-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์ความเหมือนกันระหว่างกฎแห่งกรรมกับกฎแห่งการดึงดูด
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis on the Similarity between the Law of Kamma and The Law of Attraction.
- ผู้วิจัยนาวาโทหญิง มัลลิกา ชมสุวรรณ
- ที่ปรึกษา 1พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ), ผศ. ดร., ป.ธ. 9
- ที่ปรึกษา 2ดร.อรชร ไกรจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2561
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/282
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,002
- จำนวนผู้เข้าชม 272
บทคัดย่อภาษาไทย
วิเคราะห์ความเหมือนกันระหว่างกฎแห่งกรรมกับกฎแห่งการดึงดูดมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักกฎแห่งกรรมทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากฎแห่งการดึงดูดของ รอนดา เบิร์น (Rhonda Byrne) 3) เพื่อวิเคราะห์ความเหมือนกันระหว่างกฎแห่งกรรมกับกฎแห่งการดึงดูดโดยออกแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า กฎแห่งกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ กฎที่กล่าวถึงเหตุและผลของการกระทำกรรม หมายถึงการกระทำทางกาย วาจา และใจ ที่ประกอบไปด้วยเจตนาหรือความจงใจในการกระทำ เจตนานั้นถ้าถูกจูงใจหรือดึงดูดด้วยกุศลมูลจะให้ผลเป็นวิบากกุศล ถ้าเจตนานั้นถูกจูงใจ หรือดึงดูดด้วยอกุศลมูลจะให้ผลเป็นวิบากอกุศล การสิ้นกรรมคือการบรรลุถึงพระนิพพานสามารถทำ ได้ด้วยการละอกุศลอันเป็นเหตุให้อกุศลกรรมดับไป โดยใช้หลักปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นทาง ปฏิบัติอันสูงสุดที่นำไปสู่การดับทุกข์และสิ้นกรรมโดยสิ้นเชิง ในทางพระพุทธศาสนาเรียกมูลเหตุที่ทำให้เกิดความคิดนั้นว่าเป็นเจตนาภายใต้กุศลมูลและอกุศลมูล กฎแห่งกรรมมีคุณลักษณะที่สาคัญที่กล่าวได้ว่าเป็นแรงดึงดูดคือกุศลมูลและอกุศลมูล โดยถ่ายทอดหรือส่งผ่านไปสู่เจตนาแล้วให้เกิดเป็นพฤติกรรมการกระทำการแสดงออกทางกาย วาจา แล้วรับผลของการกระทำตามแรงดึงดูดให้กระทำ สิ่งนั้น ๆ ส่วนกฎแห่งการดึงดูดเรียกคุณสมบัติที่นำไปสู่การดึงดูดผ่านคาสาคัญ 3 คำ คือ “ขอ”“เชื่อ” และ“รับ” ที่ถูกฝังลึกลงไปในภวังคจิตหรือจิตใต้สานึก จนกระทั่งถูกกระตุ้นแล้วสืบเนื่องให้กลายเป็นแรงจูงใจหรือแรงดึงดูดให้มีพฤติกรรมการกระทำให้เกิดผลขึ้นมา ดังนั้นความเหมือนกันของกฎทั้งสองจึงมีลักษณะที่ถูกจูงใจหรือคุณสมบัติพิเศษบางอย่างดึงดูดให้เกิดการกระทำจนเกิดผลขึ้นมาและกฎทั้งสองยังให้ความสาคัญกับกระบวนการทำงานของจิตเหมือนกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis aims to 1) To study the principle of law of kamma in Buddhism, 2) to study Rhonda Byrne's Law of attraction, 3) to analyze the similarity between the law of kamma and the law of attraction. The research design was qualitative research using documentary and interviewing methods.
The research findings show that Buddhist law of kamma is the law that deals with the cause and effect of action. Karma means bodily, verbally, and mentally actions with intention. The intention to be motivated by the roots of merit, the result is good. If the intention to be motivated by evil, the result is bad. The end of suffering is the attainment of the nibbana. The use of the principle of the Noble Eightfold Path, which is the middle way, is the highest practice leading to the end of suffering and the complete end. The Buddhist law of Karma has an important feature. It is said that merit and evil are to be gravitated by transmitting it into intention and create behaviors through bodily, verbally and mentally expression. The Law of Attraction names qualities that lead to attractiveness through three key words: "Ask," "Believe," and "Get" rooted deep in the life-continuum (bhavanga citta) or subconsciousness. Until it is stimulated, then it becomes a motivation or attraction to behaviors. So the similarity of the two laws has some character or special quality that is attractive to the actions and their fruits. Besides, both laws also focus on the same working precess of mind.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.01 MiB | 1,002 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 23:03 น. | ดาวน์โหลด |