โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of People’s Opinions on Leadership According to Bala IV of Sub-District Administrative Organization’s Leaders in Phrao District, Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยพระสุรเดช คมฺภีรปญฺโญ (อินปั๋น)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  • ที่ปรึกษา 3ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
  • วันสำเร็จการศึกษา12/11/2010
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/3146
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 262
  • จำนวนผู้เข้าชม 536

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่   (2เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และ (3)  เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนจำนวน 378 คน ภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก ตำบลสันทราย ตำบลแม่แวน ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

 

                  ผลการวิจัยพบว่า

 

              1. ประชาชนมีความคิดเห็นว่าผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีภาวะผู้นำตามหลักพละ 4  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นว่าผู้นำ อบตมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านวิริยพละ และด้านสังคหพละ สำหรับด้านปัญญาพละและด้านอนวัชชพละประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

2ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล แตกต่างกันตามรายได้ ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

3ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ 1ผู้นำไม่ค่อยมีวิสัยทัศน์ ไม่ค่อยลงพื้นที่ออกพบปะชาวบ้านเพื่อสอบถามความต้องการ สอบถามปัญหาของชาวบ้าน ไม่รู้จักการบริหารงานบุคคล 2) ผู้นำไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแลต่อความเดือดร้อนของชาวบ้าน ขาดประชุมบ่อย 3ผู้นำมีความประพฤติไม่เป็นที่น่าศรัทธาโดยการยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ทำงานขาดความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ ให้การช่วยเหลือไม่เท่าเทียมกัน 4ผู้นำไม่ค่อยให้การอบรมความรู้เรื่องอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชน ขาดการให้ความรู้เรื่องการมีส่วนร่วมในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล พูดขวานผ่าซาก มุทะลุ เอาแต่อารมณ์ ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็น พบยาก ถือตัว แข็งกระด้าง

4. ข้อเสนอแนะ คือ 1ควรแสวงหาขวนขวายในความรู้วิทยาการต่างๆ รู้จักพัฒนาตนเองให้มีความสามารถอยู่เสมอ ควรลงพื้นที่ออกพบปะชาวบ้านเพื่อสอบถามความต้องการสอบถามปัญหาของชาวบ้าน 2ควรเพิ่มความทุ่มเทเอาใจใส่ดูแลต่อความเดือดร้อน        ของชาวบ้าน หมั่นประชุมไม่ขาดการประชุม 3ควรทำตนเป็นที่น่าเคารพศรัทธาไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข มีความซื่อสัตย์ โปร่งใส  ให้การช่วยเหลือยุติธรรมเสมอภาคเท่าเทียมกัน 4ควรให้ความรู้เรื่องการประกอบอาชีพ การมีส่วนร่วมในการบริหารแก่ชาวบ้าน ควรพูดวาจาสุภาพ    รับฟังความคิดเห็น ควรจะเข้าไปหาชาวบ้านมากกว่าที่จะให้ชาวบ้านเข้ามาหาผู้นำ ควรทำตนให้เป็นคนพบง่าย ไม่ถือตัวเป็นกันเอง อ่อนน้อมถ่อมตน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The main objectives of this research are: i) to study people’s opinions on leadership according to Bala IV of Sub-District Administrative Organization’s Leaders in Phrao District, Chiang Mai Province; ii) to compare the people’s opinions on the leadership according to Bala IV of Sub-District Administrative Organization’s Leaders in Phrao District, Chiang Mai Province; and iii) to study the problems and obstacles and suggestions about leadership of Sub-District Administrative Organization’s Leaders in Phrao District, Chiang Mai Province. The sample group comprises 378 people in the area of 4 Sub-Districts, namely: Kuen Phak, San Sai, Mae Wan and Long Khod. The instrument used for collecting the data was a standard questionnaire consisting of multiple choice, measurement, and open ended questions. This analysis is carried out by using the complete program for the social science research. The collected data were analyzed by statistical techniques such as frequencies, percentages, means, and standard deviation. To test the hypotheses, t-test and One Way ANOVA were used.

               The findings of this research were concluded as follows:

               1. The overall people’s opinions on leadership according to Bala IV of Sub-District Administrative Organization’s Leaders in Phrao District, Chiang Mai Province were found at middle level. Having considered by aspects, it was rated at the high levels at two aspects namely: Viriya-bala: power of energy or diligence and Sangaha-bala: power of sympathy or solidarity, whereas Paññã-bala : power of wisdom and Anavajja-bala: power of faultlessness, blamelessness or cleanliness were noticed at middle levels.

               2. With regard to comparison of people’s opinions on the leadership according to Bala IV of Sub-District Administrative Organization’s Leaders in Phrao District, Chiang Mai Province classified by personal characteristics, it was noticed that only monthly income was found significant differences at .05 level, while factors such as sex, age, level of education, occupation and marital status were noted no significant differences even at .05 level.

               3. Regarding to problems and obstacles of leadership in the Sub-District Organization, at Phrao District, Chiang Mai Province, it was found that: i) the leaders hardly have the vision, rarely go out to meet the people to ask about their needs and their questions, and do not know how to administrate the people; ii) the leaders hardly pay attention to the people and do not often attend meetings; iii) the leaders do not have good and proper conduct by paying attention to activities, have no faith, and give no equal support to the people; iv) the leaders do not give training and knowledge to the people in order that they can better their income, they do not listen to the people’s opinions and do not allow the people to meet them.

               4. The suggestions for the improvements were noticed that: i) the leaders should learn various scientific knowledge to develop their own abilities, and should leave for an area to meet local people; ii) they should increase their attention for hearing the sufferings of the people; iii) they should behave themselves be respected, honest and transparent and be ready to support equitable justice among people; and iv) they should be provided career based knowledge and let all people participate or involve in activities organized by Sub-District administrative organizations.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6 MiB 262 23 ม.ค. 2565 เวลา 03:37 น. ดาวน์โหลด