หลักพุทธจริยศาสตร์เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติสำหรับการครองเรือนแบ่งเป็นระดับต้น ได้แก่ ศีล ใช้ควบคุมกาย วาจา ระดับกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 ใช้ควบคุมกาย วาจา ใจ และระดับสูง ได้แก่มรรคมีองค์ 8 ใช้ควบคุมกาย วาจา ใจ และพัฒนาสติปัญญา นอกจากนี้ยังนำหลักทิศ 6 ฆราวาสธรรม และอบายมุข มาร่วมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้วย
         2. กฎหมายการฟ้องหย่า เป็นหลักการที่นำไปใช้เพื่อการฟ้องหย่าที่เกิดจากความผิดของคู่สามีภรรยา เช่น การมีชู้ การประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา และด้วยสาเหตุการฟ้องหย่าที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานความผิดของคู่สมรสเช่น การต้องคำพิพากษาให้จำคุก เป็นคนวิกลจริต เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และการมีสภาพร่างกายไม่อาจร่วมประเวณีได้ เป็นต้น
         3. วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เพื่อการครองเรือนกับกฎหมายการฟ้องหย่า ประกอบด้วย (1) หลักอินทรีย์สังวร 6 ไม่หลงเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (2) หลักฆราวาสธรรม 4 (3) ศีล 5 (4) หลักอบายมุข 6 (5) หลักทิศ 6 หมายเอาเฉพาะทิศเบื้องหลัง ได้แก่ ภรรยาหรือสามี ที่จะทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ด้วยข้อปฏิบัติที่กล่าวไว้ในทิศเบื้องหลังนั้นเช่น สามีต้องยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ ส่วนภรรยาก็จะทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ด้วยการดูแลทรัพย์สิน ญาติ ไม่นอกใจ และไม่เกียจคร้าน เพราะหลักพุทธจริยศาสตร์ที่กล่าวมานี้จะทำให้เกิดความสุขในการครองเรือน และไม่มีการฟ้องหย่าเกิดขึ้นในทุกกรณี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The objectives of this research were: 1) to study the Buddhist ethics for householding; 2) to study the theory related to divorce law; 3) to analyze the Buddhist ethics of householding and divorce law. This study was carried out by means of the documentary research method through investigating the Tipitaka, law documents and related research. The obtained data were interpreted by means of the descriptive analysis based on the inductive reasoning method.  
        The research results were as follows:
        1) The Buddhist ethics is the doctrine of the Buddha used as the principles for householding, divided into levels: in the basic level, precepts are used to control the physical and verbal actions; in the middle level, Kusala-kammapatha Dhammas 10 (Wholesome Course of Action) are also applied to control the body, speech and mind; in the high level, Aṭṭhaṅgika-Magga (the Noble Eightfold Path) is used to control the body, speech and mind and to develop intellectual together with the principles of Disa 6 (Direction), Gharavāsa Dhamma 4 (Virtues for a Good Household Life) and Apāyamukha (Cause of Ruin) as the tools of the development. 
        2) Divorce law is a principle that is applied to divorce proceedings arising from a spouse's fault, such as adultery, physical and verbal misconducts and non-spouse’s fault-based divorce causes, for example: being sentenced to imprisonment, a maniac, a serious contagious disease and having a physical condition preventing sexual intercourse etc.
         3) The analysis of the Buddhist ethics of householding and divorce law is consisted of (1) the Indreyasaṁvara 6 (Control of Senses) used to prevent the delusion of form, sound, smell, taste and tangible objects, (2) Gharavāsa Dhamma 4, (3) Five Precepts, (4) Apāyamukha, (5) Disa 6, referring to the back direction ‘spouse’, to complete their duties with the practices mentioned in the back direction, for example, the husband must praise his wife, does not scorn her and not cheat on her as for the wife, she does his duty perfectly by taking care of property, relatives, not cheating, and not being lazy. The Buddhist ethics mentioned above bring happiness in householding and there is no divorce in all cases.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.92 MiB 510 26 พ.ค. 2564 เวลา 03:47 น. ดาวน์โหลด