โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม ของกลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Community Economic by Applying Gharāvāsa-dhamma of Female Housewives Group in Chorakhe Samphan Subdistrict, U Thong District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระปลัดกัลยวรรธน์ กนฺตวีโร (ปรานสะระพงค์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/3940
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 129
  • จำนวนผู้เข้าชม 174

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมของกลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 3)เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ตำบลจระเข้ สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

      การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจากประชากรระดับปฏิบัติงานจำนวนจริงทั้งหมด 450 สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro,Yamane 1973) การคำนวณหาขนาดได้กลุ่มตัวอย่าง 212 คน และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่นำไปทดลองใช้ เท่ากับ 0.916 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) และระเบียบวิจัยรูปแบบเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research) สัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญคือพระสงฆ์/นักวิชาการศาสนา, ประธานและรองประธานกลุ่มสตรีแม่บ้าน,กลุ่มผู้นำชุมชน, ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพัน/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง,กลุ่มนักวิชาการในพื้นที่ ทั้งหมดจํานวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique)

         

 

          ผลการวิจัยพบว่า

      1) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายหลักธรรมที่นำไปใช้มีค่าเฉลี่ยสูงได้แก่ ด้านสัจจะ รองลงมา ด้านทมะ ต่ำสุด ด้านจาคะ ส่วนฐานการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองลงมา ด้านฐานพัฒนาอาชีพ รายได้ และต่ำสุดแต่อยู่ในระดับมากด้านฐานการสร้างสวัสดิการ

     2) ความสัมพันธ์การนำหลักฆราวาสธรรมไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเศรษฐกิจชุม โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับปานกลาง ( r= 0.585) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์อยู่ระดับปานกลางนอกนั้นอยู่ในระดับต่ำ

     3) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม ของกลุ่มสตรีแม่บ้าน พบว่าด้าน สัจจะ (ความซื่อสัตย์) ควรเน้นความโปร่งใส มีกระบวนการบริหารที่ชัดเจนและมีความเป็นรูปธรรมในการทำงาน, ทมะ (การฝึกฝน) ควรเน้นเปิดใจกว้างและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้รวมถึงการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ขันติ (ความอดทน) ควรสร้างความกระตือรือร้น จุดประกายความคิดเชิงบวก และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และจาคะ เกื้อกูลช่วยเหลือ ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ให้อภัยในข้อผิดพลาดและสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ส่งเสริมจิตอาสา

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study entitled “The Development of Community Economic by Applying Gharāvāsa-dhamma of Female Housewives Group in Chorakhe Samphan Subdistrict, U Thong District, Suphanburi Province” consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of the development of community economic by applying Gharāvāsa-dhamma of female housewives group in Chorakhe Samphan Subdistrict, U Thong District, Suphanburi Province; 2) to explore the correlation of the application of Gharāvāsa-dhamma and the development of community economic of female housewives group in Chorakhe Samphan Subdistrict, U Thong District, Suphanburi Province; and 3) to propose the guidelines for the development of community economic by applying Gharāvāsa-dhamma of female housewives group in Chorakhe Samphan Subdistrict, U Thong District, Suphanburi Province

 The study used a mixed-methods approach that included qualitative and quantitative methods. The quantitative data were acquired from a population of 450 persons, and the Taro Yamane formula was used to form a group sample of 212 persons. The instrument reliability was equal to 0.916. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), and Pearson correlation coefficient. While the qualitative approach employed interviews with 10 key informants acquired by way of purposive sampling which included monks/ religious scholars, president and vice president of female housewives group, community leaders, administrators of Crocodile Sam Phan Subdistrict Administrative Organization / related persons, and scholars in the area. The instrument for data collection was an interview. The data were analyzed by using content analysis technique.

From the study, the following results have been found:

1) The study found that the development of community economic by applying Gharāvāsa-dhamma of female housewives group in Chorakhe Samphan Subdistrict, U Thong District, Suphanburi Province is overall at a high level. When each aspect is taken into account, the following are listed in order from the highest level of mean to the lowest: Sacca (truth and honesty); Dama (taming and training oneself); and Cāga (liberality), respectively. While the development of community economic is overall at a high level, with natural resource and environmental conservation at the highest mean, followed by career and income development, and building welfare has the lowest mean but is at a high level.

2) The application of Gharāvāsa-dhamma and the development of community economic are positively correlated in the same direction at a moderate level of 0.585, with a statistical significance of 0.01. When each aspect is considered, it is revealed that natural resource and environmental conservation has a moderate correlation while the other aspects are at a low level.

3) The guidelines for the development of community economic by applying Gharāvāsa-dhamma of female housewives group found as follows: On Sacca (truth and honesty), which the principle of transparency should be highlighted, along with a clear administration process and tangible implementation in work; On Dama (taming and training oneself), which entails an open-minded mindset, a focus on learning, and the establishment of a shared goal; On Khanti (tolerance), which involves enthusiasm, positive thinking, and the creation of a shared goal; and On Cāga (liberality), which emphasizes generosity, teamwork, forgiveness for any mistakes, the building of good understanding toward one another, and having a volunteer mindset.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6353451008 6353451008 2.76 MiB 129 2 ส.ค. 2565 เวลา 02:30 น. ดาวน์โหลด