โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Psychology for the Development of Enrichment Model Bodhipanya Nurse
  • ผู้วิจัยนางสาววริทธิ์ตา จารุจินดา
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ประยูร สุยะใจ
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาเผื่อน กิตติโสภโณ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา26/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะมนุษยศาสตร์
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/392
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 353

บทคัดย่อภาษาไทย

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล 2) พัฒนารูปแบบพุทธจิตวิทยาเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล และ 3) การประเมินองค์ความรู้รูปแบบพุทธจิตวิทยาเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาลทั้งนี้ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบ Multiple Method Methodology (3M) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบพุทธจิตวิทยาเสริมสร้างโพธปัญญาพยาบาล ซึ่งประกอบไปด้วย รูปแบบการปรึกษากลุ่มพุทธจิตวิทยาร่วมกับกระบวนการกลุ่ม 13 กิจกรรม แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถามโพธิปัญญาพยาบาล และแบบประเมินรูปแบบฯ คำนวณสถิติวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS และ LISREL 8.72

 ผลการวิจัยพบว่า

          1) องค์ประกอบเชิงยืนยันการเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่  ความกรุณาด้วยหัวใจ ใจตื่นรู้ ความหมายชีวิต การเข้าใจจิตวิญญาณ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย  = 366.771, p = 0.000  df = 209= 1.433, GFI = 0.939, AGFI = 0.920, CFI = 0.970, SRMR = 0.0343, RMSEA = 0.0395) 

          2) ผลการวิเคราะห์โพธิปัญญาพยาบาล โดยรวม พบว่า (2.1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง มีอิทธิพลต่อ โพธิปัญญาพยาบาล (ภาพรวม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมถึงระยะเวลาการทดลองที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อคะแนนโพธิปัญญาพยาบาล (ภาพรวม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และวิธีการทดลองที่แตกต่างกันส่งผลต่อคะแนน โพธิปัญญาพยาบาล (ภาพรวม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นเดียวกัน (2.2) ระยะหลังทดลองมีค่า F = 44.291, p = 0.000, (2 = 0.581 ระยะติดตามผลหลังทดลอง 1 เดือนมีค่า F = 35.365, p = 0.000, (2 = 0.525 และระยะติดตามผลหลังทดลอง 2 เดือนมีค่า F = 38.277, p = 0.000, (2 = 0.545 สรุปได้ว่า คะแนนโพธิปัญญาพยาบาล (ภาพรวม) ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งในระยะหลังทดลอง ระยะติดตามผลหลังทดลอง 1 เดือน และระยะติดตามผลหลังทดลอง 2 เดือน (2.3) คะแนนเฉลี่ยโพธิปัญญาพยาบาล (ภาพรวม) กลุ่มทดลอง ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะติดตามผลหลังทดลอง 1 เดือนสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระยะติดตามผลหลังทดลอง 2 เดือนสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

         องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล เพิ่มพูนขึ้น คือ โมเดล AMCU BODHIPANYA (paññã) Model ประกอบด้วย 1) A: Awakening Mind ใจตื่นรู้ 2) M: Meaning of life รู้ความหมายของชีวิต 3) C: Compassion by heart มีหัวใจความกรุณา 4) U: Understand Spirit เข้าใจจิตวิญญาณของตนเองและผู้ป่วย และ BODHIPANYA (paññã)  หมายถึง การมีสติ รู้เท่าทันความคิด ลดอัตตา ลดกิเลส มีความเข้าใจความจริงของชีวิตตามธรรมชาติ เป็นผลที่เกิดจากการเป็นผู้ตื่นรู้ จิตเบิกบาน มีจิตลักษณะ โพธิจิต คือ มุ่งมั่นปรารถนาที่จะช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ และความอิสระหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         The three purposes of this research were:  1) the analytical study related to the elements of Buddhist psychology for the development of the Pothipanya Nurse enhancement model,2) the model development of Buddhist psychology for enhancing the Pothipanya Nurse, and 3) the evaluation of the body of knowledge in terms of the Buddhist  psychology model for enhancing the Pothipanya Nurse.  So, the researcher used Multiple Method Methodology (3M) Research. The research devices or instrument was made up of the Buddhist psychology model for enhancing the Pothipanya Nurse, including the Buddhist psychology-group counseling model together with Group Dynamics of 13 activities, Expert Interview, Pothipanya Nurse Questionnaire, and the model evaluation by calculating analytical statistics with SPSS and LISREL 8.72 programs.

The results found that,

         1) The confirmatory factors for enhancing the Pothipanya Nurse was composed of 4 elements--Compassion by heart, Awakening mind, Meaning of life, and Spiritual understanding.  The model was consistent with the empirical data and Fit Index with   =366.771, p = 0.000 df = 209= 1.433, GFI = 0.939, AGFI = 0.920, CFI = 0.970, SRMR = 0.0343, RMSEA = 0.0395).

         2) The analysis result of Pothipanya Nurse was generally found that (2.1) the interaction between experimental method and experimental period significantly affected the Pothipanya Nurse (overall) at a statistically significant level of 0.05.  Besides, the different experimental periods significantly affected the scores of the Pothipanya Nurse (overall) at a statistically

         significant level of 0.05.  The different experimental methods significantly affected the scores of  the Pothipanya Nurse (overall) at a statistically significant level of 0.05 as well.  (2.2) the post-experimental period was F = 44.291, p = 0.000, (2 = 0.581, the follow-up periods-- one month following completion of the experiment was F = 35.365, p = 0.000, (2 = 0.525, and the follow-up period, 2 months after the experiment completed was F = 38.277, p = 0.000, (2 = 0.545).

       From the result of this research, it could be concluded that the scores of the Pothipanya Nurse (overall) of the experimental group and the control group were significantly different at the statistical level of 0.05 both in the post-experimental period, 1-month follow-up period, and 2-month follow-up period.  (2.3) The average score of the Pothipanya Nurse (overall) of the experimental group in the post-experimental period was higher than the pre-experimental period with the significance level of 0.05. The 1-month follow-up period was greater than the pre-experimental period with the significant level of 0.05. And the 2-month follow-up period was greater than the pre-experimental period with the significant level of 0.05.

        The body of knowledge derived from the study of Buddhist Psychology for the development of the Pothipanya Nurse enrichment model was increased. That is AMCU BODHIPANYA (paññã) Model which consisted of the following:  1) A: Awakening mind, 2) M: Meaning of life, 3) C: Compassion by heart, 4) U: Understand the spirits of both yourself and your patients.  Moreover, BODHIPANYA (paññã) means the states of being conscious (การมีสติ), being aware of your thoughts (รู้เท่าทันความคิด), losing the ego (ลดอัตตา), reducing the passion (ลดกิเลส), understanding the truth of life naturally. All of them were the results of being the persons with Self-Awareness (ผู้ตื่นรู้), Cheerful Mind (จิตเบิกบาน), Psychological Characteristics (จิตลักษณะ), and Phothijit (โพธิจิต) in order to determine to help a number of people to be out of suffering and be free from all attachments.


รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