-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์อุดมคติชีวิตของพุทธทาสภิกขุ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Buddhadãsa Bhikkhu’s Ideal Life
- ผู้วิจัยนาย ยุทธการ สุดสุข
- ที่ปรึกษา 1พระมหา ดนัยพัชร คมฺภีรปญฺโญ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน
- วันสำเร็จการศึกษา30/04/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/388
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 681
- จำนวนผู้เข้าชม 243
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์อุดมคติชีวิตของพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาอุดมคติชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาอุดมคติชีวิตของ พุทธทาสภิกขุ (3) เพื่อวิเคราะห์อุดมคติชีวิตของพุทธทาสภิกขุ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
จากการศึกษาพบว่า อุดมคติชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นแนวคิดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์เข้าถึงความดีสูงสุดคือพระนิพพาน ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 กระทั่งเห็นความจริงของชีวิตที่อิงอาศัยกันตามกฎธรรมชาติ (อิทัปปัจจยตา) ส่วนอุดมคติชีวิตของพุทธทาสภิกขุนั้น เป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิตตามปณิธาน 8 ประการ ได้แก่ ส่งเสริมให้มนุษย์เข้าถึงความดี ในศาสนา ส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์ในระหว่างศาสนาเดียวกันและต่างศาสนา และนำจิตของชาวโลกออกจากแนวคิดวัตถุนิยมเรื่อง กิน กาม เกียรติ เพื่อให้มนุษย์เข้าถึงความดี (นิพพาน) ทั้งระดับต้นและระดับสูงสุดในปัจจุบัน
จากการวิเคราะห์อุดมคติชีวิตของพุทธทาสภิกขุ พบว่า หลักการมีนัยยะสอดคล้องกับแนวคิดอุดมคติชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท ส่วนวิธีการพุทธทาสภิกขุได้อธิบายประยุกต์ ด้วยการใช้นามบัญญัติทางศาสนาร่วมกันหรือใช้นามบัญญัติใหม่แทนหลักการเดิม และใช้การตีความด้วยทฤษฎีภาษาธรรมเป็นสื่อกลางในการสร้างความความเห็นให้ถูกต้อง เพื่อให้มนุษย์เข้าถึงความดีทั้ง 2 ระดับอันเป็นเป้าหมายในปัจจุบัน อุดมคติชีวิตของพุทธทาสภิกขุนั้น มีคุณค่าทั้งด้านวิชาการและด้านการปฏิบัติตามหลักศาสนาในสังคมปัจจุบันที่มีความเป็นพหุนิยมทางศาสนา เพราะส่งเสริมให้มนุษย์ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้และปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำสอนในศาสนาของตนๆ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled ‘An Analytical Study of the Buddhadãsa Bhikkhu’s Ideal Life’ has three objectives: 1) to study ideal life in Theravãda Buddhist philosophy, 2) to study Buddhadãsa Bhikkhu’s ideal life and 3) to analyze Buddhadãsa Bhikkhu’s ideal life and this research is a qualitative research.
The study found that the ideal life in Theravãda Buddhist philosophy is aiming to highest goal, Nibbãna by following the eightfold path to understand clearly the nature of life that involve in rule of Idappaccayatã. For Buddhadãsa Bhikkhu’s ideal life, it is the life’s Instructions of the three wishes to enhance human appreciates in the most essential significant of religion. Making human to a good understand between religions and furthering human by separate them from materialism. It will promote them to attend the Nibana in the first level of Nibana and the highest level in present moment.
The result of analyze Buddhadãsa Bhikkhu’s ideal life was found that the concept has related with Theravada Buddhist philosophy. Practically, Buddhadasa applied described by using index of religion name or giving new using index of religion name replaces the old concept by interpreting of the Dhammic language as a tool to contribute the right understanding to lead humankind attending the goodness. It is point of present. The Buddhadasa’s ideal is important to academic work and religious practice in modern religious pluralism society because it helps human to study and follow their religious.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.73 MiB | 681 | 31 พ.ค. 2564 เวลา 05:04 น. | ดาวน์โหลด |