-
ชื่อเรื่องภาษาไทยโปรแกรมปฏิจจสมุปบาทแบบจำลองนพลักษณ์จิตวิทยาร่วมสมัย สร้างสุขด้วยสติสตรีวัยทำงานในสังคมไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Program of Paṭiccasamupāda and Enneagram Model of Contemporary Psychology for Creating Happiness with Mindfulness for Working Women in Thai Society
- ผู้วิจัยแม่ชีโมลี เขียวสะอาด
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อดุลย์ คนแรง
- วันสำเร็จการศึกษา27/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะมนุษยศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/337
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 291
- จำนวนผู้เข้าชม 869
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีในวัยทำงานสังคมไทย 2) เพื่อสังเคราะห์โปรแกรมปฏิจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์ในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย 3) เพื่อนำเสนอผลโปรแกรมปฏิจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์ในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา และด้านนพลักษณ์จิตวิทยาร่วมสมัย 15 รูป/คน และการวิจัยกึ่งทดลองใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้โปรแกรมปฏิจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์ในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย 23 กิจกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยทำงาน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน เข้าร่วมโปรแกรมฯ 3 วัน 2 คืน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค 6’C และวิเคราะห์ข้อมูลกึ่งทดลองด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า:
1. คุณลักษณะในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีในวัยทำงานสังคมไทยมีความครอบคลุม 3 ด้านคือ 1) ด้านปฏิจจสมุปบาท พบว่า สตรีวัยทำงานมีสติรู้ทันเมื่อเกิดผัสสะไม่เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทานดับ 2) ด้านบุคลิกภาพที่พัฒนา พบว่า สตรีวัยทำงานมีการพัฒนาตนรู้ถึงแก่นของกิเลสที่มีรากฐานมาจาก ราคะ โทสะ โมหะ เข้าใจกลไกป้องกันตนเอง 3) ด้านสุขด้วยสติ พบว่า สตรีวัยทำงานมีสุขง่ายทุกข์ยาก สุขมากทุกข์น้อย และมีความสุขทางโลกเกิดปัญญาทางธรรม
2. การสังเคราะห์โปรแกรมปฏิจจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์จิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทยมีคุณลักษณะของโปรแกรม คือ 1) ค้นหาต้นตอของความทุกข์มาจากอวิชชา ความไม่รู้ เวทนา ความรู้สึกตัณหาคือความอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือ 2) สาเหตุของปัญหาทุกข์ที่เกิดขึ้น ว่าต้นเหตุของการเกิดทุกข์ คือผัสสะ ซึ่งคนทั้ง 9 ลักษณะ ก็มีผัสสะได้ทุกคน เพราะอายตนะภายในและภายนอกเป็นปัจจัย 3) การรู้จักตนเอง รู้เหตุของความทุกข์กาย ทุกข์ใจ รู้จักกิเลสในตน 4) รู้จักผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น เคารพความแตกต่างของบุคลิกภาพ และเห็นว่าคนทุกลักษณะมีความทุกข์เหมือนกัน ทำให้เกิดสติรู้และเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้น
3. ผลโปรแกรมปฏิจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์ในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย พบว่า 1) กลุ่มทดลองก่อนการทดลองมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แต่หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด 2) หลังการทดลองกับระยะติดตามของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน 3) ระยะติดตามผลระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ผลของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง 4) ผลของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และระยะติดตามผลกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study aimed 1) to analyze characteristics in contemporary psychology for creating happy by consciousness of working women in Thai society; 2) to synthesize the Dependent Origination program and Nopparat model in contemporary psychology for creating happy by consciousness of working women in Thai society; and 3) to present the results of the Dependent Origination program and Nopparat model in contemporary psychology for creating happy by consciousness of working women in Thai society. This study was a quasi-method in nature, with
a qualitative method using an in-depth interview to collect data from 15 key informants as experts in Buddhism and in Nopparat model in contemporary psychology for creating happy by consciousness, and a quasi-method using
a questionnaire to collect data from the use of a 3-day and 2-night Dependent Origination program and Nopparat model in contemporary psychology for creating happy by consciousness with 40 working women divided into two groups of
an experimental group of 20 participants and a controlled group of 20 participants. An analysis of qualitative data was using a content analysis and 6’C data synthesizing technique, and using a statistical descriptive comparison, a Paired t-test and Independent t-test to analyze quantitative data.
Results of the study were as follows:
1. The characteristics of characteristics in contemporary psychology for creating happy by consciousness of working women in Thai society it found included 1) in the Dependent Origination: working women were aware of sensations without feeling, greed and attachment; 2) in developed characteristics: working women with
a self-development realized the root of defilements of greed, hatred and ignorance, and a mechanism of self-protection; and 3) in mindful happiness: working women got more happiness and less suffering, and found secular happiness from religious wisdom.
a self-development realized the root of defilements of greed, hatred and ignorance, and a mechanism of self-protection; and 3) in mindful happiness: working women got more happiness and less suffering, and found secular happiness from religious wisdom.
2. From a synthesis of the Dependent Origination program and Nopparat model in contemporary psychology for creating happy by consciousness of working women in Thai society it found 1) identifying the causes of suffering resulted in ignorance, rue, greed, need and ego in believing; 2) the causes of suffering as
a sensation of which all people of Nopparat possessed the sensation because of internal and external senses; 3) the self-awareness as the cause of physical and mental sufferings as well as greed; and 4) understanding and emphasizing with others, respect for differences in personality and realizing that all people of different personalities faced the same suffering resulted in mindfulness and awareness of such a suffering.
a sensation of which all people of Nopparat possessed the sensation because of internal and external senses; 3) the self-awareness as the cause of physical and mental sufferings as well as greed; and 4) understanding and emphasizing with others, respect for differences in personality and realizing that all people of different personalities faced the same suffering resulted in mindfulness and awareness of such a suffering.
3. From the results of the Dependent Origination prgram and Nopparat model in contemporary psychology for creating happy by consciousness of working women in Thai society it indicated 1) regarding a controlled group, before the experiment there were
a significant number of thoughts and opinions but after the experiment, a significant number opinions were highest; 2) after and during the experiment of the controlled group it was not significantly different; 3) the following up of the experiment group and controlled group was of a significantly statistical difference of 0.01 but that of the experiment group after
the experiment was higher than before the experiment; and 4) that of the experiment group after the experiment was higher than the controlled group in comparison and the following up of the experiment group was also higher than the controlled group in comparison.
a significant number of thoughts and opinions but after the experiment, a significant number opinions were highest; 2) after and during the experiment of the controlled group it was not significantly different; 3) the following up of the experiment group and controlled group was of a significantly statistical difference of 0.01 but that of the experiment group after
the experiment was higher than before the experiment; and 4) that of the experiment group after the experiment was higher than the controlled group in comparison and the following up of the experiment group was also higher than the controlled group in comparison.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 25.53 MiB | 291 | 29 พ.ค. 2564 เวลา 06:41 น. | ดาวน์โหลด |