โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEducational Institution Administration in Era 4.0 based on Iddhipada IV under the Office of Secondary Education Service Area 30
  • ผู้วิจัยพระสุทธิพงษ์ สุเมธโส (งอกลาภ)
  • ที่ปรึกษา 1เจ้าอธิการบุญช่วย โชติวํโส, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสโมธานเขตคณารักษ์, ดร.,
  • วันสำเร็จการศึกษา09/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/375
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 381
  • จำนวนผู้เข้าชม 880

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 จำแนกตามตำแหน่งการทำงาน วุฒิการศึกษา และอายุ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 325 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .98 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test แบบ One-Way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันตามหลักอิทธิบาท 4 และ ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลักอิทธิบาท 4

2. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามตำแหน่งการทำงาน วุฒิการศึกษา และอายุ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า มีดังนี้ 1) ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรมีการวางแผนในการส่งเสริมและชี้แนะแนวทางให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริตและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันตามหลักอิทธิบาท 4 ควรมีความพอใจในการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในภายในสถานศึกษา 3) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง และจะต้องเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ความสามารถให้มากยิ่งขึ้น 4) ด้านการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรเน้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย สามารถเข้าถึงได้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 5) ด้านการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรมีการวางแผนจัดโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการโรงเรียนสีเขียว โครงการรักษ์โลก รักษ์พลังงาน 6) ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ควรมุ่งเน้นการประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The aims of this research were: 1) to study the educational institution administration in the era 4.0 based on Iddhipada dhamma IV (iddhipāda, path of accomplishment) of the schools under the Office of Secondary Education Service Area 30; 2) to compare the samples’ opinions towards the mentioned administration, classified by the sample personal factors: position, education and age; 3) to find out the ways to develop the foresaid administration. The samples of this mixed method research were 325 of educational administrators and teachers. The sample size was determined by using the method of Krejcies and Morgan. The target group included 20 samples, selected by purposive sampling. The tools used in data collection were a questionnaire with its reliability value of .98 and in-depth interview. The following statistics: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, f-test (One Way ANOVA) were used in the data analysis.

  The research results were as follows:

 

1) The mean scores of the educational institution administration in the era 4.0 of the schools under the Office of Secondary Education Service Area 30 in both overall and studied aspects were at a high level. The highest can be seen in that of the aspect ‘the support of teacher and educational personnel development based on Iddhipada IV’ followed by that of ‘ development of student quality and educational management to increase competitive capacity  based on Iddhipada IV’, ‘development of a management system and encouragement of all sectors to participate in educational management based on Iddhipada IV’ and ‘educational management to increase the quality of life and environmental friendliness based on Iddhipada IV’.

2) Classified by the samples’ personal factors (position, education and age), the comparative scores of the samples’ opinions towards the aforesaid administration were different with the statistical significance level at .01.

3) Guidelines for the development of educational management in the era 4.0, according to on Iddhipada IV are as follows: 1) in the aspect of educational management for security in accordance with Iddhipada IV, there should be a plan for promoting and guiding students to be honest. and to have ideal of anti-corruption; 2) in the aspect of the development of learners' quality and promotion of educational management in order to create competitiveness in accordance with Iddhipada IV, there should be satisfaction of bringing electronic media and modern technology to use within educational institutions, 3) in the aspect of promotion and development of teachers and the school according to Iddhipada IV, teachers should be encouraged to develop themselves, to follow the news of the country and increase their skills, knowledge and capacity continuously; 4) in terms of expanding opportunities for access to educational services and learning with quality according to Iddhipada IV, the development of digital technology for education should be focused; lifelong learning, flexible learning, learning accessible with no time limit and location should be created; 5) in terms of educational management for enhancing the quality of life that is friendly to the environment according Iddhipada IV, the projects related to the conservation of nature and the environment such as green school, world conservation and energy conservation should be planned; 8) in the aspect of the development of management system and promotion for all sectors to participate in educational management according to Iddhipada IV: coordination, promotion, support for parents, communities and all related agencies should be focused on taking part in improving the quality of education.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.87 MiB 381 30 พ.ค. 2564 เวลา 21:05 น. ดาวน์โหลด