โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์การเผยแผ่คำสอนของพระสงฆ์ไทยที่มีผลกระทบต่อพระธรรมวินัย : ศึกษาเฉพาะกรณีพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Propagating the Teaching of Thai Buddhist Monk Affecting the Dhamma-Vinaya (Doctrine and Discipline) : A Case Study of Phra Kukrit Soṭthiphalo
  • ผู้วิจัยพระเกรียงไกร ฐานวุฑฺโฒ (สุวรรณคำ)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.อธิเทพ ผาทา
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.แสวง นิลนามะ
  • วันสำเร็จการศึกษา02/05/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/3803
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 853
  • จำนวนผู้เข้าชม 10,168

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์การเผยแผ่คำสอนของพระสงฆ์ไทยที่มีผลกระทบต่อพระธรรมวินัย : ศึกษาเฉพาะกรณีพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่คำสอนของพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ที่มีผลกระทบต่อพระธรรมวินัย 3) เพื่อวิเคราะห์การเผยแผ่คำสอนของพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ที่มีผลกระทบต่อพระธรรมวินัย

ผลการวิจัย พบว่า พระพุทธเจ้ามีวิธีในการสั่งสอนบุคคลที่หลากหลายวิธี โดยจะเลือกเฟ้นบุคคลและหลักธรรม รวมทั้งวิธีในการสั่งสอนที่แตกต่างกันออกไป แม้จะใช้หลักธรรมเดียวกัน แต่เมื่อต่างบุคคล ก็มีการปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การแสดงธรรมในแต่ละครั้ง พระองค์จะแสดงธรรมตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ฟัง และแสดงไปตามระดับความลุ่มลึกของเนื้อหา รวมทั้งพระองค์ยังใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ยกตนข่มท่าน และไม่แสดงธรรมเพื่อเสียดสีใคร ๆ

ส่วนในกรณีพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ได้ศึกษาและเผยแผ่คำสอนในส่วนที่เชื่อและเข้าใจว่าเป็นพุทธวจนะล้วน โดยตัดคำสอนส่วนที่เข้าใจว่าไม่ใช่พุทธวจนะออก เช่น พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์อรรถกถา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมทั้งคำสอนที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นต้น ซึ่งในเรื่องนี้ ผู้วิจัยได้คัดเลือกเพื่อนำมาวิเคราะห์ทั้งหมด 8 ประเด็น มีดังนี้ พระวินัย 3 ประเด็น คือ 1. การสวดภิกขุปาติโมกข์ 150 ข้อ 2. พุทธบัญญัติให้ภิกษุฉันอาหารมื้อเดียว 3. การบวชสตรีเป็นภิกษุณีเถรวาท พระสูตร 2 ประเด็น คือ 1. ผู้ใกล้เสียชีวิตอินทรีย์จะแก่กล้า 2. การพยากรณ์มรรคผลและคติที่ไปผู้เสียชีวิต พระอภิธรรม 2 ประเด็น คือ 1. พระอภิธรรมเป็นคำแต่งใหม่ของสาวก 2. สภาพนิพพานหลังพระอรหันต์ดับขันธ์ และคัมภีร์อรรถกถา 1 ประเด็น คือ 1. การตัดคัมภีร์อรรถกถาทิ้งเพราะเป็นคำสาวกที่ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์

ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ทั้ง 8 ประเด็น มีดังนี้ พระวินัย 3 ประเด็น พบว่า 1. ภิกษุต้องสวดภิกขุปาติโมกข์ 227 ข้อ 2. ตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงเที่ยงวัน ภิกษุจะฉันอาหารกี่ครั้งก็ได้ ส่วนภิกษุผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์จะฉันอาหารได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น 3. สตรีไม่สามารถบวชเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ พระสูตร 2 ประเด็น พบว่า 1. ไม่มีพุทธดำรัสผู้ใกล้เสียชีวิตอินทรีย์จะแก่กล้า 2. การพยากรณ์มรรคผลและคติที่ไปผู้เสียชีวิตเป็นการอวดอุตริมนุสธรรม พระอภิธรรม 2 ประเด็น พบว่า 1. พระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์ 2. อนุปาทิเสสนิพพานมีสภาพดับขันธ์ 5 และคัมภีร์อรรถกถา 1 ประเด็น พบว่า 1. คัมภีร์อรรถกถาไม่สมควรตัดทิ้งเพราะเป็นคำอธิบายพระพุทธพจน์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผยแผ่คำสอนมี 3 ประเด็น ดังนี้ 1. ผลต่อพระธรรมวินัย คือ ลดทอนความน่าเชื่อถือต่อคำสอนที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นต้น รวมทั้งทำให้ความหมายพระธรรมวินัยคลาดเคลื่อนไปจากเดิม 2. ผลต่อคณะสงฆ์ คือ ทำให้พุทธบริษัทเข้าใจผิดต่อคณะสงฆ์ว่าเผยแผ่สัทธรรมปฏิรูป รวมทั้งทำให้เกิดความเห็นแตกต่างในคณะสงฆ์ 3. ผลต่อสังคมฆราวาส คือ ทำให้อุบาสกอุบาสิกาเข้าใจความหมายพระธรรมวินัยคลาดเคลื่อน เกิดความเห็นต่างในสังคมฆราวาส ดังนั้น เมื่อมีภิกษุผู้เผยแผ่คำสอนที่คลาดเคลื่อนไปจากพระธรรมวินัย ก็จะส่งผลต่อพุทธบริษัทผู้ไม่รอบรู้ในพระสัทธรรม ให้เข้าใจผิดและคล้อยตามไปว่า คำสอนเหล่านี้ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระศาสดา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research entitled “an analytical study of propagating the teaching of Thai Buddhist Monk affecting the Dhamma-Vinaya (Doctrine and Discipline) : a cases study of Phra Kukrit Sothiphalo”, has three objectives; 1) to study the propagating Buddha’s teaching appeared in Tipiṭaka, 2) to study the propagation of teachings of Phra Kukrit Sothiphalo affecting Dhamma-Vinaya, and 3) to analyze the propagation of teachings of Phra Kukrit Sothiphalo affecting Dhamma-Vinaya.

The result of research found that the Lord Buddha had a variety of methods to teach people. He had chosen the person and principles, including the different methods of teaching. Even though using the same principle but it’s different person, He had adjusted the method of preaching the Dhamma suiting to each person. In the preaching of Dhamma, He has preached according to the ability level of the listeners’ learning. His instruction is regulated and gradually advanced, he also used polite words, and did not exalt himself while contenting others.

In the case of Phra Kukrit Sothiphalo has studied and propagated the teaching of what he believed and understood they were purely Buddha’s words. He has cut off the part of teaching that is not the Buddha’s words that is Abhidhamma Piaka, Aṭṭhakathā, and other scriptures including the teachings that do not begin with the word “O bhikkhus”. In this case, the researcher collected to analyze eight issues, e.g. it is divided into the three issues of Vinaya Piaka as follows: 1) the 150 rules of Bhikkhu Pāṭimokhas, 2) the Buddha’s rules commons Bhikkhu eats only one meal, and 3) the ordination of women as a Bhikkhuni. In the case of Suttanta Piaka has 2 issues; 1) the person who was nearby death, his faculties were strong, and 2) the exposition of Magga, Phala, and the destination of a dead person. In the case of Abhidhamma Piaka has 2 issues; 1) Abhidhamma is composed of the disciples’ words, and 2) the state of Nibbāna after Arahanta’s passing away. And there is 1 issue of Aṭṭhakathā; 1) the cutting off the Commentaries because it is new compassion conflicting with the Buddha’s words. 

The results of the analysis of eight issues are as follows; the three issues of Vinaya found that 1) Bhikkhus have to recite the 227 rules of Bhikkhu Pāṭimokhas, 2) Bhikkhus can take food any time from dawn until midday, except a Bhukkhī who is one-sessioner’s practice, and 3) it cannot take ordination of Theravada Bhukkhī in the present time. There are two issues in Suttanta Piaka, that are; 1) there are not the Buddha’s words about the person who was nearby death, his faculties were strong, and 2) the exposition of Magga, Phala, and destination of the dead person is falsely claiming supernormal abilities. There are two issues in Abhidhamma Piaka, that are; 1) Abhidhamma is the Buddha’s words, and 2) Anupādisesa-nibbāna is without any substratum of life remaining. and one issue in the Commentaries found that it should not be cut off because it is an explanation of Buddha’s words.

There are three affections of propagating teachings; 1) the effect on the Dhamma-Vinaya is decreased credibility of teachings in Tipiṭaka and Aṭṭhakathā, etc., and it makes the misunderstanding of the meaning of the original texts. 2) effect on Sangha Community is to make Buddhist misunderstand to propagate the reforming the true Dhamma, and it is the cause of different opinions in the Buddhist Sangha community. 3) effect on laity society is to make the Buddhists misunderstand the meaning of the Dhamma-Vinaya, which is caused by the different opinions in laity society. So, when a Buddhist monk who is a propagator of the Buddha’s teaching misunderstands the Dhamma-Vinaya, it affects Buddhists who do not know the true Dhamma and misunderstand the meaning of these teachings are from the Buddha’s words.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5901201027 5901201027 3.69 MiB 853 12 พ.ค. 2565 เวลา 23:06 น. ดาวน์โหลด