-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษWaste Management Using Alternative Energy of Tha-manao Sub-District Administrative Organization, Chai Badan District Lopburi Province
- ผู้วิจัยนางขนิษฐ ชีวะประไพ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
- วันสำเร็จการศึกษา08/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/3666
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 26
- จำนวนผู้เข้าชม 19
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยการบริหารจัดการ ปัจจัยอิทธิบาท 4 และการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกของประชาชนในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 2. ศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการ ปัจจัยอิทธิบาท 4 กับการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชากรในพื้นที่ จำนวน 372 คน ใช้วิธีเฉพาะเจาะจงตามจำนวนที่มีอยู่จริง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 9 ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบทนำเสนอเป็นความเรียงเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหา ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test แบบ One Way ANOVA) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการ ปัจจัยอิทธิบาท 4 กับการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือก ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ ใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment-Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารจัดการ ปัจจัยอิทธิบาท 4 และการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด ตามลำดับ ( X bar= 4.18, S.D. =0.516), (X bar= 4.36, S.D. =0.420), (X bar= 4.35, S.D. =0.503))
2. การเปรียบเทียบเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ในด้านเพศ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ ไม่แตกต่างกัน แต่ด้านอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับประชาชนที่มีอายุ 31-35 ปี และ อายุ 41 ปี ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ ประชาชนที่มีอายุ 26-30 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับประชาชนที่มีอายุ 41 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และประชาชนที่มีอายุ 36-40 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับประชาชนที่มีอายุ 41 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการ ปัจจัยอิทธิบาท 4 กับการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาล จังหวัดลพบุรี พบว่า ในภาพรวมปัจจัยการบริหารจัดการ และปัจจัยอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลาง (R=0.501) และ (R=0.580) ตามลำดับ กับการบริหารจัดการขยะโดยใช้พลังงานทางเลือกขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research paper were: 1. To study the opinion level of management factors, Iddhipāda 4 factors and waste management using alternative energy of community in Tha-Manao Sub-district Administrative Organization, Chai Badan District, Lopburi Province, 2. To compare the opinion levels on waste management using alternative energy of community in Tha-Manao Sub-district Administration Organization, Chai Badan District, Lopburi Province and 3. To study the correlations of management factors, Iddhipāda 4 factors and waste management using alternative energy of Tha-Manao Sub-District Administrative Organization, Chai Badan District, Lopburi Province.
Methodology was mixed methods: The quantitative method collecting data from 372 samples by random sampling, from the population of 5,210 people who had voting rights. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviations and correlation of management factors, Iddhipāda 4 factors and waste management of Tha-Manao Sub-district Administrative Organization, Chai Badan District, Lopburi Province. The qualitative method, data were collected from 9 key informants by in-depth-interviewing and analyzed by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. The overall opinions on level of management factors from community were at the high level (X bar= 4.18, S.D. = 0.516), Iddhipāda 4 factors was at the highest level (X bar= 4.36, S.D. = 0.420), waste management using alternative energy of Tha-Manao Sub-district Administrative Organization, Chai Badan District, Lopburi Province was at the highest level (X bar= 4.35, S.D. = 0.503).
2. Comparison of opinions on waste management by using alternative energy of Tha Manao Sub-district Administrative Organization Chai Badan District Lopburi Classified by personal factors, it was found that in terms of gender, marital status, average monthly income, and occupation, there were no differences, but in terms of age, people under the age of 25 had different opinions, people between the ages of 31 and 35, and those aged 41 and up had different opinions. The persons aged 26-30 years had different attitudes than the people aged 41 years, with statistical significance at 0.05 and 0.01. People aged 36-40 years old had different attitudes than those aged 41 years old, with statistical significance of 0.01
3. The relations between management variable, Iddhipāda 4 Factors and Waste Management by using alternative energy of Tha Manao Sub-district Administrative Organization, Chai Badan District Lopburi Province moderately optimistic. (R=0.501) and (R=0.580) correspondingly Tha Manao Sub-district Administrative Organization's waste management with statistical significance at 0.01
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6301204109 | 6301204109 | 6.36 MiB | 26 | 19 พ.ค. 2565 เวลา 17:26 น. | ดาวน์โหลด |