-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministration According to the four Iddhipāda in the Basic Education Institutes Under the office of Kalasin Primary Education Service Area II
- ผู้วิจัยพระมหาวิทวัฒน์ วิวฑฺฒนเมธี (จันทร์เต็ม)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสโมธานเขตคณารักษ์, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.สุนทร สายคำ
- วันสำเร็จการศึกษา27/02/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/383
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 260
- จำนวนผู้เข้าชม 421
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ระเบียบการวิจัยวิธีวิทยาแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 304 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test) การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน และครูผู้สอน จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ คือ ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักจิตตะ รองลงมา คือ ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักวิมังสา และด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักวิริยะ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักฉันทะ
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. แนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักฉันทะ ควรจัดให้มีการประชุมสัมมนาส่งเสริมการสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรักและความเอาใจใส่การปฏิบัติหน้าที่ 2) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักวิริยะ ควรมีความเพียรพยายามในการจัดสรรหางบประมาณเพื่อให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการภาระ 3) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักจิตตะ ควรเอาใจใส่ในการกำหนดนโยบายและแผนงานในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักวิมังสา ควรมีการคิดวิเคราะห์กำหนดนโยบายและแผนงานในการบริหารจัดการภาระงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The aims of this research were: 1) to study the conditions of the administration based on IV Iddhipada-dhamma (Pāli: iddhipāda, path of accomplishment) in the basic education institutes; 2) to compare the opinions of the samples towards the administration based on IV Iddhipada-dhamma in the basic education institutes; 3) to study the ways to develop the administration based on IV Iddhipada-dhamma in the basic education institutes. In this mixed method research, the samples of its quantitative study included 304 of educational administrators and teachers, selected by means of Stratified Random Sampling and Lottery. The tool used in this stage was the questionnaire with its reliability value of .86 and the statistics used in the data analysis were: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test and f-test. The target samples used in the qualitative study included 10 educational administrators and 10 teachers, selected by Purposive Sampling and the interview was used to collect the data in this process before the obtained data were interpreted by the descriptive analysis.
The research results were as follows:
1) The mean score of the conditions of the administration based on IV Iddhipada-dhamma in the basic education institutes in overall was at a high level. In the study of all aspects, the highest score can be seen in that of ‘Educational institute administration based on Citta (thoughtfulness)’, followed by ‘Educational institute administration based on Vīmaṁsā (investigation)’, ‘Educational institute administration based on Viriya (energy)’ and ‘Educational institute administration based on Chanda (aspiration)’ respectively.
2) The statistic scores in overall and studied aspects of the comparison of the opinions of the samples towards the administration based on IV Iddhipada-dhamma in the basic education institutes, classified by the samples’ personal factors: position, education and working experiences were different with the statistical significance level of .01. This accepted the set hypothesis.
3) The ways to develop the administration based on IV Iddhipada-dhamma in the basic education institutes are that 1) in educational institute administration based on Chanda, the meeting of work encouragement to the personnel should be organized; 2) in educational institute administration based on Viriya, the budget raising should be diligently managed and is adequate the administrative burden; 3) in educational institute administration based on Citta, the policy and plan determination in learning management for the student development should be carefully taken in account; 4) in educational institute administration based on Vīmaṁsā, the policy and plan determination in workload administration should be most effective.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.65 MiB | 260 | 30 พ.ค. 2564 เวลา 22:26 น. | ดาวน์โหลด |