-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแรงจูงใจตามหลักอิทธิบาท 4 ที่มีต่อการเรียนบาลีของพระภิกษุสามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Motivation with Four Iddhipadas of Monks and Novices on Learning Pali in Phrapariyattidhamma Schools, Nakhon sawan Province
- ผู้วิจัยพระครูสังฆรักษ์ณัฐวุฒิ คุณยุตฺโต (วิเชียรวรรณ์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี), ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
- วันสำเร็จการศึกษา14/03/2562
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/389
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 403
- จำนวนผู้เข้าชม 387
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจตามหลักอิทธิบาท 4 ที่มีต่อการเรียนบาลีของพระภิกษุสามเณร ในโรงเรียน พระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจตามหลักอิทธิบาท 4 ของพระภิกษุสามเณรที่มีต่อการเรียนบาลีใน โรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษาทางโลก และระดับ การศึกษาทางธรรม 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจตามหลักอิทธิบาท 4 ของพระภิกษุ สามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์
โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research) ได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นพระภิกษุและสามเณร จำนวน 289 รูป แล้วนำมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ/ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายความแตกต่างลักษณะของกลุ่มประชากรในกรณีตัวแปรต้นมากกว่าสองกลุ่ม จะทำการ ทดสอบด้วยค่าสถิติทดสอบเอฟ (F-test) ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ส่วนการศึกษาวิจัยเชิง คุณภาพ (Quality Research) ได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 รูป โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) สรุปและนำเสนอด้วยการบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า
1. แรงจูงใจตามหลักอิทธิบาท 4 ของพระภิกษุสามเณรที่มีต่อการเรียนบาลีในโรงเรียน พระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์มี 8 ด้าน ได้แก่ 1) ใช้ความกระตือรือร้นและตื่นเต้น 2) การตั้งเป้าหมายให้สูง 3) การสร้างทางเลือก 4) สร้างความรับผิดชอบ 5) เน้นเสริมแรงด้านบวก 6) เน้นการเรียนแบบร่วมมือ 7) เน้นการให้กำลังใจ 8) ยึดกฎและกติกา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเน้นเสริมแรงด้านบวกส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการตั้งเป้าหมายให้สูง
2. ผลการเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจตามหลักอิทธิบาท 4 ที่มีต่อการเรียนบาลีของพระภิกษุสามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ทั้ง 8 ด้าน พบว่า พระภิกษุสามเณรที่มีอายุ ระดับการศึกษาทางโลกและระดับการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีระดับแรงจูงใจตามหลัก อิทธิบาท 4 ต่อการเรียนบาลีในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ค่า .05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างแรงจูงใจตามหลักอิทธิบาท 4 ของพระภิกษุสามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า แนวทางการสร้างแรงจูงใจทั้ง 8 ด้าน มีดังนี้ 1) ด้านการใช้ความกระตือรือร้นและตื่นเต้น ควรมีการใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นอยากจะที่สอบ ผ่านในแต่ละชั้นเปรียญ 2) ด้านการตั้งเป้าหมายให้สูง ต้องชี้แจงให้ผู้เรียนพระบาลีให้รับรู้รับทราบว่า การเรียนบาลีมีจุดประสงค์ จุดหมาย ปลายทางที่อะไร เพื่อให้ผู้เรียนมีเป้าหมายของตน 3) ด้านการ สร้างทางเลือก ควรที่จะได้รับการสนับสนุนการจัดการศึกษาและช่วยเหลือสนับสนุนการศึกษาของ คณะสงฆ์ 4) ด้านการสร้างความรับผิดชอบ ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบอยู่เสมอ 5) ด้านการเน้นเสริมแรงด้านบวก จะเป็นการเน้นที่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของนักเรียน เช่นห้องเรียน ที่พักอยู่อาศัยต้องมีความเป็นสัปปายะต่อการศึกษาเล่าเรียน ต้องมีความสงบไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิของ ผู้เรียน เป็นต้นและการให้กำลังใจและกำลังกาย 6) ด้านการเน้นการเรียนแบบร่วมมือ ควรมีข้อตกลง หรือระเบียบข้อปฏิบัติในห้องเรียนหรือนอกห้องที่ชัดเจน 7) ด้านการเน้นการให้กำลังใจ ผู้บริหารของ สำนักเรียน ตลอดจนครูอาจารย์ผู้สอนควรส่งเสริมผู้เรียนและให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอและ 8) ด้านการยึดกฎและกติกา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กำหนดการต่าง ๆ ที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของ สำนักเรียนควรมีความยืนหยุ่น และความเหมาะสมที่เป็นแบบแผนหนึ่งเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อที่ นักเรียนจะได้ไม่เกิดการเปรียบเทียบจนก่อให้เกิดผลต่าง ๆ ที่ตามมา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were : 1) to study the motivation with the iddhipadas 4 (the four paths of accomplishment) of the monks and novices on Pali learning at Phrapariyattidhamma schools in Nakhon Sawan Province, 2) to compare the opinions towards the motivation with the Iddhapdas 4 of the monks and novices on Pali learning at Phraparityttidhamma schools in Nakhon Sawan Province classified by ages, education levels for both in normal world and in Dhamma and 3) to present the ways to build the motivation with the iddhipadas 4 of the monks and novices on Pali learning at Phrapariyattidhamma schools in Nakhon Sawan Province.
