โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การปกครองสงฆ์ด้วยหลักอปริหานิยธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Administration of Sangkha according to the Principle of Aparihāniyadhamma in Theravada Buddhism Scripture
  • ผู้วิจัยพระครูสรวิชัย [กิตติศักดิ์ กิตฺติวฑฺฒโน (จันตะนา)]
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ดร. เวทย์ บรรณกรกุล
  • ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธวรกิจจานุการ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา16/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/288
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 451
  • จำนวนผู้เข้าชม 467

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาความหมายประวัติความเป็นมาของสงฆ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักการปกครองสงฆ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการปกครองสงฆ์ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง คือพระไตรปิฎก อรรถกถา เป็นต้น เสนอปรับปรุงแก้ไขโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า

คำว่า สงฆ์ หมายถึงหมู่คณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้แก่กลุ่มพระภิกษุผู้บวชในพระพุทธศาสนา จัดเป็น 1 ในพุทธบริษัท 4 โดยพบว่า รูปแบบของหมู่สงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรกคือพระปัญจวัคคีย์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทุกรูป ต่อมาหลังจากพรรษาแรกไม่นาน ได้ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สงฆ์ 1,250 รูป ณ เวฬุวนาราม เมืองราชคฤห์ ด้วยโอวาทปาฏิโมกข์ ในกาลต่อมาเมื่อเกิดสงฆ์สาวกมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งระคนปะปนด้วยพระสงฆ์ปุถุชน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อควบคุมหมู่สงฆ์เป็นสิกขาบทต่าง ๆ โดยทรงมุ่งหวังประโยชน์ 10 ประการ เพื่อความผาสุกของสงฆ์ เป็นต้น หลักการสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ในรูปแบบการปกครองสงฆ์ก็คือ พระธรรมวินัย เป็นองค์ประกอบ ในด้านการประยุกต์ใช้หลักภิกขุอปริหานิยธรรม 7 ประการ สรุปลงในความสามัคคีของหมู่คณะ และความเคารพในพระธรรมวินัยของสงฆ์ เพราะพระองค์ทรงแสดงหลักธรรมและทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อทรงฝึกฝนสมมติสงฆ์และปุถุชนทั่วไป พระธรรมวินัยจึงได้เป็นรูปแบบหลักในการปกครองสงฆ์ พระธรรมเป็นระเบียบของใจ พระวินัยเป็นระเบียบของกาย เมื่อรวมกันเป็นหมู่คณะก็เป็นหมู่คณะที่ดี เมื่อรวมกันเป็นสังคมก็เป็นสังคมที่ดี มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงาม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research works contained 3 objectives; 1) to study the meaning and history of Buddhist Sangha in Theravada Buddhist scriptures, 2) to study the Sangha administration and 3) to apply the principle of conditions of welfare for Sangha administration by gathering the information from the concerned texts such as Tipitaka, its commentaries and sub-commentaries etc. proposed and verified by advisor and the experts, finally composed in descriptive style. The findings were that;

The word ‘Sangha’ denotes to the assembly of Buddhist monks with well practice, that is, a community of Bhikkhus which is one among 4 Buddhist communities. Pañcavaccī or the five ascetics who attained Arahantaship guided by the Buddha was the first establishment of Buddhist Sangha model. Then in the end of first rainy retreat, the Buddha had preached Ovādapātimokkha or the Fundamental Teaching to 1,250 Bhikkhus at Veluvanaram, Rajagir city. From that time, due to the numbers of ordinary Bhikkhus were rapidly increasing in Sangha, so the Buddha decided to lay down disciplinary codes to rule Bhikkhu Sangha divided in various types in order to maintain 10 great benefits such as harmony of Sangha and so on. The main principle of this Sangha establishment was taken from Dhamma and

Vinaya taught by the Buddha for training of Sammatisangha or assembly of ordinary Bhikkhus and common people, therefore the Dhamma and Vinaya are the principal form of Sangha administration, Dhamma concerns with mental discipline while Vinaya a physical. Both of them when working together, will ensure the perfect Sangha establishment. If bringing to imply with society, both could build up a moral and orderly society with law and justice.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.17 MiB 451 27 พ.ค. 2564 เวลา 00:13 น. ดาวน์โหลด