-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิธีการแก้ถีนมิทธะตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Method of Problems Solving of Thīnamiddha in Theravāda Buddhism
- ผู้วิจัยพระอนุชา สุปญฺโญ (บุญประดิษฐ์ไพศาล)
- ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธจารุธรรม
- ที่ปรึกษา 2ดร.สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล
- วันสำเร็จการศึกษา04/12/2560
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/279
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 505
- จำนวนผู้เข้าชม 1,475
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิธีการแก้ถีนมิทธะตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท”มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาถีนมิทธนิวรณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขถีนมิทธนิวรณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาวิธีแก้ปัญหาถีนมิทธนิวรณ์ในชีวิตประจำวัน
ผลการศึกษาพบว่าถีนมิทธะ ซึ่งมาจาก 2 คำ มารวมกัน คือ ถีนะ หมายถึง ความหดหู่ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ และ มิทธะ หมายถึง ความง่วงซึม ความหลับ เป็นหนึ่งในนิวรณ์ คือ เครื่องขวางกั้นคุณงามความดี สาเหตุที่ทำให้เกิดถีนมิทธะคือการไม่พิจารณาโดยแยบคายในธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการ ปฏิบัติธรรมไม่ให้เจริญก้าวหน้าสู่ธรรมขั้นสูง ผลกระทบต่อตนเอง เช่น เกิดอุบัติเหตุ ไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เสียบุคลิกภาพ เป็นต้น
หลักธรรมสำหรับแก้ไขถีนมิทธะที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ได้แก่ สติปัฏฐาน โยนิโสมนสิการ และอุบายแก้ง่วง 8 ประการ โดยสามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การเจริญสติด้วยอิริยาบถทั้ง 4 ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน เพื่อไม่ให้อยู่ในอิริยาบถเดิมจนทำ ให้เกิดความง่วงส่วนโยนิโสมนสิการนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของความง่วง โดยการพิจารณาอย่างไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบและรอบด้วย จากนั้นจึงกำหนดวิธีแก้ไขให้ตรงตามสาเหตุของความง่วงประการสุดท้ายคือการแก้ไขโดยอุบายแก้ง่วง 8 ประการ โดยเริ่มจากการละทิ้งสัญญาที่ทำ ให้เกิดความง่วง ไปสู่การกระตุ้นอายตนะทั้ง 6 การใช้อิริยาบถทั้ง 4 เช่น การลุกเดิน การยืน และการสำเร็จสีหไสยาสน์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The main purposes of this thesis on “A Study of Problems Solving of Thīnamiddha in Theravāda Buddhism” were 1) to study about Thīnamiddha in Theravāda Buddhist texts, 2) to study how to solve the problems of Thīnamiddha in Theravāda Buddhist texts, and 3) to study how to solve the problems by using Thīna middha in daily life.
The results of this study revealed that Thīnamiddha is combined with two words; i.e, thīna which means sloth referred to reluctance to work or make an effort and laziness and middha which means torpor referred a state of physical or mental inactivity or lethargy. The cause of thīnamiddha is sikāra which means disorderly or distracted attention. The Dhamma practicers are grown down in meditation practices when they fell in thīnamiddha. Moreover, it is the cause of accident, not progress in working, and destroying the personality.
The principles for the correction of the Thīnamiddha in Tipitaka are the foundations of mindfulness (Satipatthanā), proper attention (Yonisomanasikara) and the eight of lethargy problem solving methods. These can be brought to apply in daily life. Firstly, they can be applied in daily life by changing the motion; i.e. standing, walking, sitting and lying on mindfulness or reclining. Secondly, in the proper attention way is carefully thinking about the causes of lethargy and dropping these causes. Lastly, applying the eight of lethargy solving methods to daily life is necessary and to be step by step.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.74 MiB | 505 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 22:16 น. | ดาวน์โหลด |