This research applied by descriptive research through the study of quantitative research. Data collecting from the sampling group of 289 monks and novices. The analysis of data used the statistics as frequency, percentage, mean and standard deviation to explain the differences of characteristics of the sampling group, F-test to test in case there were more than two groups of variables and Least Significant Difference (LSD) in case finding the differences in pairs. For the qualitative research, 8 experts were interviewed through content analysis, concluded and presented by descriptive research.
The results of this research revealed as the following:
1. The motivation with the Iddhipdas 4 of the monks and novices on Pali learning at Phrapariyattidhamma schools in Nakhon Sawan Province it appeared in 8 items such as 1) using enthusiasm and exciting, 2) setting the high goal, 3) buiding the alternatives, 4) building the responsibilities, 5) emphasizing on positive strength, 6) focusing on learning with cooperation, 7) focusing on encouragement and 8) regulations and rules to be hold on which in average were found at the highest levels. When considered into each item, it showed that the item of emphasizing on positive strength was at the highest level of mean and the item of setting the high goal was at the lowest level of mean.
2. The results of comparing the opinions towards the motivation with the Iddhipadas 4 of the monks and novices of Pali learning at Phraparitattidhamma schools in Nakhon Sawan Province for all 8 items, it disclosed that the monks and novices who had different ages, education levels for both in normal world and in Dhamma, they also had some differences of motivation with the Iddhipadas 4 towards Pali learning at Phrapariyattidhamma schools significantly in statistic at .05 level, thus, it was according to the hypothesis which had mentioned.
3. The suggestions of the ways to build the motivation with the Iddhapadas 4 of the monks and novices on Pali learning at Phrapariyattidhamma schools in Nakhon Sawan Province, it was found that the ways to build the motivation for all 8 items were as the following : 1) the item on enthusiasm and exciting should find somenting to create or arouse to pass the examination of each range of sermon, 2) setting the high goal, it was necessary to explain anyone who was learning Pali to realize that learning Pali needed to know what the objectives and goal were so that the learners had their own goals, 3) building the alternatives should receive some help and be supported to administrate the education for the monks, 4) building the responsibilities, it needed to arouse the learners to always be responsible, 5) emphasizing on positive strength, to focus on students’ environments such as classrooms, houses, dormitories. These places needed to be Subbaya to their studies: needed to be peaceful places, nothing to disturb their concentration, including to provide some encouragement for both mental and physical, 6) focusing on learning with cooperation should have some agreements or regulations both inside and outside the classrooms with clearness, 7) focusing on encouragement : the administrators, teachers of such schools should promote the students and always give some encouragement to them and 8) regulations and rules to be hold on : all these including various schedules which were things to behave of the schools should be used with flexibility and suitability which were the same standard throughout the country so that the students could not compare till causing many kinds of results later.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.19 MiB | 403 | 31 พ.ค. 2564 เวลา 06:02 น. | ดาวน์โหลด |