-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์ใช้หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Pārisuddhi-Sīla of Students Primary Education in Wat Omnoi School Samut Sakhon Province
- ผู้วิจัยพระวีรวัฒน์ จนฺทวณฺโณ (ปลื้มประสิทธิ์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท (อินทะโพธิ์), ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.ธวัช หอมทวนลม
- วันสำเร็จการศึกษา05/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/355
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 339
- จำนวนผู้เข้าชม 426
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร” มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบ การประยุกต์หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในการประยุกต์หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยเก็บกับจำนวนประชากร 236 คน จากการสุ่มตัวอย่างด้วยสูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
ผลการวิจัย พบว่า
1) การประยุกต์ใช้หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.03) เมื่อพิจารณาตามรายด้านที่มากที่สุด คือ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกับอาชีวปาริสุทธิศีล (x̅ =4.20) รองลงมา คือ การพัฒนาคุณธรรมการเรียนการสอนกับปาฏิโมกขสังวรศีล (x̅ =4.08) และน้อยที่สุด การจัดสิ่งแวดล้อมกับอินทรีย์สังวรศีล (x̅ =3.85)
2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของ การประยุกต์ใช้หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า นักเรียนที่มีเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และประสบการณ์ในการเรียนธรรมศึกษา ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นนักเรียนที่มีระดับชั้นปีที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) ปัญหาเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้หลักปาริสุทธิศีลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วย ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการวางแผน และการรู้บาป บุญ คุณโทษ อาจจะไม่ทำได้ไม่เต็มที่ ความอดทนของแต่ละคนมีขีดจำกัด ทำให้การยับยั้งอารมณ์เป็นไปได้ยากขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล การเชื่อฟังผู้ใหญ่ และการปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคน และการปลูกฝังของทางบ้าน บางครั้งการที่เปลี่ยนทัศนคติต้องใช้เวลาพอสมควร และการมีนักเรียนบางส่วนที่สมาธิสั้น ขาดความอดทน ทำให้ไม่มีสมาธิกับการเรียน และทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง, และข้อเสนอแนะ ควรมีการวางหลักในการพัฒนาการวางแผน เกี่ยวกับหลักธรรมเพื่อสอนให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ ควรฝึกให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความอดทน และการยับยั้งอารมณ์ ควรรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ และการปฏิบัติตามคำสอนของผู้มีพระคุณ รู้จักการเรียนรู้มารยาท และการปรับบุคลิกภาพ และควรมีการฝึกสมาธิกับผู้เรียนให้มีความอดทน ทำให้มีสมาธิกับการเรียน เรียนในห้องรู้เรื่องและมีสมาธิที่ดีกว่าเดิม
4) ผลการสัมภาษณ์ ควรมุ่งเน้นให้สอนให้นักเรียนเป็นคนดี การมุ่งเน้นไปที่ศีลธรรม รวมไปถึงระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์ที่ให้นักเรียนเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต และส่วนที่ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับที่นักเรียนจะเน้นไปที่การประกอบอาชีพ และการอยู่ให้เป็น ดังนั้น จุดหลักของปาริสุทธิศีลของนักเรียน คือ การใช้ชีวิตให้เป็น อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นคนดีของสังคม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research "The Application of the Pārisuddhi-sīla of Primary School Students at Wat Om Noi Samut Sakhon Province” pertained 3 objectives. They were (1) to study the application of Pārisuddhi-sīla; (2) to compare its application distributed by personal factors and (3) to study problems, obstacles, and solutions in the application of the Pārisuddhi-sīla of primary school students in Wat Om Noi School Samut Sakhon Province. This was a mixed method research combining between a survey quantitative approach by using questionnaires conducted with the Yamane-based 236 samples for data collection and in-depth interview was conducted with key informants for data collection in the qualitative approach.
The results were:
1) The application of Pārisuddhi-sīla of primary school students in Wat Om Noi School Samut Sakhon Province by overall view was at the high level (x̅ = 4.03). By each aspect, the best development of morality, ethics, and Ajivaparisuddi-sīla (x̅ = 4.20), followed by the moral development of teaching with the Pātimokkhasamvara-sīla (x̅ = 4.08) and the lowest one was environmental management and Indriyasamvara-sīla (x̅ = 3.85).
2) Comparing the opinions in applying of Pārisuddhi-sīla principle of primary school Students in Wat Om Noi School Samut Sakhon province showed that students with different sex, academic achievement, Buddhist activities and experience in studying Dhamma education had no statistically significant difference except students with different class levels had significantly different opinions at the 0.05 level.
3) The problems with the application of Pārisuddhi-sīla principle of the primary school students in Wat Om Noi School Samut Sakhon province consisted of the problems with development, planning and realizing sins, merit, benefit and punishment of merit were unlikely ample. Tolerance of each one was restricted allowing emotional inhibition was unlikely difficult but relying on each one. Obedience and compliance to adults were depended to each individual habits including their cultivation from home. Sometimes, their attitude shift likely consumed time. Having some students with ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder), and short of patience made them disable to concentrate on their studies and perplexed their learning. There should, by recommendation, be a principle in developing plans on Dhamma principles to teach students know learning and to train each student to be tolerant and emotion-break. They should know how to respect senior and adhere to the instructions of the grateful ones, known to learn etiquettes and improve personality. There should be meditation classes to equip students with tolerance streaming concentration with learning in the classes without perplexity but better concentration.
3) The problems with the application of Pārisuddhi-sīla principle of the primary school students in Wat Om Noi School Samut Sakhon province consisted of the problems with development, planning and realizing sins, merit, benefit and punishment of merit were unlikely ample. Tolerance of each one was restricted allowing emotional inhibition was unlikely difficult but relying on each one. Obedience and compliance to adults were depended to each individual habits including their cultivation from home. Sometimes, their attitude shift likely consumed time. Having some students with ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder), and short of patience made them disable to concentrate on their studies and perplexed their learning. There should, by recommendation, be a principle in developing plans on Dhamma principles to teach students know learning and to train each student to be tolerant and emotion-break. They should know how to respect senior and adhere to the instructions of the grateful ones, known to learn etiquettes and improve personality. There should be meditation classes to equip students with tolerance streaming concentration with learning in the classes without perplexity but better concentration.
4) Interview results revealed the focus should be on teaching students to be good, emphasizing morality, disciplinary and rules-oriented that formed students a good adult in future. As of daily life spending part for students, professions should emphasized and know how to live. Therefore, the core of Pārisuddhi-sīla for students was to know how to lead life, living happily in society and to be a good person of society.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.4 MiB | 339 | 31 พ.ค. 2564 เวลา 17:33 น. | ดาวน์โหลด |