-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of Concept of Faith Between Theravada Buddhism and Brahanism
- ผู้วิจัยพระครูปลัดสังวาลย์ เทวสโร (ศรีสุข)
- ที่ปรึกษา 1พระราชรัตนมุนี, ผศ.ดร., ป.ธ. 8
- ที่ปรึกษา 2ดร. สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์
- วันสำเร็จการศึกษา16/03/2561
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/285
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,034
- จำนวนผู้เข้าชม 603
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาหลักศรัทธา ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาหลัก ศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์ โดยมี วิธีวิจัยเชิงเอกสารคือศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนํามาวิเคราะห์ตีความ เปรียบเทียบ บรรยายเชิงพรรณนาและตรวจสอบโดยผุ้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัยพบว่า“ศรัทธา” ในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การเชื่อมั่นในความดี เป็นการเชื่อที่มีเหตุผลสนับสนุน เป็นศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญากํากับเสมอ มีลักษณะของความเชื่อตามความเป็นจริง โดยมองให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลของสิ่งต่างๆ ผู้มีความเชื่อถูกต้องจะไม่ตัดสินหรือลงความเห็นในเรื่องใดจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติจนเห็นผลที่ได้รับจากประสบการณ์ด้วยตนเอง ความเชื่อหรือศรัทธาในพระไตรปิฎกมี 4 ประการ คือ (1) กัมมสัทธา (2) วิปากสัทธา (3) กัมมัสสกตาสัทธา (4) ตถาคตโพธิสัทธา โดยสรุปและวมุ่งเน้นให้เชื่อกฎแห่งธรรมชาติ กฎแห่งการกระทําของปัจเจกบุคคล หรือกฎแห่งเหตุผล และการเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ในฐานะเป็นแบบอย่าง และเป็นกฎที่เราจะต้องเข้าใจและปฏิบัติตามเพื่อความพ้นทุกข์
ในส่วนของศาสนาพราหมณ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปในลัทธิของชาวอารยันใหม่มีส่วนคล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาใหม่ที่เกิดขึ้นในชมพูทวีในสมัยเดียวกัน คือ ศาสนาเชน ศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนา มีปรัชญาธรรมดังนี้
1. มีความเชื่อยิ่งขึ้นว่า ดวงวิญญาณเป็นอนันตะ ดวงวิญญาณนั้นผ่านมาจากการเกิด (ชาติ) อันนับไม่ได้ ชาติหนึ่งอาจเกิดเป็นอย่างหนึ่ง อาจเกิดเป็นคนมีฐานะดี เป็นคนจน มีปัญญาดี บางทีเป็นคนโง่ บางครั้งอาจเป็นสัตว์บางชนิด และเป็นพืชบางอย่างก็มี เวียนกันอยู่อย่างนี้ไม่มีเวลาหยุดนิ่ง จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดเข้าไปอยู่กับ ปฐมวิญญาณ คือ มหาพรหม
2. ความแตกต่างกันของชีวิตเป็นไปด้วยอำนาจของกรรม คือ การกระทำไว้แต่ชาติก่อน ๆ และเพราะกรรมนั้นเองที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏฏะอยู่
3. เพราะเชื่อว่ามีกรรมเป็นเครื่องบันดาลให้เกิด และความไม่เสมอภาคที่มี เพราะการกระทำนั้น ๆ จึงมีลัทธิใหม่สอนว่า เพื่อไม่ให้มีความเสมอภาค และเพื่อไม่ให้มีการเวียนเกิดเวียนตายอย่างนั้น ก็ควรจะมีอกรรม คือ การไม่กระทำ ทำตัวให้เข้าถึงอกรรม ในที่นี้อธิบายว่า คือ พรหม แต่การที่มนุษย์จะหลีกกรรมไปสู่อกรรมมีอยู่ทางเดียว คือ สละบ้านเข้าอยู่ป่า แสวงหาธรรมเป็นเบื้องหน้า
4. ด้วยเหตุแห่งการนับถือว่า วิญญาณต้องเวียนว่ายตายเกิด เพราะกรรมดังกล่าวข้างต้น จึงเกิดมีลัทธิการสิ้นสุดแห่งโลกเก่า และการเริ่มต้นแห่งโลกใหม่ เป็นไปตามกาลสมัยดังกล่าวข้างต้น การเกิดแห่งโลก หรือการสิ้นสุดแห่งโลก เป็นหน้าที่ของเทวะผู้สร้างและเทวะผู้ทำลาย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis aimed at studying the faith in Theravada Buddhism and Brahmanism. There were 3 objectives; 1) to study of the faith in Theravada Buddhism, 2) to study of the faith in Brahmanism, and 3) to compare the faith between Theravada Buddhism and Brahmanism. The research methodology was documentary by collecting the primary data, documents and the related literatures to analyze, interpret, compare them written in description verified by experts.
From the result of study, it found that Saddhā or Faith in Theravada Buddhism refers to confidence in goodness which was the faith valuated by reason, associated with wisdom and based on the truth as its character by seeing the relation of cause and effect of all things. Those who have the right faith will not decide or believe in anything without their own valuating by proving it through his experience. There found 4 types of Saddhā or faith in Tipitaka, namely 1) Kamma-Saddhā, 2) Vipāka-Saddhā, 3) Kamassakata-Saddhā, and 4) Tathāgatabohdi-Saddhā. In brief these faiths emphasize on believing the law of natures, law of individual action or law of causation, and sincere confidence in Triple Gems as perfect refuge. the man must obey and follow these laws for the end of suffering.
In comparison, Saddhā or faith in Brahmanism had different meaning in different period. In new Aryan period, the meaning of faith appeared quite similar in Jainism, Brahmanism and early Buddhism but different in practical path which are as follows;
In comparison, Saddhā or faith in Brahmanism had different meaning in different period. In new Aryan period, the meaning of faith appeared quite similar in Jainism, Brahmanism and early Buddhism but different in practical path which are as follows;
1)They all agreed that the consciousness is infinite passing unaccountable rebirth in different forms such as being born in rich family, poor, intelligence or foolish, some animal or some in some plants circling around again and again without the end unless they had attained liberation merging into First Consciousness or Paramatman or Mahabrahman.
2) The diversity of living depends on the power of actions which one had done in previous lives and duet this force of actions, one was tied with endless circle of death and rebirth.
3) Due to the force of action causing inequality in society, there appeared many masters who tried hard to deliver the way out of such inequalities and endless rebirth then taught the non-action or Akamma, way of attaining Akamma, that is Brahma. The only one way to enter Akamma was to renounce from worldly life, living as an ascetic in jungle for seeking such Akamma or non-action.
4) Due to believing that the consciousness will wonder round and round endlessly, so there arises the new school which proposed the theory of world ending and the new beginning which depends on different period. These believes on the rise and end of this world will be determined by the creator and destroyer Gods.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.85 MiB | 2,034 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 23:24 น. | ดาวน์โหลด |