โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่และอำนาจตามมาตรา _37 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Legal Measures on to the Performance of Duty and Power Under Section 37 and Section 38 of the Sangha Act, B.E. 2505 Amended by the Sangha act (No. 2), B.E. 2535
  • ผู้วิจัยพระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ (ฉลองนิติติ์กุล)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
  • ที่ปรึกษา 2ดร.วรพจน์ ถนอมกุล
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/3885
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 349
  • จำนวนผู้เข้าชม 8,897

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่และอำนาจ 2) เพื่อวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่และอำนาจ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 37 และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ..2550 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) ..2535 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งศึกษาเนื้อหาตามหน้าที่และอำนาจเจ้าอาวาส การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1 ผลการศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 37 และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ..2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) ..2535 มาตรา 37เจ้าอาวาสมีหน้าที่ คือ 1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและ ศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี 2) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่ หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม 3) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ 4) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล และ มาตรา 38 เจ้าอาวาสมีอำนาจ  ได้แก่ 1) ห้ามบรรพชิต และคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตรองเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด 2) สั่งให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปจากวัด 3) สั่งให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือหรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานในวัด หรือให้ทำทัณฑ์บน หรือให้ขอขมาโทษในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติผิดเจ้าอาวาส ซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม  

2. ผลการวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 37และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ..2505แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) ..2535 มีความเหมือนกัน ได้แก่ มาตรา 37เป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ และมาตรา 38 เป็นอำนาจที่ต้องปฏิบัติ โดยผลการวิเคราะห์หน้าที่ของพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น และประเทศกัมพูชาส่วนที่เหมือนกันกับคณะสงฆ์ไทยคือการมีสิกขาบทหรือพระธรรมวินัยที่เหมือนกันแต่ในส่วนที่แตกต่างกัน คือ การบริหารงานระดับวัดที่ของต่างประเทศนั้นได้มีการกำหนดแบ่งแยกหน้าที่ในการจัดการอย่างชัดเจนในการมอบหมายให้รองเจ้าวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสนั้นมีภาระหน้าที่ต้องทำในการดำเนินกิจการของวัดแต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าอาวาส

  3. ข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 37และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ..2505แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) ..2535 โดยการปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมาย ได้แก่ (1) ควรปรับแก้ไขกฎหมายและกฎมหาเถรสมาคมให้พระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสมีหน้าที่และอำนาจในการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ..2560-2564      ทั้ง (ด้าน + 1) ให้เป็นมาตรการทางกฎหมาย (2) มีกระบวนการคัดกรองการเป็นผู้แทนของวัดของเจ้าอาวาสในการจัดการศาสนสมบัติของวัด (3) ควบคุมตรวจสอบและการถ่วงดุลย์อำนาจของผู้เกี่ยวข้อง (4) จัดการศาสนสมบัติของวัดตามวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research are: 1) to study the legal measures relating to the performance of duty and power, 2) to analyze the legal measures relating to the performance of duty and power, and 3) to suggest guidelines for the implementation of the legal measures on to the performance of duty and power under section 37 and Section 38 of the Sangha Act, B.E. 2505 amended by the Sangha Act (No. 2), B.E. 2535.  Document analysis and content analysis were used in the data analysis.

The results showed that:

1. The results of a study on legal measures relating to the performance of duty and power under Section 37 and Section 38 of the Sangha Act, B.E. 2505, amended by the Sangha Act (No. 2), B.E. 2535 indicate that the duties of the abbots are as follows: 1) To maintain the temple and manage the temple affairs and religious treasures well; 2) To administrate and supervise the temple subordinates to follow Dhamma and Vinaya, regulations, rules, or orders of the Sangha Council;  3) To engage in the study, training and teaching of the Dharma and Vinaya to monks and lay people; and 4) To provide reasonable convenience in performing merit making.  In Section 38, the abbot has the powers as follows: 1) To forbid the monks and lay people who are not allowed to live or stay in the temple; 2) To order the monks and the layman who do not follow the abbot's teaching to leave the temple; 3) To order the monks and the householder who reside in the temple to work in the temple or make parole or to ask for forgiveness when the monks or laymen in the temple misbehave the abbot which has been duly ordered in accordance with the Dharma and Vinaya or the Sangha Council's rules, regulations, or orders.

2. The results of the analysis of legal measures relating to the performance of duty and power under section 37 and section 38 of the Sangha Act, B.E. 2502, amended by the Sangha Act (No. 2), B.E. 2535 of the Sangha in England, Japan, Cambodia and Thailand are the same in Section 37: The duty should be performed and Section 38: The power must be performed. The difference was found in temple management depending on each country conditions. The temple management was clearly divided for vice-abbot or abbot assistant but under the supervision of the lord abbot.

3. The proposed guidelines for the implementation of legal measures relating to the performance of duty and power under Section 37 and Section 38 of the Sangha Act, B.E. 2502, amended by the Sangha Act (No. 2), B.E. 2535 comply with legal measures, including: (1) The law and the Sangha Council’s rules should be revised for the abbot to have duty and authority in working according to the Strategic Plan for Reforming Buddhist Affairs B.E. 2560-2564 in 6 areas + 1 as a legal measure, (2) There should be a screening process for the representative of the temple or of the abbot in the management of the temple's religious properties; (3) To control, check and balance the powers of those involved; and (4) To manage religious properties of the temple in accordance with the methods prescribed in the Ministerial Regulations.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101204072 6101204072 3.5 MiB 349 24 พ.ค. 2565 เวลา 17:23 น. ดาวน์โหลด