-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาแนวคิดเรื่องการกล่าวเท็จในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Concept of Lying in Theravada Buddhism and Roman Catholic Christianity
- ผู้วิจัยพระจีรศักดิ์ ติกฺขวีโร (บุญกาวิน)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ณัทธีร์ ศรีดี
- ที่ปรึกษา 2พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ดร
- วันสำเร็จการศึกษา28/04/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/371
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 924
- จำนวนผู้เข้าชม 272
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการกล่าวเท็จในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการกล่าวเท็จในคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการกล่าวเท็จในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ไบเบิล รวมทั้งหนังสือวิชาการ งานวิจัย และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์และเปรียบเทียบ
ผลการวิจัยพบว่า
การกล่าวเท็จในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การพูดเท็จ พูดไม่จริงหรือพูดตรงข้ามกับความจริงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการโกหก กล่าวคือ การกล่าวทางวาจา และการแสดงออกทางกาย ซึ่งพระพุทธเจ้าให้พิจารณาถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
การกล่าวเท็จในคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก หมายถึง การโกหก การพูดตรงกับความจริง การกล่าวเท็จมีอยู่ 4 ประเภท คือ 1) การพูดให้ร้าย 2) การหลอกลวง 3) คำหลอกลวง 4) มุสา การกล่าวเท็จนั้นเพื่อทำให้เสียทรัพย์ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น บาปเหล่านี้เป็นความไม่ซื่อสัตย์ขั้นพื้นฐานต่อพระเจ้า หรือการละเมิดพันธสัญญา
จากการเปรียบเทียบพบว่า ในทัศนะของพระพุทธศาสนา เถรวาทกับคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีนัยที่สอดคล้องที่ว่าเป็นการกล่าวถ้อยคำที่ไม่เป็นจริงโดยมุ่งเพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจคลาดเคลื่อนตามประสงค์ของผู้พูด ทำให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ ส่วนนัยความหมายที่ต่างกันพระพุทธศาสนากล่าวถึงความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบของการกล่าวเท็จ ส่วนคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกหมายรวมเอาความเท็จทั้งหมดที่ทำให้คนเข้าใจผิด และการกล่าวเท็จที่ร้ายแรงที่สุดคือการกล่าวเท็จในคำสอนทางศาสนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis has objectives: 1) to study the telling a lie in Theravada Buddhism, 2) to study the telling a lie in Roman Catholic Christianity, and 3) to comparatively study of the telling a lie in Theravada Buddhism and Roman Catholic Christianity. This thesis is of documentary research by collecting information from Tipitaka, Bible including research and documents and the related researches, then analyzing with comparative method.
The results of the study were as follows:
Lying in Theravada Buddhism refers to telling a lie, a falsehood, untrue saying or saying opposite the truth dividing into two types in accordance with lying, i.e., verbal and bodily lie-telling, which the Buddha let ones consider wholesome and unwholesome things as the core concept.
Lying in Roman Catholic Christianity refers to a lie and falsehood saying, there are four types of telling a lie 1) slander, defamation 2) deceit 3) deceiving saying, 4) falsehood speech. Telling a lie aims at letting one to lose their assets, which cause trouble to other. These sins are unfaithful to God or break the covenant.
From the comparison, it was found that both Theravada Buddhism and Roman Catholic Christianity have the similar point of view that telling a lie is that of untrue saying aiming at misguiding others from the will of the speaker that cause other lose their dignity, the different point of them was that Theravada Buddhism mentions of the perfection of the components of telling a lie, whereas Roman Catholic Christianity means all of falsehood saying that misguides others, ant the most dangerous telling is the falsehood saying in the teaching of religion.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.81 MiB | 924 | 30 พ.ค. 2564 เวลา 19:38 น. | ดาวน์โหลด |