-
ชื่อเรื่องภาษาไทยปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษFactors Affecting the Management of Savings Pledge Fund for the Communities Economic Strength in Rayong Province
- ผู้วิจัยพระมหานิพนธ์ วีรพโล (ทบแก้ว)
- ที่ปรึกษา 1รัฐพล เย็นใจมา
- ที่ปรึกษา 2ธัชชนันท์ อิศรเดช
- วันสำเร็จการศึกษา29/03/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/40
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,715
- จำนวนผู้เข้าชม 1,939
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง
ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (In-depth interview) จำนวน 18 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอนโดยการพรรณนาความ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกองทุนสัจจะออมทรัพย์ จำนวน 344 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากประชากร 2,032 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.955 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (regression coefficient) เป็นการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง โดยรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar=4.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน โดยรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( X bar =4.15) การบริหารจัดการตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน โดยรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =4.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านสมชีวิตา เลี้ยงชีวิตแต่พอดี และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านอุฎฐานสัมปทา ขยันหมั่นเพียร ด้านกัลยาณมิตตตา คบคนดีเป็นมิตร ด้านอารักขสัมปทา คุ้มครองรักษาทรัพย์ การบริหารจัดการตามหลักฆราวาสธรรม 4 คือ ธรรมสำหรับฆราวาส โดยรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X bar =4.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านสัจจะ มีความจริงใจ ด้านทมะ ฝึกฝน ด้านขันติ มีความอดทน และด้านจาคะ มีความเสียสละ ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .676 ซึ่งปัจจัยความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง ได้ร้อยละ 44.9 ปัจจัยหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .611 ซึ่งปัจจัยหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง ได้ร้อยละ 36.6 ปัจจัยหลักฆราวาสธรรม 4 มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .450 ซึ่งปัจจัยหลักฆราวาสธรรม 4 สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง ได้ร้อยละ 19.4
3. แนวทางการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง มี 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านสัจจะ มีความจริงใจ ซื่อสัตย์สุจริต ทำงานอย่างมีเป้าหมาย ตั้งใจทำสุดความสามารถของตน และมีความโปร่งใสในการบริหารการเงิน 2) ด้านสวัสดิการชุมชน มีการจัดสวัสดิการที่เป็นธรรมและทั่วถึงอย่างเท่าเทียมกัน 3) ด้านการเพิ่มรายได้ แก่สมาชิก มีการวางระเบียบแบบแผนทางการเงินที่ดี มีการสร้างอาชีพให้แก่มวลสมาชิก และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข 4) ธนาคารชุมชน ทำให้สมาชิกในชุมชนที่มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เกิดทักษะการทำงานที่หาโอกาสได้ยาก 5) ด้านคุณธรรมครบวงจร มีการพัฒนาคนให้มีความมั่นคงในชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตาย ส่งเสริมให้สมาชิกคบกับกัลยาณมิตรที่ไม่ชักชวนไปในทางที่เสื่อมเสีย 6) ด้านเศรษฐกิจพอเพียง คณะกรรมการและสมาชิกร่วมกันกำหนดทิศทางและกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนากองทุน มีการนำเงินสวัสดิการมาพัฒนาชุมชน มีการแนะนำส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์สาธิต ด้านการตลาดแก่ชาวบ้าน โดยที่คณะกรรมการแนะนำให้ชาวบ้านรู้จักการออมทรัพย์ ขยันหมั่นเพียร และขวนขวายในการประกอบสัมมาอาชีพด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 7) มีอิสระ ในการบริหารงานยึดโยงกับกฎระเบียบที่กองทุนสัจจะออมทรัพย์ตั้งขึ้น โดยไม่ยึดติดกับกฎระเบียบทางราชการ และ 8) พึ่งพาตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก มุ่งพัฒนาคนทั้งด้านร่างกายและจิตใจเป็นสำคัญ ก่อนที่จะพึ่งพาปัจจัยภายนอก โดยไม่รอคอยความช่วยเหลือจากทางภาครัฐที่ความผันผวนทางการเมือง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were : 1) to study the saving fund administration for the strength of community economy in Rayong province, 2) to study the factors effect to saving fund administration for the strength of community economy in Rayong province, and 3) to offer a savings pledge fund management to the economic strength of communities in Rayong province.
