-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาชุดความรู้การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง เชิงพุทธบูรณาการของนักเรียน โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Knowledge Sets for Promoting Self-Esteem with Buddhist Integration of Student in Wat Rai Khing Wittaya School
- ผู้วิจัยนายสรวิศ บุญมี
- ที่ปรึกษา 1ดร.กฤติยา ถ้ำทอง
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.โยตะ ชัยวรมันกุล
- วันสำเร็จการศึกษา07/04/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/397
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 267
- จำนวนผู้เข้าชม 492
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาชุดความรู้การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง เชิงพุทธบูรณาการ ของนักเรียน โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบในการขาดการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน 2) เพื่อสร้างชุดความรู้การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง เชิงพุทธบูรณาการ ของนักเรียน และ 3) เพื่อนำเสนอชุดความรู้การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง เชิงพุทธบูรณาการ ของนักเรียน
ศึกษาการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยศึกษากลุ่มนักเรียนที่เก็บรวบรวมด้วยแบบทดสอบข้อมูลสำเร็จรูปของ Rubin’s Self Esteem Scale กับนักเรียนโรงเรียงวัดไร่ขิงวิทยา จำนวน 47 คน โดยการใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง แบบทดสอบข้อมูลสำเร็จรูปของ Rubin’s Self Esteem Scale โดยการสุ่มเฉพาะเจาะจง (Purposive Sample) เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบข้อมูลการวัดก่อนและหลังทดลอง (pretest-posttest) และวัดระดับคะแนน 64 ข้อ โดยกำหนดช่วงคะแนน โดยทฤษฎี (Theoretical Range of Scores) ตั้งแต่ 62-190 ในการแบ่งระดับของคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และใช้กิจกรรมนันทนาการ กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เชิงพุทธบูรณาการ โดยศึกษาอารมณ์พฤติกรรมและความสามารถของเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้วิจัยจะลงไปนำกิจกรรมและอยู่กับเด็กตลอดทั้งวัน เพื่อเก็บข้อมูล และประเมินเด็กด้วยตนเอง เพื่อการพัฒนาชุดความรู้การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง เชิงพุทธบูรณาการ ของนักเรียน โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา จัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นจากข้อมูลเชิงปริมาณที่กำหนดไว้ (Data Grouping) จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ข้อความเกี่ยวกับอัตมโนทัศน์ (Self-concept) ใน 30 ข้อ พบว่า ข้อคำถามเชิงบวก ข้อที่มากที่สุด คือ ข้อที่ 17 ฉันเป็นคนชอบวิตกกังวล และข้อคำถามเชิงลบที่มากที่สุด คือ ข้อที่ 17 ฉันเป็นคนชอบวิตกกังวล โดยเปรียบเทียบทั้งก่อนและหลัง
2) ผลวิเคราะห์ผลการทดสอบแบบทดสอบความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem Scale) 10 ข้อ พบว่า การทดสอบเชิงบวกหลังการทดลองมากกว่าก่อนทดลองไม่แตกต่างกัน การทำแบบทดสอบเชิงลบ หลังก่อนการทดลองมากกว่าหลังทดลองกิจกรรมไม่แตกต่างกัน
3) ผลการวิเคราะห์แบบทดสอบความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem Scale) 22 ข้อ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเกี่ยวกับการประเมินอัตมโนทัศน์ (Self-Concept Rating) เชิงบวกและเชิงลบ ของการพัฒนาชุดความรู้การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง เชิงพุทธบูรณาการ ของนักเรียน โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา โดยหลังการทดลองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4) ผลการสัมภาษณ์ พบว่า การร่วมกิจกรรมของนักเรียนนั้นได้ผลลัพธ์ที่ดีโดยก่อนและหลัง มีการพัฒนาที่ดีขึ้นและเห็นว่ากิจกรรมนี้สามารถพัฒนานักเรียนได้เป็นอย่างดี และค่อนข้างมีประสิทธิภาพ, สามารถนำหลักโยนิโสมนสิการเป็นการนำแนวทางมาใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตได้ดี และนักเรียนมีการพัฒนาที่ดี กิจกรรมนี้เหมาะสมกับนักเรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled “The Development of Knowledge Sets for Promoting Self-Esteem with Buddhist Integration of Student in Wat Rai Khing Wittaya School” has three objectives: 1) to study the problems and impacts of lacking self-esteem of students, 2) to create knowledge-promoting self-esteem and integrated Buddhist practice for students, and 3) to present the integrated Buddhist knowledge on the students’ realization of self-esteem.
This is a Quantitative research done through the mixed research methodology. In this research, a group of students was used as population where the Rubin's Self Esteem Scale ready-made data test was also employed; of them forty-seven students of Wat Rai Khing Wittaya School were collected by using as a sample group for the test (Rubin's Self's ready-made data test), the Esteem scale done by the purposive sampling was also used to determine frequency, percentage, mean, standard deviation. The test of the measurement data before and after the experiment (pretest-posttest) and measuring 64 points by specifying the theoretical range of scores from 62 to 190 in the classification of the score of self-esteem were done. Once collected, the relevant data were analyzed where the usage of recreational activities on various learning processes was made through the Buddhist Integrated approach by means of studying the emotions, behaviors, and abilities of high school third years students being served as target groups. After that the researcher organized activities and stayed with students all day. To collect information and assess students for the development of knowledge sets, promoting self-esteem by means of the Buddhist integrated approach of the students of Wat Rai Khing Wittaya School, the data were grouped according to the essence of the issue from the defined quantitative data and then the data analysis was done through the content analysis technique.
The research results showed that:
1) The results gained from the analysis of Self-concept thirty questions were found that out of the positive questions, the question No. 17 was at highest level: I am an anxious person, and the most negative question is No. 17: I am an anxious person by comparing before and after.
2) The analysis of Self-Esteem Scale test out of ten was showed that there was no difference in the positive test after or before experimentation. Such a negative test after or before experiment contains no difference at all.
3) The results gained from an analysis of the 22 Self-Esteem Scale were found that the mean score on the self-concept (Self-Concept Rating) was of positive and negative derived from the development of a knowledge sets, promoting self-esteem Buddhist integrated approach of the students of Wat Rai Khing Wittaya School, it showed that after the experiment it was of more statistically significant than before at the level of 0.05.
4) The results gained from interview showed that the students’ participation in the activities was of good results; it showed the better level than the previous one and thereby agreeing that the mentioned activities could be effectively used to improve students where Yonisomanasikãra could be also implemented to solve the problem in life. Once developed, they could apply those activities into their daily life respectively.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.85 MiB | 267 | 31 พ.ค. 2564 เวลา 18:43 น. | ดาวน์โหลด |