-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Administrative Efficiency of Sangkha in the District Level of Administrative sangkha at the Sangkha Administration in Region 11
- ผู้วิจัยพระมหาวิศิต ธีรว์โส (กลีบม่วง)
- ที่ปรึกษา 1ธัชชนันท์ อิศรเดช
- ที่ปรึกษา 2สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/33
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 368
- จำนวนผู้เข้าชม 899
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 2) ศึกษาหลักพุทธธรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.881 กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 180 รูป สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการปฏิบัติงานด้านการปกครองโดยภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (µ=4.16) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการระงับอธิกรณ์ชั้นเจ้าคณะตำบลส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการปกครอง พบว่ามีปัญหาอุปสรรคทุกด้าน อันเนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจในบทบัญญัติทางวินัยสงฆ์เกี่ยวกับการระงับอธิกรณ์ด้านต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ทำให้มีความน่าเชื่อถือน้อยในกระบวนการตัดสินแก้ไขปัญหา ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะมีน้อย และมีทักษะและเทคนิคในการให้คำปรึกษาการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่ต้องได้รับการพัฒนา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน คือ อายุของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจในบทบัญญัติทางวินัยสงฆ์ ตลอดทั้งทักษะและเทคนิคการปฏิบัติงานเฉพาะด้าน
2. หลักพุทธธรรมที่ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการให้มีประสิทธิภาพนั้นใช้หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน วิริยะ ความเพียรพยายามในการปฏิบัติงาน จิตตะ การเอาใจฝักใฝ่ในการปฏิบัติงาน วิมังสา การใคร่ครวญหาเหตุผลในการปฏิบัติงานอันเป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน ส่วนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการให้มีประสิทธิภาพ ใช้หลัก Deming Circle Theory : PDCA ประกอบด้วย P (Plan) มีการวางแผน เตรียมความพร้อม D (Do) มีการลงมือปฏิบัติ ดำเนินการให้เป็นไปตามแผน C (Check) มีการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผน A (Act) มีการปรับปรุงแก้ไขตามแผนงานนั้น
3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 พบว่า ด้านการดำเนินการปกครอง มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน มีผู้รับผิดชอบดำเนินการตามรูปแบบและกระบวนการตามแผนงาน ด้านการควบคุมและส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ มีการจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานแบบอย่างการปฏิบัติงานที่ดี มีระบบการติดตามดูแลให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานชัดเจน ด้านการระงับอธิกรณ์ จัดอบรม หลักสูตรการระงับอธิกรณ์สำหรับพระสังฆาธิการโดยเฉพาะ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยและกฎหมายบ้านเมือง ด้านการแก้ไขข้อขัดข้องชั้นเจ้าคณะตำบล จัดอบรมระเบียบกฎหมาย หลักการ และกระบวนการคิดในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยและกฏหมายบ้านเมือง มีระบบเครือข่ายในการปฏิบัติงานให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องชัดเจน การควบคุมบังคับบัญชา กำหนดแนวทางข้อปฏิบัติที่ดีในการอยู่ร่วมกันที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและกฎหมายบ้านเมือง พัฒนาทักษะและเทคนิคด้านต่าง ๆ ในการควบคุมบังคับบัญชา และการตรวจการและประชุมคณะสงฆ์ มีแผนการดำเนินงานตรวจการและแผนการประชุมคณะสงฆ์ชัดเจน มีการสรุปบันทึกและรายงานการตรวจการและการประชุมที่ชัดเจนเป็นปัจจุบัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The Objectives of this research were; 1) to study the present conditions and problems of duty performance of administrative sangkha in District level at the Sangkha Administrative Region 11, 2)To study Buddhadhamma and theory related to duty performance of administrative sangkha at District level at Sangkha administrative region 11 and 3. To propose the guideline for the duty performance efficiency development of administrative monks at District level at Sangkha administrative region 11
This study was mixed methods Research which combined Qualitative and Quantitative Method Approaches. The Qualitative Method was conducted by studying the Buddhism document and theories related to the topic of study and In-depth interviewing with 25 key Informant and the 10 focus group , who were related purposively, and the data were analyzed by content analysis, which the quantitative method was conducted by using questioners with reliability score at 0.881, of 180 Simple Size and the simple descriptive statistics were included frequency, percentage, mean and standard deviation, However the quantitative method was employed to confirm and support the qualitative method.
The Research findings were as follows:
1. Propose condition of administration by overall was effective at high level, µ=4.16. The aspect with highest average score was the conflict solution at Sub-District level. All other aspects were at high level. The problems of administration were concerned with problems at all aspects, because of unclear understanding of rules and regulations in conflict resolution. This also caused untrustworthiness in justice process. Experts in laws and order were limited. The expertise in justice process needed be developed. Another factors effecting the duty performance efficiency was the age, health, knowledge in Sangkha rules of laws as well as the technique of issue handling with specific expertise.
2. Buddhadhamma that could be applied to effective Administrative Sangkha administration was Itthipadga 4; Chanta, aspiration to work, Viriya, effort to perform duty, Chitta, paying attention to work and Vimamsa, examining cause and effects of duty performance which was the responsibility. For the theory related to administrative sangkhas’ effective administration was Deming Circle Theory: PDCA: P; plan, well preparation, D; do,actual doing according the plan, C; Check, checking the result of performance according to the plan, A; act, improving performance according the plan.
3. Guidelines for performance efficiency development of administrative sangkha at Sub-District level at the Sangkha adminiostrative Region 11 found that: Administration; there was clear working plan with responsible units that was appropriate to the present situations, Sangha Affairs Controlling and Promotion; there were training, seminar and educational tour to learn from good examples and clear monitoring, morales and reward appraisal system, Conflict resolution; there was curriculum of conflict management and resolution specifically designed for administrative sangkha in order to resolve the conflicts according to Dhamma-Vinaya and the laws of the country, Conflict and Problem resolution at Sub-District level; there was training in law and order, rules and regulations, concept and principle of conflict resolution according to Dhamma-Vinaya and the laws of the country. There was networking system to help one another to solve the conflicts and problems effectively, Controlling and directing; there was clear direction for living together in harmony and by Dhamma-Vinaya and the laws of the country. While skill and controlling techniques development, Inspection and Sangkha Meeting were clearly plan for regular insp
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 21.2 MiB | 368 | 26 ม.ค. 2564 เวลา 17:59 น. | ดาวน์โหลด |