โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยธรรมของเทวดาที่มีต่อสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Analytical Study of the Ethics in Deva to Thai Society
  • ผู้วิจัยพระเสาร์คำ ธมฺมวโร (ธิหล้า)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ.ดร. ป.ธ.5
  • ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธจารุธรรม,ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา04/05/2017
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/284
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,001
  • จำนวนผู้เข้าชม 429

บทคัดย่อภาษาไทย

             การศึกษาวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะ    ความมีอยู่ของเทวดา จริยธรรมของเทวดา และศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมที่มีต่อการพัฒนาสังคมไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร ถือพระพระไตรปิฎกเป็นข้อมูลปฐมภูมิ และเอกสารอื่นข้อมูลทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา                                                   
             ผลการวิจัยพบว่า
 
             เทวดามี 3 จำพวก คือ อุบัติเทพ สมมติเทพ และวิสุทธิเทพ เทพจำพวก อุบัติเทพมีสถานะความมีอยู่ตามภพ/สวรรค์ ตามอายุ ตามการเกิด/ตาย ตามภพ/ภูมิ ตามชีวิต/กำเนิด ตามอาหาร ตามความสัมพันธ์กับมนุษย์ เทพจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีบทบาทต่อธรรมชาติและพระพุทธศาสนา คือกลุ่มพิธีกรรมที่เนื่องด้วยเทวดา กลุ่มที่มีบทบาทของเทวดาในสวรรค์และกลุ่มสถานะและบทบาทของเทวดาต่อพระพุทธศาสนาและธรรมชาติ เทวดามีอาณาจักรสถิตคือเทวโลก เป็นชาวสวรรค์ เทวดาในชั้นจตุมหาราช มีบทบาทต่อธรรมชาติ เช่น ป่า น้ำ อากาศ เป็นต้น เทวดามีส่วนสำคัญในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าถือเป็นพุทธกิจหนึ่งใน 5 คือเวลาเที่ยงคืนจะทำหน้าที่แก้ปัญหา ให้แก่เทวดา เทวดามีส่วนสำคัญให้เกิดมงคลสูตร  นอกจากนี้ เทวดามีบทบาทต่อพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นต้นบัญญัติหลายข้อ เช่น อาบัติ ปาจิตตีย์ข้อที่ห้ามพระภิกษุพรากของเขียว บทบาทของเทวดาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ภายหลังที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาจบลง เทวดาชุมนุมในหมื่นโลกธาตุพากันแซ่ซ้องสรรเสริญดังกึกก้องไปทั่วโลกธาตุ แสดงให้เห็นว่าปกติของเทวดาจะใคร่ในธรรมและจริยธรรมของเทวดามีคุณค่าในการเป็นแหล่งจริยธรรมจากพระพุทธศาสนาต่อธรรมชาติ โดยเทวดาแห่งป่าจะปฏิบัติในรุกขธรรม เทวดาแห่งนภากาศ จะขจัดราหูให้ฐานะศัตรูด้วยอ้างถึงพระพุทธคุณ เทวดาแห่งข้าว จะดูแลพืชธัญญาหารแก่มนุษย์ เทวดาแห่งน้ำจะรักษาน้ำเลี้ยงมนุษย์และพืช เทวดาแห่งฝน  จะให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เทวดาจะสอนจริยธรรมให้แก่มนุษย์และมนุษย์จะอยู่กับเทวดาด้วยการทำบุญ ทำทาน ทำดี ทำพิธีไหว้ดี พลีถูกและปฏิบัติในจริยธรรม   
                                  
             ธรรมให้เกิดเป็นเทวดาที่สำคัญมีบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ บุญที่สำเร็จด้วยการให้ทาน บุญที่สำเร็จด้วยการรักษาศีล บุญที่สำเร็จด้วยการภาวนา บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ คือการทำบุญด้วยการให้ปัน โอตตัปปะ และวัตรบท 7 ประการ คือ การเลี้ยงมารดาและบิดา การประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่การพูดจาแต่คำอ่อนหวาน การไม่พูดคำส่อเสียด การมีใจปราศจากความตระหนี่ การพูดแต่คำสัตย์และการไม่โกรธ                                                                                                                                             
               เทวดาจะสร้างคุณค่าทางจริยธรรมแก่สังคมในฐานะเป็นแหล่งจริยธรรม เช่น ปัญหา 3 ราศีในเทศกาลสงกรานต์  จริยธรรมของเทวดาจะเน้นพัฒนาชีวิต เอื้ออาทรต่อกัน สร้างสันติภาพต่อสังคมและธรรมชาติ  จริยธรรมของเทวดามีคุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ต่อการเป็นแหล่งจริยธรรม กล่าวคือ การเจริญอนุสติ การเป็นมิตรกับป่า การสะเดาะเคราะห์ การบนบาน ความสุข คุณค่าเหล่านี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่งแก่พุทธบริษัทผู้ปฏิบัติ เพราะเสริมสร้างกำลังใจ ให้ความหวัง ทำให้ผู้ปฏิบัติตามได้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและพ้นทุกข์ในที่สุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This thesis aims  to study an existence of deva (deity) in Buddhist text, to study the ethics of deva to Thai Society and an analytical study of ethics of deva to Thai Society. It is the document research by Tepiţaka as the primary source and other sources as the secondary sources. Its data analysis is the model of descriptive statics. 
 
                Findings were as follows:

 

                                                                                      
                It is found that there are three kinds of deva, namely:- the deva by rebirth, the deva by purification, the deva by convention. The deva by rebirth has status, existence, according to sphere/heaven, according to age, according to birth/death, according to life/rebirth, according to food, according to relation with a human.  The deva is grouped in three kinds, namely;- the kinds of roles from deva to Buddhism and nature. The kinds of rituals concerning with deva. The kinds of deva in heaven including the status and roles of deva for nature and Buddhism. The deva who produces the ethical values to human concluding monks and Buddhists. The deva is the important point of Buddhism. The Buddha regards the deva as the a routine in five of Buddha’s daily life. In which, it is the reply of  question for Deva at time in noon night and then the highest blessing arises by deva. Besides, the roles of deva  in Buddhism as the deva is the resource of the first regulation of  titles, such as Pācittỉ. it prohibits monks from cutting grasses or threes.  Other roles of the deva are the pleasure in the ending of the first sermon of the Buddha by loud sound all over ten earth. It is well shown that the deva intends to Dhamma. The ethics of deva is regarded as high value which is regarded as ethical resource to Buddhism and to nature. 

               The ethics of deva as Dhamma for being deva:- 1.Three bases of meritorious action  (Puññakiriyãwatthu);- meritorious action consisting in giving or generosity, meritorious action consisting in observing the precepts or ethical behavior, meritorious action consisting in mental development. 2. Ten bases of meritorious action (Puññakiriyãwatthu);- merit acquired by giving, ethical behavior, by mental development, by reverence, by rendering services, by sharing out merit, by rejoicing in others’ merit, by listening to the Doctrine or right teaching, by teaching the doctrine or showing truth, by straightening one’s views or forming correct views. 3. Five achievement (Sampadã) ;-  to be endowed with morality, to be endowed with will, to be endowed with view, to be endowed with carefulness.  4. Two titles in ethics of deva (Devadhamma) ;- moral shame, moral fear. 5. The seven principles for practice of deva (Wattapada) ;- to taking care our parents, suitable practice to elders, only sweet speech,  not tale-bearing speech,  not be miserly,  only true speech and not be angry. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.22 MiB 1,001 26 พ.ค. 2564 เวลา 23:19 น. ดาวน์โหลด