-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์การบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าของบุคคลในปัจจุบัน ตามหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of the Current Person's Treatment of Depression Based on the Principles of Cittānupassanā-Satipaṭṭhāna
- ผู้วิจัยพระรักเกียรติพงษ์ ถาวโร (อินเปื่อย)
- ที่ปรึกษา 1พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา28/04/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:วิทยาเขตขอนแก่น
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/267
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 815
- จำนวนผู้เข้าชม 592
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในเขตชุมชนเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐานตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา 3) วิเคราะห์การบำบัดโรคซึมเศร้าในเขตชุมชนเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ตามหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฏก หนังสือตำราและเอกสารทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง มีกลุ่มประชากรในเขตชุมชนเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป การใช้เครื่องมือสัมภาษณ์เชิงลึก รวบรวมเรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัย แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ตามอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาโรคซึมเศร้าที่พบจากผู้ป่วยเกิดจากภาวะความเครียดสะสม ผู้ที่อยู่ร่วมใกล้ชิดไม่เข้าใจผู้ป่วยซึมเศร้า ที่ท้อแท้หมดกำลังใจ ขาดกัลยาณมิตรผู้ชี้แนะช่วยหาหนทางออกของปัญหาเหล่านั้น จิตตกอยู่ในภาวะหมกมุ่นจมปลัก วิตกกังวล และมองโลกในแง่ร้าย
ผลการวิเคราะห์หลักจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐานพบว่าการนำสติ มากำหนดควบคุมกำกับจิตในการรับรู้ให้อยู่กับสิ่งขณะปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่จริงในขณะนั้น ๆ เป็นตัวชี้นำตั้งแต่ต้น ไม่ให้ไปย้ำคิดถึงเรื่องการคิดปรุงแต่ง ในอดีตหรืออนาคต ผลของผู้ป่วยที่ฝึกจิตแล้ว จิตจะสงบ แจ่มใส มีสติสัมปชัญญะ อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หรือใช้กำจัดกิเลสได้ในขั้นสูงสุดต่อไป
ผลการบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตามหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน โดยการใช้สติในขณะปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง สาเหตุของโรคซึมเศร้าคือ ความเครียดด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัวหรือภาระหน้าที่ทางสังคม และความไม่ประสบผลในสิ่งที่หวัง โดยมีผลสรุปแบ่งได้สามกลุ่ม คือ (1) ผู้ป่วยที่หายจากโรคซึมเศร้า เป็นบุคคลที่มีพื้นฐานความเลื่อมใสศรัทธาในคำสอนทางพระพุทธศาสนาทำให้เกิดวิริยะ ศีล สมาธิและปัญญา (2) ผู้ป่วยที่ไม่หาย เป็นพุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเลื่อมใสแต่ขาดวิริยะ สมาธิ (3) ผู้ป่วยที่ไม่หาย เป็นบุคคลที่ขาดความศรัทธา ขาดวิริยะ ขาดพื้นฐานศีล 5
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aimed to 1) study the problem of depressed patients in the Mueang Kao community, Nai Mueang sub-district, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen province; 2) to study the principles of Cittānupassanā-Satipaṭṭhāna based on Buddhist teachings; 3) to analyze the depression treatment in the Muang Kao community according to the principles of Cittānupassanā-Satipaṭṭhāna. This study was qualitative research carried out by studying the Tripitaka, scriptures, texts, and related Buddhist documents. This study's population was the citizens in the Mueang Kao community, aged more than 20 years. An in-depth interview was used to collect the data. According to the inductive method, the obtained data were compiled and analyzed according to research methodology and presented by descriptive analysis.
The research results were as follows: The depression problems found in the studied patients arise from accumulated stress. The surrounding people do not understand a depressed patient who lacks empathy, guidance, help find a way out of those problems. Their mind is in a state of obsession, anxiety, and pessimism.
The results of the analysis of the principles of Cittānupassanā-Satipaṭṭhāna indicates that using consciousness to determine and control the mind in the perception of what is happening in the present is a guide for preventing reiterating the matters in the past and future. The patients who practice the mind will be calm, clear, conscious, and happy in the present or continue to use it to get rid of defilement in the highest stage.
The results of treatment of depressed patients according to the principles of Cittānupassanā-Satipaṭṭhāna indicated that consciousness in the present moment was used with most of the samples that were female with moderate quality of life. The causes of depression were the stress of family responsibility or social obligations and lack of achievement in what they desired. The patients were divided into three groups: (1) patients recovered from depression which was a person with a foundation of devotion in Buddhist teachings, causing persistence, precepts, meditation, and wisdom; (2) patients who do not recover were a Buddhist who has faith, but lack of persistence and meditation; (3) patients who do not recover are a person who lacks faith, lack of persistence, and lack of basic five precepts.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.73 MiB | 815 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 04:07 น. | ดาวน์โหลด |