This research was the mixed method research between the qualitative research and quantitative research. The data collection was from 18 key informants by specific sampling from specialists. The tool for data collection is the in-depth interview one by one and focus group discussion for 12 persons. The data analysis by descriptive way. The quantitative research collected the data from 344 samples from sampling group through simple random sampling from the 2,032 population by using Taro Yamane formation. The tools for data collection is the questionnaire and data analysis used the statistic description are percentage, mean, standard deviation and tested the hypothesis through the regression coefficient and multiple regression analysis.
The findings of this research as follows:
1. The saving fund administration for the strength of community economy in Rayong province, in overall was at high level ( X bar=4.13). When considered in each aspect, found that every aspect has the opinion at high level. The strength of community economy in over all, is at high level ( X bar=4.15). The administration according to Ditthadhamma IV are for the present benefit in over all, is at high level ( X bar=4.25). When considered in each aspect found that the highest opinion is the Samachiwita or Middle life and has the opinion as high level for three aspects are Utthanasampatha, or Working hard, Kallayanamitta or Making good friends, Arrakkhasampatha or Wealth keeping. The management according the principle of four virtues of good householders are the virtues for householder in over all, had the opinions at high level ( X bar=4.48), when considered in each aspect, found that had the highest opinion for three aspects are the Sacca or Sincerity, Thama or Practice, Khanti or Patience and Chaca or Sacrifice, had the opinion at high level.
2. The strength of community economy effect to saving fund for the strength of community economy in Rayong province, found that in overall was at high level and have the Gemini Coefficient as .676 that factors effects to strength of community economy can forecast the saving fund administration for the strength of community economy in Rayong province for 44.9 percent. The factor according to principle of Ditthadhamma IV, plays the major role to the saving fund administration in overall at high level, have the Gemini Coefficient equals to .611 that factor according to principle of Ditthadhamma IV, plays the major role to the saving fund administration for the strength of community economy in Rayong province in overall at high level for 36.6 percent. The factors for administration according the principle of four virtues of good householders are the virtues for householder for the strength of community economy in Rayong province in overall at low level, the Gemini Coefficient was .450 that factors for administration according the principle of four virtues of good householders are the virtues for householder for the strength of community economy in Rayong province was 19.4 percent.
3. Management approach the truth, saving to the economic strength of communities in Rayong province. There are 8 side consists of 1) on the truth. Have the sincerity, honesty, the intended goal is do their best, and transparency in the financial management community welfare 2) There is a welfare fair and equitably across the income side for members, 3) to put the rules of good financial There are jobs, scrapping a mass membership and do not interfere with the Bank the Community making the vices, 4) the community members who have the opportunity to work with the Group truth in savings. Skills to work at a difficult chance 5) morality and a comprehensive. With the development of people, stability in their lives, from birth to death. Encourage members to fellowship who is not dating with solicitation of derogatory to 6) economic sufficiency. The Board of Directors and members together determine the direction and activities to resolve the problems and development funds have put money into developing the community welfare. Are recommended to promote and measure zero demo? Marketing Home tribes, by the Board of Directors recommends that the locals know the industrious and his savings to attest, with the philosophy of sufficiency economy 7) independent administration rules associated with mounting the savings pledge Fund set up. By not sticking to the rules official, and 8) self-reliance has not had to rely on external factors, developing people in both mind and body is critical before you rely on external factors, without waiting for help from the Government that the political volatility.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 27.15 MiB | 1,715 | 3 ก.พ. 2564 เวลา 21:25 น. | ดาวน์โหลด |