-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบการทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of the Rite in Theravada Buddhism and Brahmanism-Hinduism
- ผู้วิจัยพระประสาร จกฺกธมฺโม (โกฎสันเทียะ)
- ที่ปรึกษา 1พระเทพวิสุทธิมุนี วิ., รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา30/04/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/354
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 656
- จำนวนผู้เข้าชม 1,343
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาการทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการทำพลีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลการวิจัยพบว่า
การทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ด้วยการเสียสละทรัพย์เพื่อบูชาคุณ เป็นหลักธรรมเกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือการช่วยเหลือสงเคราะห์ และการบูชาคุณ ประกอบด้วย ญาติพลี คือการช่วยเหลือหมู่ญาติพี่น้อง ได้แก่ ญาติทางโลก และญาติทางธรรม อติถิพลี คือการต้อนรับแขก หรืออาคันตุกะที่มาเยี่ยมเยือน ด้วยการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ปุพพเปตพลี คือการอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญให้ เรียกว่า ปัตติทานมัย คือบุญที่เกิดขึ้นจากการให้ทานแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ราชพลี คือการบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติ ด้วยการเสียภาษีอากรให้แก่หลวง เทวตาพลี คือการอุทิศผลบุญให้แก่เทวดา เรียกว่า การบูชาเทวดา เมื่อเทวดาได้รับผลบุญที่อุทิศให้แล้ว ก็จะมาคุ้มครองเราให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
การทำพลีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนา เพื่อให้เป็นที่พึงพอใจแก่เทพเจ้า ในคัมภีร์พระเวท เรียกว่า ปัญจยัญญะ ประกอบด้วย พรหมยัญญะ คือการทำพิธีบูชาตามคำสอนในพระเวท ด้วยการสวดมนต์บูชาพระสุริยะเทพ และพระแม่คายตรี ในเวลาเช้า เที่ยง และเย็น เรียกว่า ตรีกาลสนธยา เทวยัญญะ คือการขอฝนจากเทพเจ้า ด้วยการประกอบพิธีบูชาไฟต่อหน้าพระอัคนีเทพ ปิตฤยัญญะ คือการสักการบูชาบรรพบุรุษ และบุพพการี ได้แก่ ผู้ที่มีชีวิตอยู่ และผู้ที่ดับสูญไปแล้ว ประกอบด้วย ญาติสายโลหิต ครูบาอาจารย์ ธรรมชาติ และบรรพบุรุษที่ดับสูญไปแล้ว มนุษยยัญญะ คือการอุปการะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หรือการต้อนรับแขก และอาคันตุกะผู้มาเยี่ยมเยือน ตลอดจนการสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับสังคม ภูตยัญญะ คือการไม่เบียดเบียนชีวิตของสรรพสัตว์และมนุษย์ การไม่ทำลายธรรมชาติ และการมีความกรุณาต่อผู้อื่น
จากการเปรียบเทียบพบว่า มีนัยที่เหมือนกัน คือการทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนา
เถรวาทและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดกุศลในชีวิตประจำวัน เป็นการบูชาคุณ เป็นการสงเคราะห์ผู้อื่น เป็นการทำประโยชน์แก่สังคม เป็นการเมตตาต่อสรรพสัตว์ ธรรมชาติ มนุษย์ และเป็นหนทางสู่สันติสุข ส่วนนัยที่ต่างกัน คือการทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ไม่มีการบูชาไฟ ไม่มีการสวดอ้อนวอน ไม่มีการขอพรต่อเทพ ไม่มีการขอฝนจากเทพ และไม่มีการร่ายพระเวทศักดิ์สิทธิ์ แต่การทำพลีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการบูชาไฟ มีการสวด
อ้อนวอน มีการขอพรต่อเทพ มีการขอฝนจากเทพ และมีการร่ายพระเวทศักดิ์สิทธิ์
เถรวาทและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดกุศลในชีวิตประจำวัน เป็นการบูชาคุณ เป็นการสงเคราะห์ผู้อื่น เป็นการทำประโยชน์แก่สังคม เป็นการเมตตาต่อสรรพสัตว์ ธรรมชาติ มนุษย์ และเป็นหนทางสู่สันติสุข ส่วนนัยที่ต่างกัน คือการทำพลีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ไม่มีการบูชาไฟ ไม่มีการสวดอ้อนวอน ไม่มีการขอพรต่อเทพ ไม่มีการขอฝนจากเทพ และไม่มีการร่ายพระเวทศักดิ์สิทธิ์ แต่การทำพลีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการบูชาไฟ มีการสวด
อ้อนวอน มีการขอพรต่อเทพ มีการขอฝนจากเทพ และมีการร่ายพระเวทศักดิ์สิทธิ์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Comparative Study of the Rite in Theravada Buddhism and Brahmanism-Hinduism” has three objectives: 1) to study the rite in Theravada Buddhism, 2) to study the rite in Brahmanism-Hinduism, and 3) to comparatively study of the rite in Theravada Buddhism and Brahmanism-Hinduism. The results of the study were as follows:
The rite in Theravada Buddhism means subsidizing to each other by donation money for paying respect, it is the doctrine related to the courtesy, dividing into two kinds, i.e., aiding and paying respect, they are: 1) Ñāti-Pli-offering to kinsfolks, i.e. Dhamma kinfolks and worldly ones, 2 ) Atithi-Pli-welcoming guests or visitors by building good relationship, 3) Puppapeta-Pli-dedicating merit to ancestors who deceased by making merit called ‘patti dānamaya,’ the merit arising from giving dana to the purified person, 4) Rāja-Pli-donation of money for helping the country by paying tax to the state, and 5) Devatā-Pli-dedicating of merit to deities called ‘deva-puja,’ once deities obtained merit in which dedicated to them, they would protect us to be prosperous forever.
The rite in Brahmanism-Hinduism means ritual performance as per religious belief for satisfying to divide beings in the Veda called ‘Yañña’ consist of-1) Brahma-Yañña: worship-performance in accordance with the teachings in Veda by chanting aiming at worshiping the god of fire (Suriya Deva) and the Gayatri goddess in the morning, noon, and evening called ‘tikalasandaya,’ 2) Deva Yañña: asking for rain from the divines being by fire- worshipping in front of fire god (Aggani-Deva), 3) Pitar Yañña: worshiping to ancestors and parent, i.e., relations and blood relations, master, nature and the ancestors who passed way, 4) Manussa Yañña: supporting fellowmen or welcoming guest and visitor in addition to public benefit doing, and 5) Bhuta Yañña: no harming to all living being and human being, no destroying of nature, and being compassionate to others.
From the comparison of the rite between Theravada Buddhism and Brahmanism-Hinduism, it was found that both of them have the similar point that rite is the way of practice for building wholesome thing in daily life; it is the paying respect, subsidizing other, doing public benefit, and being passionate to all living being nature and fellowmen, but they are have different point that in Theravada Buddhism, there is no fire-worshipping, no appealing, no asking for rain from deva and no holy deva chanting, but in Brahmanism-Hinduism there is fire-worshipping, appealing, asking for rain from deva, and chanting of holy Veda.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.39 MiB | 656 | 29 พ.ค. 2564 เวลา 23:34 น. | ดาวน์โหลด |