-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Awakening in Buddhism
- ผู้วิจัยพระอธิการยงค์ยุธ เตชธมฺโม (สุขสำราญ)
- ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธจารุธรรม
- ที่ปรึกษา 2ดร.สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล
- วันสำเร็จการศึกษา04/12/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/286
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,005
- จำนวนผู้เข้าชม 1,016
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ทำให้เกิดภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดภาวะตื่นรู้ในสังคมไทยปัจจุบัน
ผลการศึกษาพบว่า
ภาวะตื่นรู้เป็นภาวะของบุคคลที่มีความสมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ โดยรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญาตามหลักอริยสัจ 4 มีความสอดคล้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมุนฟรอยด์อิริคสันและพาฟลอฟ บนพื้นฐานแนวคิดร่วมกันว่า จิตนั้นสามารถพัฒนาได้และมีกระบวนการพัฒนาที่เป็นระบบขั้นตอน จิตที่พัฒนาดีแล้วจะส่งผลให้การทำงานด้านอื่นๆ พัฒนาไปด้วย หลักธรรมที่เกี่ยวกับภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนาได้แก่ มรรคและไตรสิกขาการพัฒนาตั้งอยู่บนหลักอินทรีย์ 5 ได้แก่ ศรัทธาวิริยะสติสมาธิและปัญญา รวมทั้งการฝึกสติปัฏฐาน เพราะปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดภาวะตื่นรู้คือ สติและสัมปชัญญะ อันมีฐานเกิดสำคัญที่มาจาก กาย เวทนา จิตและธรรม
ภาวะตื่นรู้นั้นมีผลมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม โดยแบ่งเป็นประโยชน์ออกเป็น 1) ส่วนปัจเจกบุคคล คือ สามารถพัฒนาร่างกายพฤติกรรม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยระงับความเจ็บป่วย ในด้านจิตใจ ทำให้มีความสงบเยือกเย็น มีความสุขไม่ฟุ้งซ่าน ผ่อนคลาย เกิดความสุขุมรอบคอบ และในด้านสติปัญญาทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และ 2) ในด้านของประโยชน์ส่วนรวม พิจารณาที่การพัฒนาสู่สังคมแห่งการตื่นรู้ เท่าทันกิเลสและหลุดพ้นจากกระแสบริโภคนิยม
ภาวะตื่นรู้นั้นมีผลมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม โดยแบ่งเป็นประโยชน์ออกเป็น 1) ส่วนปัจเจกบุคคล คือ สามารถพัฒนาร่างกายพฤติกรรม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยระงับความเจ็บป่วย ในด้านจิตใจ ทำให้มีความสงบเยือกเย็น มีความสุขไม่ฟุ้งซ่าน ผ่อนคลาย เกิดความสุขุมรอบคอบ และในด้านสติปัญญาทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และ 2) ในด้านของประโยชน์ส่วนรวม พิจารณาที่การพัฒนาสู่สังคมแห่งการตื่นรู้ เท่าทันกิเลสและหลุดพ้นจากกระแสบริโภคนิยม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of the thesis entitled “A Study of Awakening in Buddhism” were 1) to study the concept of awakening in Buddhism, 2) to study the principles that caused of awakening in Buddhism, and 3) to study the application of the concept of awakening in present Thai society.
The results showed that
Awakening was the state of the person who was complete with consciousness and compassion, actual perception of what was happening. Awakening awareness caused concentration, wisdom according to the Four Noble Truths. It corresponded to Sigmund Freud’s psychoanalytic theory, Erikson’s psychosocial development, and Pavlov’s classical conditioning theory. The mind could be developed and had a systematic development process as a common concept of them. The well-developed mind would result in good work. The principles of the Buddhist awakening are; the Noble Eightfold Path (Magga) and the Threefold Learning (Sikkhàttaya). Awakening development was based on the Five Indriya i.e. faith (Saddhà), effort (Vãriya), mindfulness (Sati), concentration (Samàdhi) and wisdom (Paññà). The Four Foundations of Mindfulness (Satipaññhàna) ; viz, body, feeling, thought and phenomenon were very important because the base factors which caused the awakening were mindfulness (Sati) and clear comprehension (Sampajañña).
The awakening was beneficial to both oneself and society. It could; therefore , be divided into 1) individual benefits which could make immunity, helped with illness, made peace calm, not distracted, relaxed, had discreetness and fixed the problem correctly, and 2) public benefits which focused on awakening society and released from consumerism.
The awakening was beneficial to both oneself and society. It could; therefore , be divided into 1) individual benefits which could make immunity, helped with illness, made peace calm, not distracted, relaxed, had discreetness and fixed the problem correctly, and 2) public benefits which focused on awakening society and released from consumerism.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.03 MiB | 1,005 | 26 พ.ค. 2564 เวลา 23:29 น. | ดาวน์โหลด |