โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Application of Sāraṇīyadhamma for Promoting Reconciliation in the Administration of Local Government Organizations, Mueang District, Suphaburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูสุวรรณธรรมาภิมณฑ์ (สมชาย เจริญผา)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/3934
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 664
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,095

บทคัดย่อภาษาไทย

 

การวิจัย มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 เพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับการส่งเสริมความสมานฉันท์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 เพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

              การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามจากประชากร 798 คน นำมาหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 267 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (The-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 9 รูปหรือคน ได้แก่ พระสงฆ์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือทั้งฉบับ เท่ากับ 0.959 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient

             

             ผลการวิจัยพบว่า

              1) ศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 เพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก     (  = 4.06, S.D.= 0.562) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าหลักทิฏฐิสามัญญตาที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  (  = 4.10, S.D.= 0.534) รองลงมา หลักเมตตากายกรรม ( = 4.08, S.D.= 0.573) และหลักธรรมที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือหลักสาธารณโภคี (  = 4.03, S.D.= 0.573)

ระดับการส่งเสริมสมานฉันท์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05, S.D.= 0.569) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมและยอมรับ  ( = 4.07, S.D.= 0.574) รองลงมา ด้านการรณรงค์สร้างความรักความสามัคคีเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ( = 4.05, S.D.= 0.574) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการบริหารโดยบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมกัน ( = 4.04, S.D.= 0.560)

2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับการส่งเสริมความสมานฉันท์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับสูง ( r= 0.874) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า หลักสาราณียธรรม 6 กับการส่งเสริมความสมานฉันท์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกัน อยู่ระดับสูงทุกด้าน

              3) เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 เพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า 1) หลักเมตตากายกรรม ควรส่งเสริม สนับสนุนให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตัว และเคารพกับเพื่อนร่วมงาน 2) หลักเมตตาวจีกรรม บุคลากรควรให้แจ้งข่าวสารที่มีประโยชน์และใช้เหตุผลประกอบกับเพื่อนร่วมงาน 3) หลักเมตตามโนกรรม บุคลากรควรให้อภัยต่อกันและมีความคิดที่สร้างสรรค์ต่อการทำงาน 4) หลักสาธารณโภคี ควรสนับสนุนไม่ให้บุคลากรมีอคติ ไม่ลำเอียง และปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริต 5) หลักสีลสามัญญตา บุคลากรควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง และเคารพสิทธิและเสรีภาพแก่เพื่อนร่วมงาน 6) หลักทิฏฐิสามัญญตา บุคลากรควรมีความเห็นชอบร่วมกันในการทำงานและเห็นตรงกันในหลักสำคัญในการทำงาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

The study consisted of the following objectives: 1) to study the level of the application of Sāraṇīyadhamma for promoting reconciliation in the administration of local government organizations, Mueang District, Suphanburi Province; 2) to explore the correlation between Sāraṇīyadhamma and the promotion of reconciliation in the administration of local government organizations, Mueang District, Suphanburi Province; and 3) to propose the guidelines for applying Sāraṇīyadhamma to promote reconciliation in the administration of local government organizations, Mueang District, Suphanburi Province.

The study used a mixed-methods approach that included qualitative and quantitative methods. The quantitative data were acquired via questionnaires from a population of 798 persons, and the Taro Yamane formula was used to form a group sample of 267 persons. The qualitative data were collected via in-depth interviews with 9 key informants comprising monks and representatives of Local Government Organization, Municipality and Subdistrict Administrative Organization in Mueang District, Suphanburi Province. The instrument reliability was equal to 0.959. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient.

From the study, the following results have been found:

1) The application of Sāraṇīyadhamma to promote reconciliation in the administration of local government organizations, Mueang District, Suphanburi Province is overall at a high level (x̄ = 4.06, S.D. = 0.562). When each aspect is considered, it is discovered that on Diṭṭhisāmaññatā (to be endowed with right views along with one’s fellows, openly and in private) has the highest level of mean (x̄ = 4.10, S.D. = 0.534), followed by Mettākāyakamma (to be amiable in deed, openly and in private) (x̄ = 4.08, S.D. = 0.573), and Sādhāraṇabhogitā (to share any lawful gains with virtuous fellows) with the lowest level of mean (x̄ = 4.03, S.D. = 0.573).

The overall level of reconciliation promotion overall is at a high level (x̄ = 4.05, S.D. = 0.569). When each aspect is considered, it is revealed that on participative management has the highest level of mean (x̄ = 4.07, S.D. = 0.574), followed by a campaign to develop affection, unity, and a heart for public interest (x̄ = 4.05, S.D. = 0.574), and management based on the equitable enforcement with the lowest level of mean (x̄ = 4.04, S.D. = 0.560).

2) Sāraṇīyadhamma and the promotion of reconciliation in the administration of local government organizations, Mueang District, Suphanburi Province are positively correlated in the same direction with a statistical significance at 0.01 level. When each aspect is classified, Sāraṇīyadhamma and the promotion of reconciliation in the administration of local government organizations are positively correlated in the same direction and all aspects have a high level.

 3) The guidelines for applying Sāraṇīyadhamma to promote reconciliation in the administration of local government organizations, Mueang District, Suphanburi Province are found as follows: (1) On Mettākāyakamma, in which the administrators should encourage the employees to be amiable in deed, openly and in private, with colleagues; (2) On Mettāvacīkamma, in which the employees should inform useful information based on reasons with colleagues; (3) On Mettāmanokamma, in which the employees should forgive one another and have creative thoughts about their work; (4) On  Sādhāraṇabhogitā, in which the administrators should encourage their employees to perform their work honestly and without prejudice; (5) On Sīlasāmaññatā, in which the employees should conduct themselves as an exemplar and respect their colleagues' rights and freedoms; and (6) On Diṭṭhisāmaññatā, in which the employees should share responsibility for their work and agree on important work principles.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6353451002 6353451002 3.33 MiB 664 2 ส.ค. 2565 เวลา 02:23 น. ดาวน์โหลด