โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    เจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist's attitude toward life and death in the khaokala group, phranon subdistrict, mueang district, nakhonsawan province
  • ผู้วิจัยนางสาวธนภรณ์ ตั้งเพชรศิริพงษ์
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร. เริงชัย หมื่นชนะ
  • วันสำเร็จการศึกษา07/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาชีวิตและความตาย
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/356
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 133
  • จำนวนผู้เข้าชม 321

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นตามเจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิต และความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมต่อชีวิตและความตายกับปัจจัยเจตคติของพุทธศาสนิกชนในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  4) เพื่อนำเสนอปัญหา  อุปสรรค  และข้อเสนอแนะเจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
                ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                                                                 
               
1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ เจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา  ตำบลพระนอน  อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  คือหลักธรรมต่อชีวิตและความตาย ได้แก่ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเจตคติของพุทธศาสนิกชน ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรม พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
               2. การเปรียบเทียบ เจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คือหลักธรรมต่อชีวิตและความตาย มีด้านอนิจจัง ด้านทุกขัง ด้านอนัตตา จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม  และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม  ไม่ต่างกันซึ่งปฏิเสธสมมติฐานและไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ เจตคติของพุทธศาสนิกชน ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรม จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานและไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
            3. การวิเคราะห์แสดงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมต่อชีวิตและความตายกับปัจจัยเจตคติของพุทธศาสนิกชน คือ ความสัมพันธ์ต่อหลักธรรมต่อชีวิตและความตาย ได้แก่ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พบว่า โดยรวม ทุกคู่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และความสัมพันธ์ต่อปัจจัยเจตคติของพุทธศาสนิกชน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรม พบว่า โดยรวม ทุกคู่   มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ.01 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
            4. ข้อเสนอแนะคือ ควรพิจารณาถึงชีวิตให้เข้าใจความเป็นไปของการเปลี่ยนแปลงของสัง    ขารร่างกายว่าชีวิตเป็นเรื่องของการปรุงแต่งตามธรรมชาติเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามธรรมชาติ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ควรพิจารณาถึงความตายเป็นเรื่องปกติที่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตต้องพบเจอ ถือเป็นเรื่องที่ต้อง    เตรียมพร้อมอย่างไม่ประมาทในขณะที่มีชีวิตอยู่ ควรพิจารณาให้เข้าใจกับความจริงของชีวิตทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วก็ต้องตายทุกคน เพื่อไม่ให้รู้สึกหวาดกลัวความตาย หรือการพลัดพรากมากเกินไปหมั่นปฏิบัติธรรมตามจังหวะและโอกาสที่มี โดยไม่ปล่อยเวลาของชีวิตให้สูญเปล่า และใช้ชีวิตในปัจจุบันทำประโยชน์ให้ผู้อื่น และรักษาจิตใจของตนเองให้อยู่ในธรรม ด้วยความไม่ประมาท หมั่นทำความดีไม่ทำบาปต่อชีวิตผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดูแลกาย และใจเราให้พร้อมเสมอ และพิจารณาไตรลักษณ์ อยู่เสมอกับชีวิตประจำวัน  และให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดาของทุกชีวิตต้องเจอ  ซึ่งสอด  คล้องกับกระแสสังคมในปัจจุบัน ที่มีชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยเพื่อปฏิบัติธรรมกับสำนักปฏิบัติชื่อดังในประเทศไทย เช่น วัดป่าถ้ำวัวสูญญตาราม จ.แม่ฮ่องสอน มีชาวต่างชาติ 140 กว่าประเทศ มาปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมยอดนิยมของชาวต่างชาติ จะเห็นได้ว่า ความเจริญทางวัตถุของชาวต่างชาติได้พบในชีวิตประจำวัน ไม่สามารถช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ และความตายไปได้ จึงต้องแสวงหาความความสุข และความหลุดพ้นจากสภาพของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเห็นหนทางแห่งความดับทุกข์ทั้งปวง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The objectives of this research were 1) to study of the buddhist's attitude toward life and death in the khaokala group, Phranon subdistrict, mueang District, Nakhonsawan Province 2) to compare opinions on the buddhist's attitude toward life and death in the Khaokala group, Phranon subdistrict, mueang District, Nakhonsawan Province, 3) to analyzes the relationship between the dhamma principles to the life and death with factor of the attitude of the Buddhists in Khaokala group, subdistrict, mueang District, Nakhonsawan Province and 4) to present problems, obstacles and suggestions of the Buddhist's attitudes towards life and death in Khaokala group, Phranon District, Nakhonsawan  Province

                The research found that                                                                                                                       
                
1) Levels of opinion about buddhist's attitude toward life and death in the khaokala group, phranon subdistrict, mueang district, nakhonsawan province. Principle of life and death was three common characteristics consist of impermanence suffering and soulless. Overall was medium level. And the attitude of Buddhists was cognitive behavioral and emotions at high level.
               2) Comparison of buddhist's attitude toward life and death in the khaokala group, phranon subdistrict, mueang district, nakhonsawan province. Principle of life and death consist of impermanence suffering and soulless. Divide by age, average income per month, education, duration of participation, frequency of participation. Findings by age, average income per mount, duration of participation, the frequency of participation was not different, which denied the hypothesis and did not meet the hypothesis. Divide by education was different. There was statistically significant at .05. According to the hypothesis. And the attitude of Buddhists was cognitive behavioral and emotions divide by age, average income per month, education, duration of participation, frequency of participation. Findings by age, average income per mount, education, duration of participation, the frequency of participation was not different, which denied the hypothesis and did not meet the hypothesis.
               3) The analysis shows the correlation coefficient between life and death principles of Buddhist's attitude. The relationship to the principle of life and death is three common characteristics consist of impermanence suffering and soulless. Found that all couples had positive relationship. There was statistically significant at .01 Aaccording to the hypothesis. The attitude of Buddhists was cognitive behavioral and emotions found couples had positive relationship. There was a statistically significant at .05 and .01 Aaccording to the hypothesis.
               4) The suggestion is to consider life in order to understand the possibility of the change of the physical that life is a matter of natural remedies occurring. Consider death is a common thing that every living thing must meet is considered to be prepared not to underestimate while living. It should be understood that the life of every living being is death for not feel fear of death. Keep practicing the dharma and find opportunities without wasting your time and wasting your time and living in the present to benefit others and keep your mind in the right place with the negligence. Do good, do not sin against other people's lives. And consider three common characteristics always on a daily life. And seeing the change is a common occurrence of all life. This is in line with current society. There are foreigners in Thailand to practice dhamma with the famous practice in Thailand. For example Wat Pa Tam Wua Forest Monastery, Maehongson Province. There are more than 140 foreigners who come to Dhamma Meditation center, which is the most popular meditation center of foreigners. It can be seen that the material prosperity of foreigners has been found in everyday life. Can not help out of suffering and death so must seek happiness. Out of the state of the three common characteristics consist of impermanence suffering and soulless for out of suffering.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.04 MiB 133 29 พ.ค. 2564 เวลา 23:46 น. ดาวน์โหลด