โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดมหาสารคาม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLeadership based on Brahmavihara Dhamma IV of the Educational Administrators in Phrapariyatti Schools under the Office of Buddhism in Mahasarakham Province
  • ผู้วิจัยนายสุบรรลุ เหตุผล
  • ที่ปรึกษา 1เจ้าอธิการบุญช่วย โชติวํโส ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสโมธานเขตคณารักษ์
  • วันสำเร็จการศึกษา09/01/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/406
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 526
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,390

บทคัดย่อภาษาไทย

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้ง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จำนวน 137 รูป/คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .97 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัย พบว่า :

               1.ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติในระดับสูงสุด คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาด้านเมตตา รองลงมาคือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาด้านอุเบกขา  และภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาด้านกรุณา ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติในระดับต่ำที่สุดคือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาด้านมุทิตา

                 2.ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ดังนี้ 1) ควรเป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนร่วมงาน ช่วยแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในสถานศึกษา 2) ควรให้คำแนะนำให้คำปรึกษาด้วยความสุภาพ ใช้วาจาที่สุภาพและปฏิบัติตามวาจาที่ให้ไว้แก่เพื่อนร่วมงาน 3) ควรเป็นที่ปรึกษาที่ดี ให้คำแนะนำแก่เพื่อนร่วมงานเมื่อมีปัญหา ควรพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรในสถานศึกษาอย่างยุติธรรม 4) ควรวางใจเป็นกลางกลางกับบุคลากร เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The aims of this research were: to study the leadership and suggestions to develop the leadership based on the principles of Brahmavihara dhamma IV (Pāli: brahmavihāra, sublime states of mind) of the educational administrators in Phrapariyatti schools (general education) under the Office of Buddhism, Mahasarakham province. This study used the mixed research methodology to collect the data from 137 samples, selected by the method of Krejcies & Morgan, including the administrators and teachers in the schools and from 10 targeted informants selected by the purposive sampling.  The research tools used in this study were a questionnaire with its reliability value of .97 and the structured interview. The statistics used in this study were: Mean and Standard Deviation.

               The research results were as follows:

               1) The mean scores of leadership based on the principles of Brahmavihara dhamma IV of the educational administrators in Phrapariyatti schools (general education) under the Office of Buddhism, Mahasarakham province were rated at a high level in both overall and studied aspects. The highest score can be seen in the aspect of ‘leadership based on loving kindness (mettā)’, followed by that of ‘administrational leadership based on equanimity (upekkhā)’, ‘administrational leadership based on compassion (karuṇā) and ‘administrational leadership based on sympathetic joy (muditā). 

                2) Suggestions for the development of leadership according to Brahmavihara principles IV off the administrators of the Phrapariyatti Dhamma schools, (general education) are as follows: 1) the administrators should be a friend to suggest beneficial things to their colleagues in the educational institutions; 2) they should give advice in politeness using polite words and follow the words given to colleagues; 3) they should be a good counselor in giving advice to colleagues when there is a problem; they should fairly consider the laurel of personnel in the educational institutions to build good relationships with colleagues

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.34 MiB 526 19 มิ.ย. 2564 เวลา 02:22 น. ดาวน์โหลด