-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาธาตุ 4 กับการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Study Dhãtu 4 on Kammattãna Practice in Buddhism
- ผู้วิจัยพระครูสุเมธปทุมาภรณ์ (สุวัชชัย/สุเมโธ )
- ที่ปรึกษา 1พระราชวิมลโมลี, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณฺโณ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา03/02/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/3342
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,532
- จำนวนผู้เข้าชม 11,095
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของธาตุ 4 (2) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของกรรมฐาน (3) เพื่อวิเคราะห์วิธีการประยุกต์ใช้ธาตุ 4 ในการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีกระบวนการวิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพคือการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การบันทึกเสียง การถ่ายภาพ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัประเภท แยกแยะวิเคราะห์โดยการพรรณา
ผลการศึกษาพบว่า
1) ธาตุ 4 หมายถึง คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ในประเด็นที่ว่าส่วนใดที่เป็นของแข็ง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน สิ่งนั้นเป็นธาตุดิน สิ่งใดเป็นของเอิบอาบ สิ่งนั้นเป็นธาตุน้ำ สิ่งใดเป็นสภาพทำให้ร่างกายเร่าร้อนและอบอุ่น สิ่งนั้นเป็นธาตุไฟ สิ่งที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว สิ่งนั้นเป็นธาตุลม ส่วนความสำคัญที่เรามีธาตุทั้ง 4 นี่เองทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และนำเอาธาตุ 4 มาประยุกต์ในกรรมฐานให้มีประโยชน์หลายด้าน เช่น การพัฒนาสังคม การพัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา
2) กรรมฐาน คือ ที่ตั้งแห่งกรรมคืองานของใจ สิ่งที่ยึดหน่วงหรือผูกใจมิให้ฟุ้งซ่าน ให้สงบนิ่ง ตจปัญจกกรรมฐาน หรือมูลกรรมฐาน สาระสำคัญของการปฏิบัติกรรมฐานแนวนี้ ถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญของพระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็นงานสำหรับพัฒนาจิตโดยตรงแล้วยังมีส่วนช่วยในการพัฒนากายภาพพัฒนาบุคลิกภาพของตน พระพุทธศาสนามีลักษณะจำเพาะตัว คือ การแก้ทุกข์ทางกายทางใจ ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กล่าวคือ กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่
3) การประยุกต์ใช้ธาตุ 4 เพื่อนำมาปฏิบัตินั้น สามารถใช้เป็นหลักกรรมฐานพิจารณาตามสภาพความเป็นจริงคือ (1) ปฐวีธาตุ จัดเป็นธาตุดิน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น (2) อาโปธาตุ ส่วนที่เหลวจัดเป็นธาตุน้ำ เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย (3) เตโชธาตุ คือ เป็นธาตุที่มีลักษณะร้อนให้ความอบอุ่นหรือความเข้มแข็งแก่ร่างกาย และไม่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (4) วาโยธาตุ คือ สภาวะที่เคลื่อนไหว มีลักษณะเฉพาะ คือเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง มีหน้าที่ให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวแก่ธาตุอื่นที่เกิดร่วมกัน มีประโยชน์ในการนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม การพัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา การประยุกต์ธาตุ 4 ใช้ในในการปฏิบัติธรรม ชีวิตประจำวันในการกิน การเจริญปัญญา การพิจารณาร่างกาย ฝึกการใช้โยนิโสมนสิการ พิจารณาลมหายใจเข้า ออก และความตาย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The three objectives of this research are: (1) to study the meaning and importance of the four Dhtu (elements); (2) to study the meaning and importance of meditation, and (3) to analyze the application of the four Dhtu (elements) method in the meditation practice in Buddhism. This research is documentary research. The data were studies from Tripitaka and its commentaries as well as academic works. Finally, descriptive data analysis.
The results of this research were found:
1) The four Dhtu (elements) are earth, water, fire, and wind. On this point, the ground is hard and soft, such as the eye, ear, nose, tongue, hair, feather, nails, teeth, etc., water is flowing and holding, fire is hot, not cold, the wind is moving intensely. The importance of the four Dhtu (elements) the four Dhtu (elements): they can help us to existence and bring the four Dhtu (elements) to apply the foundation to many benefits, such as social development, mental development, and intellectual development.
2) The Kammaææhna (meditation) is the location of Kamma (action) is the work of the heart, which what holds the delay or tie-up is not distracted, to remain calm. The Tacapacakakammaææhna: the subject for meditation comprising the five constituents ending with the skin; also called Mlkammaææhna. The essence of this practice of base practice is considered to be at the heart of Buddhism. In addition to being a work for direct mental development, it also contributes to the physical development of their personality development. Buddhism has a specific characteristic: mental relief. Dhtu-kammaææhana that consider elements as emotions) defines the body into fragments to be seen only as element 4: earth, water, fire and air are formed together.
3) An application of the four Dhtu (elements) to implement it can be used as a basis for reality consideration: (1) Paæhav-dhtu: the earth-element such as eye, ear, nose, tongue, hair, feather, nails, teeth etc. (2) po-dhtu: the water-element The liquid part is watery, such as blood, lymph. Synovial fluid, snot, saliva., (3) Tejo-dhtu: the fire-element Is an element that has a warmth or strength to the body and does not warm the body, and (4) Vyo-dhtu: the air-element is a state of movement that is unique, which is moving or stagnant, responsible for providing the ability to move to other elements that are formed together. It is advantageous and essential to use in social development, mental development, and intellectual development.
The four Dhtu (elements) application is used in meditation, daily life in eating, intellectual growth, body consideration, the practice of the proper attention (Yonisomanasikra), consider breath in, out, and death.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
5909205015 | 5909205015 | 2.6 MiB | 2,532 | 1 เม.ย. 2565 เวลา 16:43 น. | ดาวน์โหลด |